รายงานการศึกษาค่าคาดการณ์อัตราการว่างงานของประเทศไทย
28 ว่างงานของคนในเมือง ประเทศไนจีเรีย พบความสัมพันธ์เชิงบวกของอัตราการว่างงานและจำนวน ประชากรเช่นเดียวกันตัวอย่างงานวิจัยข้างต้นล้วนแล้วแต่สนับสนุนทฤษฎีของมัลธัส อย่างไรก็ตาม จำนวนประชากรและกำลังแรงงานที่เพิ่มขึ้นอาจส่งผลให้อัตราการว่างงาน ลดลง เนื่องจากอัตราการว่างงาน คำนวณจากจำนวนผู้ว่างงานหารด้วยกำลังแรงงาน จะเห็นได้ว่าหาก กำลังแรงงานเพิ่มขึ้นในอัตราที่มากกว่าผู้ว่างงาน ในภาพรวมจะส่งผลให้อัตราการว่างงานลดลง ทั้งนี้ งานวิจัยบางส่วนพบความสัมพันธ์ข้างต้น เช่น Aqil et al . ( 2014 ) พบความสัมพันธ์เชิงลบระหว่าง จำนวนประชากรและอัตราการว่างงานในปากีสถาน กล่าวคือ หากมีการเติบโตของประชากรเพิ่มขึ้น อัตราการว่างงานจะลดลง อย่างไรก็ตาม การจ้างงานเหล่านั้นอาจเป็นการจ้างงานของเด็ก การจ้าง งานที่ไม่มีคุณภาพ มีชั่วโมงการทำงานต่ำ หรือการว่างงานแฝง ปรากฏการณ์เช่นนี้อาจเป็นผลจากการ เพิ่มขึ้นของประชากร นำไปสู่กำลังงานและการจ้างงานที่เพิ่มขึ้น แต่เป็นการจ้างงานที่ไม่ได้มีคุณภาพ นอกจากนี้ยังมี Loku and Deda ( 2013 ) ที่พบความสัมพันธ์เชิงลบระหว่างจำนวนประชากรและ อัตราการว่างงานในสาธารณรัฐคอซอวอ โดยผู้เขียนได้ให้เหตุผลของอัตราการว่างงานที่มีผลต่อการ เติบโตประชากรโดยกล่าวว่าอัตราการว่างงานทำให้อัตราการเกิดของประชากรลดลงเนื่องจากผู้ ว่างงานจะขาดสวัสดิการในการเลี้ยงลูก นอกจากนี้ผู้ว่างงานส่วนใหญ่จะมีความเครียด โดยบุคคล เหล่านี้มักจะใช้ความรุนแรงกับลูก ทำให้ลูกเกิดความเครียด หดหู่ ส่งผลต่อการเรียน การเข้าสังคม หรือแม้แต่มีความเสี่ยงในการฆ่าตัวตาย แต่ผู้เขียนไม่ได้กล่าวถึงเหตุผลของการเติบโตของประชากร ต่ออัตราการว่างงาน อัตราการเจริญพันธุ์ อัตราการเจริญพันธุ์ ( Fertility Rate ) สะท้อนจำนวนบุตรเฉลี่ยที่ผู้หญิง แต่ละคนให้กำเนิด โดยปกติแล้วการศึกษาผลของการเพิ่มขึ้นของอัตราการเจริญพันธุ์ จะให้ผล เช่นเดียวกับการเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากร กล่าวคือ อัตราการเจริญพันธุ์เพิ่มขึ้น ทำให้กำลังแรงงาน เพิ่มขึ้น ในขณะที่ตำแหน่งงานเพิ่มขึ้นไม่ทัน จึงอาจส่งผลให้อัตราการว่างงานเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ดี ใน บางประเทศอาจให้ผลกลับกันคืออัตราการเจริญพันธุ์เพิ่มขึ้น แต่อัตราการว่างงานลดลง เช่น มาเลเซีย ในช่วงปี 1991 - 2018 นอกจากนี้ หากตัวเลขอัตราการเจริญพันธุ์น้อยกว่า 2 แสดงว่าแนวโน้มประชากรของ ประเทศนั้นจะไม่เพิ่มขึ้น ซึ่งอาจจะทำให้ผลิตจำนวนแรงงานใหม่ได้ไม่ เพียงพอที่จะเข้ามาทดแทน แรงงานที่กำลังเกษียณหรือออกจากตลาดแรงงานไป จึงส่งผลสืบเนื่องให้ตลาดแรงงานหาแรงงานได้ ยากขึ้น จึงมีอัตราการว่างงานลดลง ทั้งนี้ ปรากฏการณ์ข้างต้นสอดคล้องกับกรณีของประเทศไทยที่ เข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ในขณะที่อัตราการเจริญพันธุ์มีแนวโน้มลดลง แม้สถานการณ์เช่นนี้เกิดขึ้นในหลาย ๆ ประเทศ เช่น ญี่ปุ่น และสหรัฐอเมริกา กล่าวคือทั้งสองประเทศมีอัตราการเจริญพันธุ์ลดลง และเข้า สู่สังคมสูงอายุ อย่างไรก็ตาม ทั้งสองประเทศจัดเป็นประเทศพัฒนาแล้ว ในขณะที่ประเทศไทยที่พบ เหตุการณ์เช่นเดียวกัน จึงค่อนข้างน่าเป็นกังวล จากข้ อมู ลประมาณการอั ตราการเจริญพันธุ์ ของสถาบั นวิ จั ยประชากรและสั งคม มหาวิทยาลัยมหิดล พบว่าในปี 2565 อยู่ร้อยละ 1.21 ลดลงจากร้อยละ 1.58 ในปี 2561 สะท้อน แนวโน้มการเกิดที่ลดลงในประเทศไทย ซึ่งส่งผลต่อทิศทางของจำนวนประชากรและกำลังแรงงานใน อนาคตด้วย
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy MTA3NzA0Nw==