รายงานการศึกษาค่าคาดการณ์อัตราการว่างงานของประเทศไทย

25 3 ) เมื่ออํานาจการซื้อได้รับผลกระทบจากตัวแปรทางเศรษฐกิจเนื่องจากเงินเฟ้อ 4 ) เมื่อผู้บริโภครู้จักหรือยอมรับผลิตภัณฑ์มากขึ้น เทคนิควิธีการพยากรณ์ที่เหมาะสมกับชุดข้อมูลที่มีลักษณะแบบแนวโน้มคือ วิธี ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ ( Moving Average ) วิธีปรับเรียบเอ็กซ์โปแนนเชียลของโฮล์ท์ ( Holt ’ s Exponential Smoothing Method ) วิธีการวิเคราะห์ความถดถอย ( Simple Regression ) วิธีปรับให้เรียบเอ็กซ์ โปแนนเชียลซ้ำสองครั้งหรือวิธีของบราวน์ ( Double Exponential Smoothing ) วิธีบ๊อกซ์และเจน กินส์ ( Box - Jenkins Methods ) 8 . 3 ชุดข้อมูลที่มีลักษณะฤดูกาล ( Seasonal Data ) คือ อนุกรมฤดูกาลเป็นอนุกรมเวลาที่มี รูปแบบที่เปลี่ยนแปลงซ้ำเดิมในช่วงเวลาเดียวกันทุกปี การพัฒนาเทคนิคการพยากรณ์สําหรับอนุกรม ฤดูกาล มักเป็นวิธีที่เกี่ยวข้องกับการแยกส่วนประกอบอนุกรมเวลา โดยมีการประมาณค่าดัชนีฤดูกาล จากอนุกรมในอดีต ค่าดัชนีเหล่านี้ใช้เพื่อเพิ่มหรือขจัดค่าฤดูกาลในการพยากรณ์ออกจากค่าสังเกต เทคนิคการพยากรณ์สําหรับข้อมูลที่มีลักษณะฤดูกาลจะใช้เมื่อประสบสถานการณ์ดังนี้ 1 ) สภาพของอากาศมีอิทธิพลต่อข้อมูลที่สนใจ เช่น ยอดขายเครื่องปรับอากาศในฤดูร้อน กิจกรรมในฤดูร้อนหรือฤดูหนาว (เช่น การว่ายน้ำ) เสื้อผ้า และผลิตผลเกษตรตามฤดูกาล 2 ) เวลาตามปฏิทินมีผลต่อข้อมูลที่สนใจ เช่น ยอดขายร้านค้าปลีกในวันหยุด วันปีใหม่ เทคนิควิธีพยากรณ์ที่ใช้สําหรับชุดข้อมูลที่มีลักษณะแบบฤดูกาลได้แก่ วิธีแยกองค์ประกอบอนุกรม เวลา ( Classical Decomposition ) วิธี Census X - 12 วิธีปรับเรียบเอ็กซ์โปแนนเชียลวินเตอร์ ( Winter ’ s Exponential Smoothing ) วิธีการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ ( Multiple Regression ) และ วิธีบ๊อกซ์และเจนกินส์ ( Box - Jenkins Methods ) 8 . 4 ชุดข้อมูลที่มีลักษณะที่เคลื่อนไหวตามวัฏจักร ( Cyclical Series ) คือ อนุกรมเวลาที่มีการ เคลื่อนไหวตามวัฏจักร มีลักษณะการเคลื่อนไหวขึ้นลงคล้ายรูปคลื่นรอบๆ เส้นแนวโน้ม โดยลักษณะ ของข้อมูลจะเกิดขึ้นซ้ำกันทุก 2 - 3 ปีหรือมากกว่านั้น การสร้างแบบจําลองของรูปแบบวัฏจักรทําได้ ยาก เพราะมีรูปแบบไม่แน่นอน และขนาดของการเคลื่อนไหวมักจะแตกต่างกัน โดยสามารถนําวิธี แยกส่วนประกอบอนุกรมเวลามาวิเคราะห์ข้อมูลที่มีลักษณะที่เคลื่อนไหวตามวัฏจักรได้ เนื่องจากวัฏ จักรจะมีลักษณะที่ไม่ปกติ การวิเคราะห์ส่วนประกอบของวัฏจักรจําเป็นต้องหาตัวชี้นําทางเศรษฐกิจ 1 ) เทคนิคการพยากรณ์สําหรับข้อมูลที่ มีลักษณะที่ เคลื่ อนไหวตามวัฏจักร จะใช้ เมื่อ สถานการณ์ ดังนี้ 1 . 1 ) วงจรของธุรกิจมีอิทธิพลต่อข้อมูลที่สนใจ เช่น ปัจจัยทางเศรษฐกิจ การตลาดหรือการแข่งขัน 1 . 2 ) เกิดการเปลี่ยนแปลงในรสนิยม เช่น แฟชั่น ดนตรีอาหาร เป็นต้น 1 . 3 ) เกิดการเปลี่ยนแปลงของประชากร เช่น เกิดสงคราม อดอยาก โรคระบาด และภัยธรรมชาติ 1 . 4 ) เกิดการเปลี่ยนแปลงในวงจรชีวิตของผลิตภัณฑ์เช่น ขั้นแนะนํา ขั้นเจริญเติบโต ขั้น อิ่มตัว และขั้นถดถอย 2 ) เทคนิควิธีการพยากรณ์ที่ใช้สําหรับชุดข้อมูลที่เคลื่อนไหวตามวัฏจักร ได้แก่ วิธีแยก องค์ประกอบอนุกรมเวลา ( Classical Decomposition ) วิธีการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ ( Multiple Regression ) วิ ธี บ๊ อกซ์ และเจนกิ นส์ ( Box - Jenkins Methods ) ตั วชี้ วั ดภาวะทางเศรษฐกิจ ( Economic Indicators ) แบบจําลองทางเศรษฐมิติ ( Econometric Models )

RkJQdWJsaXNoZXIy MTA3NzA0Nw==