รายงานการศึกษาค่าคาดการณ์อัตราการว่างงานของประเทศไทย

24 7 . 8 การนําเสนอผลการพยากรณ์ ( Forecast Presentation ) การนําเสนอค่าพยากรณ์ ให้กับ ผู้บริหารหรือผู้ใช้ด้วยการเขียนเป็นลายลักษณ์อักษรหรือนําเสนอด้วยวาจา ( Written / oral ) เป็นขั้น ตอนนี้มีความสําคัญมากเช่นกัน เพราะสามารถสร้างความเข้าใจให้กับผู้บริหารหรือผู้ใช้ได้ 7 . 9 การตรวจสอบผลการพยากรณ์ ( Tracking Results ) การติดตามผลอย่างต่อเนื่อง ว่าผล การพยากรณ์เมื่อเปรียบเทียบกับค่าจริงแล้วมีความถูกต้องอย่างไร ซึ่งวิธีที่เคยพยากรณ์ได้ดีที่สุด อาจ มีความถูกต้องลดลง เนื่องจากสภาพแวดล้อมเปลี่ยนไปอาจจะต้องหาวิธีอื่นมาแทนการพยากรณ์ สามารถเรียนรู้ได้จากความผิดพลาด การทบทวนค่าคลาดเคลื่อนของการพยากรณ์อย่างรอบคอบจะ ช่วยให้สามารถเข้าใจถึงสาเหตุของความเบี่ยงเบนระหว่างค่าจริงกับค่าพยากรณ์ได้ดีขึ้น 8 . การพิจารณาเลือกตัวแบบพยากรณ์ ในการเลือกตัวแบบหรือวิธีการพยากรณ์ลําดับแรกผู้พยากรณ์จําเป็นต้องศึกษารูปแบบ ของ ชุดข้อมูลอย่างละเอียดก่อน เช่น ทําการตรวจสอบว่าชุดข้อมูลมีรูปแบบอย่างไร รูปแบบองค์ประกอบ ของแนวโน้ม วัฏจักร ฤดูกาล หรือว่ามีเพียงตัวแปรสุ่มเพียงอย่างเดียว ซึ่งวิธีการที่จะทําให้ทราบถึง องค์ประกอบของข้อมูลเหล่านี้ สามารถทําได้จากการวาดกราฟและการวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์ สหสัมพันธ์ เมื่อทราบรูปแบบของชุดข้อมูลแล้ว จึงนําไปเลือกตัวแบบหรือวิธีการการพยากรณ์โดย เกณฑ์ในการเลือก วิธีการพยากรณ์ที่เหมาะสมมีดังนี้ (กิตติพงศ์ อินทร์ทอง , 2556 ) 8 . 1 ชุดข้อมูลที่มีลักษณะคงที่ ( Stationary Data ) คือ อนุกรมที่มีค่าเฉลี่ยไม่เปลี่ยนแปลง เมื่อเวลาผ่านไป วิธีการพยากรณ์จะใช้ข้อมูลในอดีตเป็นค่าพยากรณ์ในอนาคต โดยที่เทคนิคการ พยากรณ์สําหรับข้อมูลที่มีลักษณะคงที่จะใช้เมื่อ 1 ) ข้อมูลที่่ไม่ค่อยเปลี่ยนแปลง เช่น จํานวนของเสียต่อสัปดาห์ ซึ่งมีอัตราเดียวกัน ทุกสัปดาห์ 2 ) ต้องการรูปแบบง่ายๆ เพราะขาดข้อมูล หรือเพื่อให้ง่ายต่อการอธิบาย หรือการ ปฏิบัติ เช่น ธุรกิจหรือองค์กรใหม่และมีข้อมูลในอดีตเล็กน้อย 3) ข้อมูลที่มีลักษณะเป็นแนวโน้ม อาจมีการเปลี่ยนรูปเป็นข้อมูลคงที่ เช่น การ เปลี่ยนรูปอนุกรมโดยวิธีถอดรากที่สองหรือการหาผลต่าง 4 ) ข้อมูลที่เป็นกลุ่มของค่าคลาดเคลื่อนจากการพยากรณ์ เทคนิควิธีการพยากรณ์ที่ เหมาะสมกับชุดข้อมูลที่มีลักษณะคงที่ ได้แก่ วิธีนาอีฟ ( Native Methods ) วิธีค่าเฉลี่ยอย่างง่าย ( Simple Average Methods ) วิธีค่าเฉลี่ยเคลี่อนที่ ( Moving Average ) วิธีบ๊อกซ์และเจนกินส์ ( Box - Jenkins Methods ) 8 . 2 ชุดข้อมูลที่มีลักษณะเป็นแนวโน้ม ( Data with a Trend ) คือ อนุกรมเวลาที่มีการเพิ่มขึ้น หรือลดลงเมื่อเวลาเพิ่มขึ้นในระยะยาว หรือกล่าวได้ว่าอนุกรมเวลาที่มีลักษณะเป็นแนวโน้ม ค่าเฉลี่ย จะมีการเปลี่ยนแปลงเมื่อเวลาเพิ่มขึ้น และสามารถคาดได้ว่าจะเพิ่มขึ้นหรือลดลงในช่วงเวลาที่ พยากรณ์เวลาใด เทคนิคการพยากรณ์สําหรับข้อมูลที่มีแนวโน้มจะใช้เมื่อประสบสถานการณ์ดังนี้ 1 ) มีการเพิ่มขึ้นของผลิตผลและเทคโนโลยีใหม่ที่ ทําให้รูปแบบการดํารงชีวิต ( Lifestyle ) ของผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงไป 2 ) เมื่อมีการเพิ่มขึ้นหรือลดลงของจํานวนประชากร ทําให้ความต้องการสินค้า หรือ บริการเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางเดียวกัน

RkJQdWJsaXNoZXIy MTA3NzA0Nw==