รายงานการศึกษาค่าคาดการณ์อัตราการว่างงานของประเทศไทย

20 3 . 2 ช่วงเวลาที่ สั้ น ( Short - Term Forecasting ) เป็นการพยากรณ์ ในช่วงเวลา 1- 3 ช่วงเวลาในอนาคตที่ต้องการพยากรณ์ 3 . 3 ช่วงเวลาระยะปานกลาง ( Medium - Term Forecasting ) เป็นการพยากรณ์ในช่วงเวลา ที่มากกว่า 3 เดือนจนถึง 2 ปี โดยข้อมูลเป็นรายเดือน ถ้าข้อมูลมีลักษณะเป็นอย่างอื่น เช่น ราย สัปดาห์ หรือรายไตรมาส ผู้พยากรณ์ต้องพิจารณาว่าช่วงเวลาเท่าใดเป็นระยะเวลากลาง การพยากรณ์ ช่วงเวลาระยะกลางที่พบบ่อย เช่น การวางแผนการผลิตของบริษัทแห่งหนึ่ง 3 . 4 ช่วงระยะยาว ( Long - Term Forecasting ) เป็นการพยากรณ์ ในช่วงเวลา 2 ปีขึ้นไป การพยากรณ์ระยะยาวใช้ในการวางแผนระยะยาว 4 . รูปแบบของข้อมูล การเลือกวิธีการพยากรณ์จะต้องคํานึงถึงรูปแบบของข้อมูลในอดีต ซึ่งถ้าสังเกตข้อมูลอนุกรม เวลา แต่ละชุดจะมองเห็นถึงการเปลี่ยนแปลงขึ้นๆ ลงๆ ซึ่งสาเหตุของการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับ ข้อมูลนั้น เนื่องจากอิทธิพลขององค์ประกอบต่าง ๆ 4 ประการ (พิภพ ลลิตาภรณ์ , 2549 ) คือ 4 . 1 องค์ประกอบของแนวโน้ม ( Trend ) เป็นองค์ประกอบที่ แสดงถึงทิศทางของข้อมูล แต่ละ ชุด ตั้งแต่อดีตจนถึงระยะเวลาสุดท้ายของข้อมูลที่รวบรวมได้ ซึ่งทิศทางของข้อมูลนั้นอาจจะพุ่งไปใน แนวที่สูงขึ้น หรือลดต่ำลง ข้อมูลอนุกรมเวลาที่มีองค์ประกอบของค่าแนวโน้มส่วนใหญ่จะเกี่ยวข้อง กับความเคลื่อนไหวของข้อมูลในระยะเวลาที่ค่อนข้างยาวนาน เช่น อุปสงค์สินค้า การใช้พลังงาน เป็น ต้น ลักษณะของแนวโน้มอาจจะเป็นเส้นตรงเส้นโค้งหรืออื่น ๆ ก็ได้ 4 . 2 องค์ประกอบของการเปลี่ยนแปลงตามฤดูกาล ( Seasonal ) หมายถึงการที่ข้อมูล อนุกรม เวลามีรูปแบบการเคลื่อนไหวขึ้นหรือลงทํานองเดียวกันในช่วงเวลาเดียวกันของรอบเวลาหนึ่ง ซึ่งส่วน ใหญ่จะไม่เกิน 1 ปี โดยที่ หน่วยของระยะเวลาอาจจะเป็นราย 3 เดือน 5 เดือน รายเดือน รายสัปดาห์ รายวัน หรือแม้แต่รายชั่วโมงก็ได้ข้อมูลที่มักได้รับผลกระทบจากความเคลื่อนไหว หรือ เปลี่ยนแปลง ตามฤดูกาล ได้แก่การผลิต การขาย เป็นต้น สําหรับรูปแบบของดัชนีฤดูกาล โดยทั่วไปมี 6 รูปแบบ ดังนี้ 4 . 3 องค์ประกอบของการผันแปรตามวัฏจักร ( Cyclical ) เป็นลักษณะการเคลื่อนไหว ของ ข้อมูลที่ขึ้น ๆ ลง ๆ คล้ายกับลูกคลื่นที่มีผลกระทบกระเทือนต่อธุรกิจโดยทั่ว ๆ ไปรูปแบบของ การผัน แปรตามวัฏจักรนี้แตกต่างจากการผันแปรตามฤดูกาล คือเราจะไม่ทราบว่าช่วงของการเกิดวัฏจักร หนึ่ง ๆ นั้นว่าจะใช้ระยะเวลายาวนานเท่าใด เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงตามวัฏจักรส่วนใหญ่ เป็น ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในด้านธุรกิจและเศรษฐศาสตร์ ดังนั้นการผันแปรตามวัฏจักรโดยทั่วๆ ไป จะ แสดงถึงภาวการณ์เกิดซ้ำกันของภาวะธุรกิจเฟื่องฟูถดถอย และตกต่ำภาวะต่าง ๆ เหล่านี้ อาจจะสั้น หรือยาวก็ได้ 4 . 4 องค์ประกอบความผันแปรเชิงสุ่ม ซึ่งเป็นผลอันเนื่องมาจากความผิดปกติ ( Irregular ) เป็นการเปลี่ยนแปลงของข้อมูลอนุกรมเวลาที่เกิดจากปัจจัยที่ไม่อาจคาดคะเนได้ล่วงหน้า เช่น การ เกิดภาวะผิดปกติทางดินฟ้าอากาศ การเกิดน้ำท่วม การนัดหมายหยุดงานของบุคลากร และ การเกิด สงคราม เป็นต้น ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ที่เราไม่อาจทํานายได้ล่วงหน้า

RkJQdWJsaXNoZXIy MTA3NzA0Nw==