รายงานการศึกษาค่าคาดการณ์อัตราการว่างงานของประเทศไทย

27 2 . 4 ทบทวนวรรณกรรมและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 2.4.1 ปัจจัยที่ส่งผลต่อการว่างงานหรืออัตราการว่างงาน GDP ในด้านงานวิจัยที่ศึกษาผลของ GDP ต่ออัตราการว่างงาน Kim et al . ( 2019 ) ได้ศึกษา ความสัมพันธ์ของกฎ Okun ในประเทศอาเซียน+ 6 พบว่ากฎของ Okun ใช้ไม่ได้กับประเทศต่าง ๆ ใน กลุ่มอาเซียน+ 6 ยกเว้นประเทศไทย ฟิลิปปินส์ และมาเลเซีย เนื่องจากการลงทุนโดยตรงจาก ต่างประเทศ ( FDI ) เป็นตัวหลักสำคัญในการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ รวมไปถึงการขาดแคลน แรงงานที่มีฝีมือ และการมีแรงงานที่ไม่มีฝีมือมากเกินไป ในทางกลับกัน กฎของ Okun ใช้ได้ในไทย มาเลเซียและฟิลิปปินส์เนื่องจากประเทศเหล่านี้มีอัตราการว่างงานต่ำจากคุณลักษณะเฉพาะของ ตลาดแรงงาน นอกจากนี้เมื่อทำการกำจัดแนวโน้มของ GDP ออกไป พบว่า ความสัมพันธ์เชิงลบของ อัตราการว่างงานและผลผลิตมากขึ้นในช่วงเศรษฐกิจถดถอย เนื่องจากการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ของประเทศอาเซียน+ 6 ขึ้นอยู่กับการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศเป็นอย่างมาก เงินเฟ้อ งานวิจัยจำนวนมากได้ทำการทดสอบทฤษฎีของเส้นโค้งฟิลลิปส์ เช่น กฤษฎา สัตย วินิจ ( 2555 ) ได้ทำการศึกษาภาพรวมของการเคลื่อนไหวของอัตราเงินเฟ้อกับอัตราการว่างงานของ ประเทศไทยรวมถึงวิเคราะห์ดุลยภาพในระยะยาวและการปรับตัวในระยะสั้นของอัตราเงินเฟ้อกับ อัตราการว่างงานของประเทศไทย และทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างอัตราเงินเฟ้อกับอัตราการ ว่างงานของประเทศไทยโดยผลการศึกษาพบว่าอัตราเงินเฟ้อและอัตราการว่างงานของไทยมีการ เคลื่อนไหวในทิศตรงข้ามกัน ในกรณีที่อัตราการว่างงานเกิดเบี่ยงเบนออกไปจากดุลยภาพจะใช้เวลา ปรับตัวกลับเข้าสู่ดุลยภาพเพียง 2 . 4 วัน และอัตราเงินเฟ้อเป็นสาเหตุของการว่างงานแต่การว่างงาน นั้นไม่เป็นสาเหตุของอัตราเงินเฟ้อ ซึ่งสัมพันธ์กับการศึกษาของงานวิจัยของอนันต์ พานทอง ( 2550 ) ที่พบว่าการเปลี่ยนแปลงอัตราการว่างงานมีผลค่อนข้างน้อยต่ออัตราเงินเฟ้อ จากผลการศึกษาที่กล่าว มานั้นสนับสนุนทฤษฎีของเส้นโค้งฟิลลิปส์บางส่วนเท่านั้น นอกจากนี้ Kanyarat ( 2002 ) พบว่าความสัมพันธ์ของเส้นโค้งฟิลลิปส์หรือการชดเชยระหว่าง เงินเฟ้อและอัตราการว่างงานในประเทศไทยเกิดขึ้นหลังจากวิกฤตการณ์ต้มยำกุ้ง ( Asian Crisis ) ในขณะที่ นนทลี ศรีสว่าง พบว่าความผันผวนของอัตราเงินเฟ้อส่งผลลบต่อความผันผวนของอัตราการ ว่างงานและความผันผวนของอัตราการว่างงานส่งผลทางลบต่อความผันผวนของอัตราเงินเฟ้อ เช่นเดียวกัน จำนวนประชากร/กำลังแรงงาน ในด้านผลกระทบเชิงประจักษ์ของจำนวนประชากร Maqbool et al . ( 2013 ) ศึกษาสาเหตุของอัตราการว่างงานในปากีสถานในช่วงปี 1976 - 2012 พบว่าจำนวนประชากรและอัตราการว่างงานมีความสัมพันธ์เชิงบวกในปากีสถาน กล่าวคือหากจำนวน ประชากรเพิ่มขึ้น อัตราการว่างงานก็จะเพิ่มขึ้นด้วย ขณะเดียวกัน Mahmood, Akhtar, Amin, and Idrees ( 2011 ) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่ออัตราการว่างงานในเปชวาร์ ปากีสถานพบว่าการเติบโตของ ประชากรและอัตราการว่างงานมีความสัมพันธ์เชิงบวกในกลุ่มของผู้ที่มีการศึกษา สอดคล้องกับ Asif ( 2013 ) ที่พบผลกระทบอย่างมีนัยสําคัญของจำนวนประชากรต่ออัตราการว่างงานในประเทศจีน อินเดีย และปากีสถาน ในช่วงปี 1980 - 2009 นอกจากนี้ Bakare ( 2011 ) ศึกษาสาเหตุของการ

RkJQdWJsaXNoZXIy MTA3NzA0Nw==