รายงานการศึกษาค่าคาดการณ์อัตราการว่างงานของประเทศไทย
18 ทฤษฎีของสำนักคลาสสิคไม่ได้วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างค่าจ้างกับอุปสงค์รวมของระบบ เศรษฐกิจ เนื่องจากหน่วยธุรกิจแต่ละหน่วยเป็นหน่วยย่อยของระบบเศรษฐกิจ แต่ในระบบเศรษฐกิจ โดยส่วนรวม ค่าจ้างคือ รายได้ในสัดส่วนที่สูงสุดของครัวเรือนและเป็นปัจจัยส ำคัญในการกำหนด รายจ่ายเพื่อการบริโภค ดังนั้น ถ้าอัตราค่าจ้างที่แท้จริงลดลงจะส่งผลให้รายจ่ายเพื่อการบริโภคลดลง ด้วย ซึ่งหน่วยธุรกิจจะพบว่าสินค้าที่ผลิตขึ้นไม่สามารถขายได้ ดังนั้น การลดอัตราค่าจ้างจะยิ่งมีผลให้ การว่างงานรุนแรงยิ่งขึ้น ถ้าอัตราค่าจ้างที่แท้จริงลดลง ซึ่งอาจเป็นผลจากการลดลงของค่าจ้างที่เป็น ตัวเงิน แต่ระดับราคาสินค้าคงที่หรือระดับราคาสินค้าเพิ่มขึ้นในอัตราที่ช้ากว่าอัตราเพิ่มค่าจ้างที่เป็น ตัวเงิน จะส่งผลให้กำไรของผู้ผลิตเพิ่มขึ้น ผู้รับกำไรก็สามารถเพิ่มการออมได้มากกว่าอัตราเพิ่มของ รายได้ของผู้รับรายได้จากค่าจ้าง การลดอัตราค่าจ้างที่แท้จริงจะเพิ่มกำไร จึงส่งผลให้รายจ่ายเพื่อการ บริโภคลดลงและการออมเพิ่มขึ้น เมื่อระบบเศรษฐกิจมีการออมเพิ่มและรายจ่ายเพื่อการบริโภคลดลง จึงส่งผลให้รายได้ประชาชาติและการจ้างงานลดหรือการว่างงานเพิ่มขึ้น จึงสามารถสรุปได้ว่าตาม ทฤษฎีการจ้างงานของเคนส์ การว่างงานเกิดขึ้นได้เมื่ออุปสงค์รวมไม่เพียงพอ ถ้าต้องการไม่ให้มีการ ว่างงานเกิดขึ้นจึงจำเป็นต้องให้มีอุปสงค์รวมเพียงพอ 2.3 แนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับการพยากรณ์ 1. การพยากรณ์ ( Forecasting ) หมายถึง การคาดการณ์ถึงสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่จะเกิดขึ้นใน ช่วงเวลาในอนาคต และนำค่าพยากรณ์ที่ได้นั้นมาใช้ประโยชน์เพื่อการตัดสินใจใด ๆ การพยากรณ์นั้น มีบทบาทที่สำคัญกับทุกด้าน ทั้งหน่วยงานของรัฐบาลและเอกชน การพยากรณ์ทำหน้าที่เป็นเครื่องมือ ในการวางแผนเพื่อช่วยองค์กรหรือธุรกิจเตรียมความพร้อมในการรับมือกับความไม่แน่นอนที่อาจ เกิดขึ้นในอนาคต ช่วยในการตัดสินใจเกี่ยวกับการดำเนินงานในทุกธุรกิจและทุกสาขาอาชีพการ พยากรณ์ที่ทำกันโดยทั่วไปมีอยู่ 3 วิธี คือ 1) พยากรณ์โดยอาศัยประสบการณ์และความชำนาญ 2) พยากรณ์โดยอาศัยเหตุการณ์และหลักฐาน 3) การพยากรณ์ทางสถิติเป็นการพยากรณ์โดยใช้ข้อมูลสถิติ 2. ประโยชน์ของการพยากรณ์ กุณฑลี รื่นรมย์ ( 2548 ) ได้กล่าวถึงประโยชน์ของการพยากรณ์ที่สําคัญสําหรับองค์กรธุรกิจ อยู่หลายประการดังต่อไปนี้ 2 . 1 การพยากรณ์ช่วยในการกําหนดตารางการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ในปัจจุบัน ( Scheduling existing Resources ) ทําให้ทราบว่าทรัพยากรในองค์กรที่มีอยู่ในปัจจุบันมีอะไรบ้าง เช่น เครื่องจักร คนงาน เงินสดหมุนเวียน ฯลฯ มีการใช้ไปเท่าใด ถูกใช้อย่างมีประสิทธิภาพหรือไม่ และมีลักษณะการ ใช้อย่างไร 2 . 2 การพยากรณ์จะทําให้องค์กรสามารถแสวงหาทรัพยากรอื่นๆ มาเพิ่มเติม ( Acquiring additional Resources ) จากพื้นฐานข้อมูลที่มีอยู่ในปัจจุบัน ผนวกกับ Lead time หรือ ระยะเวลาที่ กําหนดไว้ในแผน องค์กรจะสามารถเสาะแสวงหาทรัพยากรที่คาดว่าต้องการใช้ในอนาคตได้อย่างทัน การณ์ เช่น วัสดุอุปกรณ์ เงิน บุคลากร และวัตถุดิบต่างๆ เป็นต้น
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy MTA3NzA0Nw==