รายงานการศึกษาค่าคาดการณ์อัตราการว่างงานของประเทศไทย
19 2 . 3 การพยากรณ์ทําให้ทราบว่าองค์กรธุรกิจต้องการทรัพยากรอะไร ( Determining what resourcesare desired ) การพยากรณ์ที่มีความถูกต้องแม่นยําจะช่วยให้องค์กรสามารถตัดสินใจ ได้ ว่าทรัพยากรอะไรคือสิ่งที่องค์กรต้องการอย่างแท้จริง ทําให้องค์กรไม่เสียเวลาและไม่เสียเงินไปกับสิ่ง ที่ไม่จําเป็น 2 . 4 การพยากรณ์จะสามารถนํามาใช้ในการวางแผนช่องทางการจัดจําหน่าย ( Channel of Distribution ) เพื่อให้สินค้ามีพอเพียงกับความต้องการของผู้บริโภค และสามารถต่อสู้กับคู่แข่งขันได้ ทั้งนี้เพื่อจะรักษาส่วนแบ่งการตลาดเอาไว้อย่างต่อเนื่อง 2 . 5 การพยากรณ์จะสามารถใช้ในการวางแผนจัดทํางบประมาณ สําหรับหน่วยงานต่างๆ ของ องค์กร เพื่อให้สามารถทํายอดขายได้ถึงเป้าตามที่ได้ทําการพยากรณ์ไว้ 2 . 6 การพยากรณ์ช่วยในการวางแผนส่งเสริมการจําหน่าย ( Promotions ) ให้กับลูกค้าได้อย่าง มีประสิทธิภาพ และสอดคล้องกับสถานการณ์ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต กล่าวคือถ้าผลของการ พยากรณ์ในอนาคตเป็นไปในทิศทางที่เพิ่มขึ้น ผู้บริหารก็ต้องวางแผนวิธีการส่งเสริมการจําหน่ายให้ เหมาะสม เพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่พยากรณ์ไว้ แต่ถ้าผลการพยากรณ์เป็นไปในทิศทางที่ลดลง ผู้บริหาร ก็จะต้องวางแผนคิดหาวิธีส่งเสริมการจัดจําหน่ายให้มากขึ้น เพื่อช่วยพยุงยอดขายและกระตุ้นให้ ผู้บริโภค มาซื้อเพิ่มขึ้น เช่น อาจจะใช้วิธีลด แลก แจก แถม เป็นต้น เพราะฉะนั้นการพยากรณ์จะช่วย ให้ผู้บริหารสามารถตัดสินใจเตรียมหาวิธีการรับมือและป้องกันไม่ให้ยอดขายลดลงตามที่พยากรณ์ไว้ 2 . 7 การพยากรณ์เป็นเครื่องมือที่ช่วยในการควบคุมและรักษาส่วนแบ่งตลาด ( MarketShare ) ให้มีความต่อเนื่องในด้านบวก ขณะเดียวกันก็สามารถใช้เป็นเครื่องมือในการประเมินผลการ ดําเนินงานได้ เพราะผู้บริหารสามารถนําค่าที่พยากรณ์ได้มาใช้เป็นเครื่องมือในการตรวจสอบว่า วิธีการหรือกลยุทธ์ที่องค์กรใช้อยู่นั้นเป็นวิธีที่เหมาะสมหรือไม่ ถ้าการพยากรณ์ให้ผลที่คลาดเคลื่อน จากยอดขายที่เกิดขึ้นจริง ให้สังเกตว่าความคลาดเคลื่อนเกิดจากสาเหตุอะไร จะได้สามารถดําเนินการ แก้ไขหรือป้องกันไม่ให้เกิดความผิดพลาดขึ้นอีกได้อย่างทันท่วงที 2 . 8 การพยากรณ์สามารถใช้เป็นเครื่องมือในการกําหนดเป้าหมายในการดําเนินงาน ทําให้ ผู้บริหารสามารถประเมินสถานการณ์และสร้างความคาดหวังในอนาคต นอกจากนี้การพยากรณ์ยังทํา ให้ผู้ที่เกี่ยวข้องกับงานการขายมีความกระตือรือร้นในการทํางานมากขี้นอีกด้วย เพราะเขาจะทราบ ข้อมูลยอดขายในอนาคตว่าจะเป็นเท่าไร ตามที่ปรากฎอยู่ในแผนการตลาด พนักงานขายที่ดีจะต้อง พยายามทํางานให้ได้ตามเป้าหมายยอดขายนั้นๆ 3. ช่วงเวลาที่ใช้พยากรณ์ หมายถึงช่วงเวลาในอนาคตที่ต้องการพยากรณ์ ( Forecasting period) ช่วงเวลาที่กล่าวถึงนี้ อาจมีหน่วยเป็นวัน สัปดาห์ เดือน ไตรมาส หรือปี สำหรับเทคนิคการพยากรณ์ที่แตกต่างกันจะ เหมาะสมกับช่วงเวลาที่ต้องการพยากรณ์ต่างกัน ช่วงเวลาที่ใช้พยากรณ์แบ่งออกเป็น 4 ระยะ คือ (ศิริ ลักษณ์ สุวรรณวงศ์ , 2535 ) 3 . 1 ช่วงเวลาที่สั้นมาก ( Immediate – term Forecasting) เป็นการพยากรณ์ที่มีช่วงเวลา น้อยกว่าหรือเท่ากับ 1 ช่วงเวลาในอนาคตที่ต้องการพยากรณ์ เช่นถ้าข้อมูลเป็นรายไตรมาสการ พยากรณ์ในช่วงเวลาที่สั้นมากจะเป็นการพยากรณ์ข้อมูลในช่วงเวลาที่ไม่เกินไตรมาสถัดไป
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy MTA3NzA0Nw==