รายงานการศึกษาค่าคาดการณ์อัตราการว่างงานของประเทศไทย

17 ในทรรศนะของนักเศรษฐศาสตร์สำนักคลาสสิคระดับการจ้างงานดุลยภาพ จะถูก กำหนดโดยอุปสงค์และอุปทานแรงงาน และเป็นระดับการจ้างเต็มที่ ( Full Employment ) ณ ระดับ การจ้างงานเต็มที่ ถ้ามีการว่างงานเกิดขึ้น จึงเป็นการว่างงานโดยความสมัครใจทั้งสิ้น เนื่องจาก ( 1 ) การว่างงานที่เกิดขึ้นนั้นเนื่องจากคนงานเรียกร้องค่าจ้างที่เป็นตัวเงินสูงเกินไปไม่ ยอมรับค่าจ้าง ณ ระดับค่าจ้างที่ปรากฏ จึงสมัครใจที่จะว่างงาน แต่ถ้าคนงานยอมรับค่าจ้างที่เป็นตัว เงินที่ต่ำลง ค่าจ้างที่แท้จริงจะลดลง ระดับการจ้างงานก็จะเพิ่มขึ้นถึงระดับการจ้างง านเต็มที่การ ว่างงานก็จะหมดไป ( 2 ) จากความเชื่อที่ว่า ระดับอัตราค่าจ้างที่เป็นตัวเงินจะถูกกำหนดโดยการต่อรอง ระหว่างผู้ประกอบการและคนงานและค่าจ้างที่เป็นตัวเงินจะเป็นปัจจัยกำหนดค่าจ้างที่แท้จริง ดังนั้น คนงานจึงอยู่ในฐานะสามารถกำหนดระดับค่าจ้างที่แท้จริง และกำหนดระดับการจ้างงานได้ ดังนั้น ระดับค่าจ้างที่ปรากฏ ถ้ามีการว่างงานเกิดขึ้น จึงเป็นการว่างงานโดยสมัครใจ นอกจากนี้ในทรรศนะของสำนักคลาสสิค ระบบเศรษฐกิจจะอยู่ ณ ระดับการจ้าง งานเต็มที่เสมอ และเป็นระดับที่ผลผลิตสูงสุด ณ ระดับการจ้างงานเต็มที่ อุปสงค์รวมของระบบ เศรษฐกิจเท่ากับอุปทานรวมเสมอ ซึ่งอธิบายโดยใช้กฎของเซย์ ( Say's Law ) ซึ่งเป็นนักเศรษฐศาสตร์ที่ มีชื่อเสียงคนหนึ่งของสำนักคลาสสิค มีความเชื่อว่า ระบบเศรษฐกิจมีการจ้างงานเต็มที่เนื่องจาก อุปทานก่อให้เกิดอุปสงค์ ( Supply creates it's own demand ) โดยให้คำอธิบายว่า ในการผลิต ผู้ผลิตจะจ่ายค่าตอบแทนปัจจัยการผลิตให้กับเจ้าของและเจ้าของปัจจัยการผลิตจะนำรายได้ที่ได้รับ นั้นไปจับจ่ายซื้อสินค้าและบริการ ผู้ผลิตก็จะขายสินค้าได้โดยรับกำไรปกติจึงจูงใจให้ทำการผลิตเพิ่ม ดังนั้นจึงไม่มีผลผลิตส่วนเกินเกิดขึ้นในตลาด แต่อาจมีผลผลิตบางชนิดล้นเกินเกิดขึ้นซึ่งเป็นลักษณะ เพียงชั่วคราวเท่านั้น เนื่องจากการปรับตัวอุปสงค์ที่เปลี่ยนแปลงจากสินค้าชนิดหนึ่งไปยังสินค้าอีก ชนิดหนึ่ง เมื่ออุปสงค์สามารถปรับตัวได้แล้วสินค้าทุกชนิดที่ผลิตขึ้นก็จะจำหน่ายได้หมด ระบบ เศรษฐกิจจึงมีอุปสงค์รวมเท่ากับอุปทานรวมเสมอ และเป็นระดับที่ผลผลิตสูงสุด มีการจ้างงานเต็มที่ การว่างงานที่เกิดขึ้นเป็นการว่างงานโดยสมัครใจ และเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นเพียงชั่วคราว ถ้าหาก ปล่อยให้มีการแข่งขันเสรีกลไกราคาจะปรับตัวโดยอัตโนมัติ การว่างงานก็จะหมดไป โดยเหตุผลตาม กฎของเซย์ 2 . 2 .6 ทฤษฎีการจ้างงานของเคนส์ ทฤษฎีการจ้างงานของเคนส์ ไม่ปฏิเสธทฤษฎีของสำนักคลาสสิคโดยสิ้นเชิง โดยยอมรับว่า ระดับผลผลิตมีความสัมพันธ์โดยตรงกับการจ้างงาน คือ เมื่อมีการจ้างงานเพิ่มทำให้ผลผลิตเพิ่ม และ เมื่อลดการจ้างงานทำให้ผลผลิตลด ตราบใดที่การจ้างงานยังต่ำกว่าระดับการจ้างงานเต็มที่ การขยาย ผลผลิตทำให้การจ้างงานเพิ่มขึ้น แต่เคนส์มีความเห็นแย้งกับสำนักคลาสสิคที่ว่า ระบบเศรษฐกิจอยู่ใน ระดับดุลยภาพ คือ อุปสงค์รวมเท่ากับอุปทานรวม และระดับการจ้างงานเต็มที่เสมอ เคนส์มีความเห็น ว่าผลผลิตจะถูกกำหนดโดยอุปสงค์รวมของระบบเศรษฐกิจ ซึ่งไม่จำเป็นจะต้องเท่ากับอุปทานรวม เสมอไป อุปสงค์รวมอาจต่ำกว่าอุปทานรวมได้ ดังนั้น ระดับการจ้างงานจึงอาจต่ำกว่าระดับการจ้าง งานเต็มที่

RkJQdWJsaXNoZXIy MTA3NzA0Nw==