รายงานการศึกษาค่าคาดการณ์อัตราการว่างงานของประเทศไทย

23 เข้าใจในเทคนิคการพยากรณ์ที่นำมาใช้การพยากรณ์ที่ทำขึ้นก็จะไม่มีความหมาย หรือถูกนำไป ประยุกต์ใช้อย่างไม่ถูกต้อง เช่น วิธีการของบ๊อก-เจนกินส์ ( Box and Jenkins Method ) ไม่เป็นที่ นิยมในหลายองค์กร เนื่องจากเทคนิคดังกล่าวยุ่งยากเกินไปสำหรับผู้ใช้ ที่จะเข้าใจแนวความคิด พื้นฐานของวิธีการในระดับที่จะมั่นใจได้ว่า วิธีการดังกล่าวสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้อย่างถูกต้อง 7 . กระบวนการพยากรณ์ กระบวนการพยากรณ์ ( Forecasting Process ) หมายถึง ขั้ นตอนการเลือกเทคนิคการ พยากรณ์ ตั้งแต่หนึ่งวิธีขึ้นไป ที่สามารถประยุกต์ใช้กับข้อมูลที่จําเป็นต่อการพยากรณ์ ซึ่งประกอบด้วย 9 ขั้นตอน ต่อไปนี้ (กิตติพงศ์อินทร์ทอง , 2556 ) 7 . 1 การกําหนดวัตถุประสงค์ของการพยากรณ์ ( Specific Objectives ) เป็น การกําหนด วัตถุประสงค์ให้ชัดเจนว่าการพยากรณ์จะไปใช้ในการตัดสินใจอย่างไร เช่น ใช้เพื่อตัดสินใจ ลงทุน (การพยากรณ์ระยะยาว) หรือเพื่อวางแผนกลยุทธ์ (การพยากรณ์ระยะกลาง) 7 . 2 การกําหนดสิ่งที่จะพยากรณ์ให้ชัดเจน ( Determine what to forecast ) เช่น พยากรณ์ ยอดขายเป็นหน่วยสินค้า หรือเป็นตัวเงิน (บาทหรือดอลลาร์) การพยากรณ์เป็นยอดขายรวม ยอดขาย สายผลิตภัณฑ์ยอดขายของแต่ละภูมิภาค ยอดขายในประเทศ หรือยอดขายต่างประเทศเป็นต้น 7 . 3 การเก็บรวบรวมข้อมูล ( Data Collection ) เป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการ พยากรณ์อย่างเหมาะสม และเป็นข้อมูลที่ถูกต้อง ขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนที่ยากและใช้เวลามากที่สุดใน การเก็บรวบรวมข้อมูลจะต้องพิจารณาถึงข้อกําหนดด้านเวลา ( Identify time dimensions ) โดย พิจารณา 2 ประการคือ ช่วงระยะเวลาการพยากรณ์ ( Length and periodicity ) เช่น ประจําปี ประจําไตรมาส ประจําเดือน ประจําวัน และความเร่งด่วนในการพยากรณ์ ( Urgency ) ถ้ามีความ จําเป็นเร่งด่วน วิธีที่ใช้ในการพยากรณ์จะมีความซับซ้อนน้อยกว่า และข้อกําหนดเกี่ยวกับข้อมูล ( Data considerations ) การพิจารณาจากปริมาณและประเภทของข้อมูลที่มีเป็นข้อมูลภายในหรือภายนอก บริษัทเป็นข้อมูลรายปี รายเดือน เป็นข้อมูลที่เป็นตัวเงินหรือหน่วยสินค้า 7 . 4 การลดข้อมูล ( Data Reduction ) บางครั้งข้อมูลที่เก็บรวบรวมมีมากเกินไป และทําให้ การพยากรณ์มีความถูกต้องน้อยลง จึงจําเป็นต้องลดข้อมูลบางตัวที่อาจจะไม่เกี่ยวข้องกับการ พยากรณ์ลง 7 . 5 การเลือกแบบจําลองในการพยากรณ์ ( Model Selection ) การเลือกวิธีการพยากรณ์ ขึ้นอยู่กับรูปแบบของข้อมูล จํานวนข้อมูลที่มีและระยะเวลาการพยากรณ์ การเลือกวิธีการพยากรณ์ที่ เหมาะสมกับข้อมูลจะช่วยลดความผิดพลาดในการพยากรณ์รูปแบบการพยากรณ์ ที่ยิ่งง่ายจะยิ่ งดีต่อ การยอมรับของผู้ตัดสินใจ วิธีการพยากรณ์จะต้องมีความสมดุลระหว่างความถูกต้อง และเป็นวิธีที่ง่าย ต่อความเข้าใจ 7 . 6 การพยากรณ์ ( Model Extrapolation ) เป็นการพยากรณ์เหตุการณ์ที่ผ่านไป โดยใช้ ข้อมูลจริงที่มีอยู่ และประเมินว่าวิธีใดเหมาะสม ( fit ) กับข้อมูลในอดีตก่อน โดยการวัดค่าคลาดเคลื่อน ที่เกิดขึ้น 7 . 7 การเตรียมการพยากรณ์ ( Forecast Preparation ) เมื่อมีวิธีการพยากรณ์มากกว่า 2 วิธี ขึ้นไปที่ เหมาะสม การรวมค่าการพยากรณ์จากวิธีเหล่านั้นจะทําให้ค่าพยากรณ์ดีขึ้นกว่าการใช้วิธี เดียว

RkJQdWJsaXNoZXIy MTA3NzA0Nw==