รายงานการศึกษาค่าคาดการณ์อัตราการว่างงานของประเทศไทย

29 ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม การขยายตัวของภาคการผลิต ( Industrialization ) หรือผลผลิต อุตสาหกรรมเพิ่มขึ้น ทำให้การจ้างงานโดยรวมขยายตัว และการว่างงานลดลง เช่น ในตุรกี มาเลเซีย และกลุ่มประเทศ BRICS (บราซิล รัสเซีย อินเดีย จีน และแอฟริกาใต้) ในขณะที่ในฟิจิ อัตราการว่าง เพิ่มขึ้น เมื่อมีการขยายตัวของภาคอุตสาหกรรม ในกรณีของสหรัฐอเมริกา Gunduz ( 2020 ) พบความสัมพันธ์ระยะยาวระหว่างอัตราการ ว่างงานของกับตัวแปรดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรม โดยการว่างงานจะลดลงเมื่อมีผลผลิตเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในช่วงที่มีการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจแบบขยายตัว ตั้งแต่ปี 2008 และ 2018 ทั้งนี้ ผล ข้างต้นอาจเกี่ยวข้องกับมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ ( Quantitative Easing : QE ) ของธนาคาร กลางสหรัฐ ( FED ) ซึ่ งนโยบายการเงินแบบขยายตัวนี้ทำให้อัตราการเติบโตในสหรัฐอเมริ กามี เสถียรภาพและอัตราการว่างงานลดลงอย่างเห็นได้ชัด อีกทั้งยังมีการศึกษาที่พบว่าอัตราการว่างงาน ในประเทศอุตสาหกรรมส่วนใหญ่มีแนวโน้มที่จะแปรผันน้อยกว่าต่อการเปลี่ยนแปลงของ GDP สะท้อนว่าตลาดแรงงานของประเทศอุตสาหกรรมเหล่านี้มีกฎเกณฑ์ที่เข้มงวดมากกว่า ไม่ว่าจะเป็น การคุ้มครองการจ้างงาน เช่น ญี่ปุ่น สหภาพแรงงานที่เข้มแข็ง ทำให้นายจ้างไม่สามารถเลิกจ้าง แรงงานได้ง่ายในช่วงที่เศรษฐกิจตกต่ำ ปัจจัยอื่น ๆ ที่อาจส่งผลต่ออัตราการว่างงาน ที่พบได้ในงานวิจัยที่ผ่านมา เช่น การลงทุน โดยตรงจากต่างประเทศ ( FDI ) การส่งออกของประเทศ และการพัฒนาทางเทคโนโลยี นอกจากนี้ ยังมีงานวิจัยที่ศึกษาเกี่ยวกับปัจจัยทางเศรษฐกิจและสังคมที่ส่งผลต่อการว่างงาน ในประเทศไทยโดยเฉพาะ ได้แก่ ชาลิสา สาคร ( 2565 ) ที่ทำการศึกษาปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการ ว่างงาน และวิเคราะห์สภาพปัญหาการว่างงาน ในประเทศไทย ใช้ข้อมูลพื้นฐานด้านเศรษฐกิจและ สั งคมระดับหมู่ บ้าน (กชช.2ค) เป็นแบบสอบถาม กชช2ค 3 รอบปี ของกรมพัฒนาชุ มชน กระทรวงมหาดไทย โดยแบ่งปัจจัยที่คาดว่าจะส่งผลต่อการว่างงานเป็น 4 กลุ่ม คือ 1 ) สภาพและ โครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจ 2 ) สุขภาวะและอนามัย 3 ) ความรู้และการศึกษา 4 ) การมีส่วนร่วม และความเข้มแข็งของชุมชน โดยใช้วิธีการวิเคราะห์ panel data ในรูปแบบวิธี Pooled Regression ซึ่งพบว่า ปัญหาการว่างงานในประเทศไทยนั้นมีหลายสาเหตุ เช่น การเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากรใน ประเทศ สภาพเศรษฐกิจที่ตกต่ำ การผลิตนักศึกษาออกมาเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ รวมไปถึงสถานการณ์ภัย ธรรมชาติต่างๆ ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการว่างงานในเชิงบวก คือ การทำเกษตร เลี้ยงสัตว์ ประมง ทะเล รายได้อุตสาหกรรมครัวเรือน รายได้อุตสาหกรรมท้องถิ่น ความปลอดภัยในการทำงาน ขาด โอกาสในการศึกษา อบรมด้านสุขภาพ ชุมชนมีกิจกรรมสาธารณะ และผู้สูงอายุไม่ได้รับการดูแล ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการว่างงานในเชิงลบ คือ ชุมชนมีแหล่งท่องเที่ยวที่เกิดรายได้ ประมงน้ำจืด มีเครื่องจักรใช้งาน รายได้พืช รายได้ประมง คนพิการ อบรมด้านการศึกษา และแหล่งสินเชื่อ โดยสรุปมีปัจจัยทางเศรษฐกิจและสังคมจำนวนมาก ที่ส่งผลต่อการว่างงานและอัตราการ ว่างงาน โดยจะแตกต่างกันไปตามบริบทของแต่ละประเทศ ซึ่งปัจจัยที่สำคัญสรุปได้ดังตารางต่อไปนี้

RkJQdWJsaXNoZXIy MTA3NzA0Nw==