รายงานการศึกษาค่าคาดการณ์อัตราการว่างงานของประเทศไทย

21 5. เทคนิคการพยากรณ์ โดยทั่วไปแล้วสามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ การพยากรณ์เชิงคุณภาพ ( Qualitative forecasting methods ) และการพยากรณ์เชิงปริมาณ ( Quantitative forecasting methods ) 5 . 1 การพยากรณ์เชิงคุณภาพ ( Qualitative Forecasting Methods ) เป็นเทคนิคการ พยากรณ์ที่ขึ้นอยู่กับประสบการณ์ การประเมินความคิดเห็น ของผู้เชี่ยวชาญ ( Expert opinion ) และ ใช้ดุลยพินิจของบุคคลเพื่อทำนายการเปลี่ยนแปลงในระยะยาว เป็นการพยากรณ์ที่ใช้วิจารณญาณ ( Judgmental Forecasting ) โดยจะถือเกณฑ์วิจารณญาณส่วนบุคคล หรือมีการตกลงกันของ คณะกรรมการเกี่ยวกับเหตุการณ์ หรือสถานการณ์ในอนาคต โดยทั่วไปแล้วเทคนิคนี้จะถูกนำมาใช้ สำหรับการพยากรณ์ระยะยาว ( Long - range Projection ) หรือเมื่อองค์กรมีข้อมูลอยู่ จำกัด ไม่ สามารถหาได้ หรือข้อมูลที่มีอยู่ในปัจจุบันไม่เกี่ยวข้อง หรือเมื่อข้อมูลที่มีอยู่ไม่สามารถนำมาใช้ได้ นอกจากนั้นเทคนิคนี้ยังเหมาะกับการใช้แนะนำผลิตภัณฑ์ใหม่เข้าสู่ตลาด หรือมีการเปลี่ยนแปลง เทคโนโลยีใหม่ เนื่องจากไม่มีข้อมูลอยู่ 5 . 2 การพยากรณ์เชิงปริมาณ ( Quantitative Forecasting Methods ) จะใช้เทคนิคทาง คณิตศาสตร์บนพื้นฐานของข้อมูล ปริมาณความต้องการที่ เก็บรวบรวมไว้ในอดีต ( Historical Data ) รวมทั้งข้อมูลที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ เพื่อใช้ในการพยากรณ์ โดยจะจำแนกวิธีการพยากรณ์ออกเป็น 2 วิธี ใหญ่ ๆ คือ 1 ) การพยากรณ์ด้วยเทคนิคอนุกรมเวลา ( Time 16 Series Forecasting ) ซึ่งจะมีข้อ สมมุติที่ว่า ค่าพยากรณ์ที่เกิดขึ้นจะขึ้นกับข้อมูลที่ผ่านมาในอดีต ดังนั้นวิธีการนี้จึงจะใช้เฉพาะข้อมูล เชิงปริมาณที่ เก็บรวบรวมไว้ในอดีตมาพยากรณ์ และ 2 ) การพยากรณ์เชิงสาเหตุ ( Causal or Associating Forecasting ) จะสมมุติว่าปัจจัยอื่ น ๆ ตั้ งแต่ 1 ตัวแปรขึ้ นไป (ตัวแปรอิสระ) มี ความสัมพันธ์กับปริมาณความต้องการ ซึ่งจะนำเข้ามาใช้ในตัวแทนที่จะพยากรณ์ความต้องการใน อนาคต เนื่องจากการพยากรณ์เชิงปริมาณนั้นขึ้นกับข้อมูลในอดีต ดังนั้นค่าการพยากรณ์จะมีความ เชื่อถือลดลงเมื่อระยะเวลาการพยากรณ์เพิ่มขึ้น ดังนั้นหากองค์กรใดต้องการที่จะพยากรณ์ในระยะ ยาว ควรจะนำเอาการพยากรณ์ทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพเข้ามาร่วมวิเคราะห์ ด้วย (ทรงศิริแต้สมบัติ , 2539 ) 6 . การเลือกเทคนิคในการพยากรณ์ วิธีการพยากรณ์มีผู้พัฒนาขึ้นหลายวิธี โดยแต่ละวิธีก็จะเหมาะสมกับข้อมูลที่มีลักษณะการ เคลื่อนไหวที่แตกต่างกันออกไป รวมทั้งขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของการนำเอาค่าพยากรณ์ที่ได้ไปใช้งาน และจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเลือกวิธีการพยากรณ์ให้เหมาะสมกับการนำไปใช้ ดังนั้น ก่อนที่จะ ดำเนินการพยากรณ์ ผู้ พยากรณ์จะต้องทราบและตระหนักถึงรายละเอียดต่าง ๆ ที่ เกี่ ยวข้อง ดังต่อไปนี้ 6 . 1 ระยะเวลาในการพยากรณ์ล่วงหน้า ผู้พยากรณ์มักจะพยากรณ์การเกิดขึ้นของเหตุการณ์ แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของการนำค่าพยากรณ์ไปใช้งาน ระยะเวลาในการพยากรณ์ ล่วงหน้าสามารถแบ่งได้เป็น ระยะสั้น ระยะกลาง และ ระยะยาว การพยากรณ์ระยะสั้นจะเป็น ช่วงเวลาที่จะพยากรณ์ล่วงหน้าไม่เกิน 3 เดือน ระยะกลาง เป็นช่วงเวลาตั้งแต่ 3 เดือนขึ้นไป จนถึง 2 ปี และระยะยาว เป็นช่วงเวลาที่ต้องการพยากรณ์ไปล่วงหน้าตั้งแต่ 2 ปีขึ้นไป ระยะเวลาในการ

RkJQdWJsaXNoZXIy MTA3NzA0Nw==