รายงานการศึกษาค่าคาดการณ์อัตราการว่างงานของประเทศไทย

66 ปี (1) จำนวนผู้ว่างงาน ( A ) กำลังแรงงาน รวม ( B ) อัตราการว่างงาน ช่วงการ พยากรณ์ (6) ค่าพยากรณ์ จาก IMF (7) ค่าพยากรณ์ ค่าพยากรณ์ ( A / B )* 100 (4) พยากรณ์ โดยใช้อัตรา (5) (2) (3) 2 566 486,838 40,327,749 1 . 21 1 . 11 1 . 11 - 1 . 21 1.00 2 567 428,844 41,081,493 1 . 04 1 . 13 1 . 04 - 1 . 13 1.00 2 568 376,826 41,245,540 0 . 91 1 . 13 0 . 91 - 1 . 13 1.00 2 569 336,586 41,460,920 0 . 81 0 . 99 0 . 81 - 0 . 99 1.00 2 570 307,549 41,361,293 0 . 74 0 . 89 0 . 74 - 0 . 89 1.00 จากตารางข้างต้นเป็นข้อมูลที่ได้จากการพยากรณ์โดยใช้ข้อมูลรายปี คอลัมน์ที่ (2) และ (3) เป็นข้อมูลค่าพยากรณ์จำนวนผู้ว่างงานและกำลังแรงงานจากแบบจำลอง ARIMAX ที่มีการใส่ตัวแปร COVID และ GDP เข้าไปในแบบจำลอง จากนั้นนำค่าพยากรณ์ทีได้ไปหาค่าคาดการณ์อัตราการ ว่างงานในคอลัมน์ที่ (4) ในส่วนของคอลัมน์ที่ (5) คือค่าพยากรณ์ที่ได้จากการคาดการณ์อัตราการ ว่างงานตัวมันเอง ซึ่งจะเห็นได้ว่าผลการพยากรณ์อัตราการว่างงานด้วยข้อมูลรายปี โดยใช้ตัวแปรตาม คือจำนวนผู้ว่างงานและกำลังแรงงาน และตัวแปรตามคืออัตราการว่างงานมีค่าค่อนข้างใกล้เคียงกัน และใกล้เคียงกับผลการพยากรณ์ที่ IMF คาดการณ์ไว้ และเพื่อให้การพยากรณ์มีความยืดหยุ่นมากขึ้น จึงจัดทำเป็นช่วงของค่าคาดการณ์อัตราการว่างงานในคอลัมน์ (6) เพื่อลดโอกาสของความผิดพลาดใน การพยากรณ์ 5.2 ข้อเสนอแนะจากผู้เชี่ยวชาญ จากผลการศึกษาค่าคาดการณ์อัตราการว่างงานของประเทศไทย ได้มีการจัดประชุมนำเสนอ ผลการศึกษาต่อผู้เชี่ยวชาญเพื่อให้ความเห็นในเรื่องการพัฒนาและปรับปรุงตัวแบบที่ใช้ในการ พยากรณ์ ซึ่งผู้เชี่ยวชาญได้ให้ความคิดเห็นตลอดจนข้อเสนอแนะแนวทางเพื่อการพัฒนาตัวแบบการ พยากรณ์ต่อไปในอนาคต สรุปได้ดังนี้ 1. ดร.กวิน เอี่ยมตระกูล เศรษฐกรชำนาญการ สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ให้ความเห็นว่า การใช้ข้อมูล Time Series ควรใช้ข้อมูลจำนวน 25 ปีขึ้นไป และมีข้อเสนอแนะว่า อาจจะใช้ Error correlation model ซึ่ งเป็นการพยากรณ์อัตราการว่างงานในระยะยาว ในการเปรียบเทียบกับ แบบจำลองที่ได้ศึกษาข้างต้น นอกจากนี้ อาจจะใช้ Structural break model ในการพยากรณ์อัตรา การว่างงาน แทนการใส่ตัวแปร Dummy สถาณการณ์โควิดได้ 2. ดร.นรพัชร์ อัศววัลลภ ผู้อำนวยการส่วนนวัตกรรมข้อมูลเศรษฐกิจและงานวิจัย สำนักงาน เศรษฐกิจการคลัง ให้ความเห็นว่า ในขั้นตอนคัดเลือกแบบจำลองที่เหมาะสม การใส่ค่าของตัวแปร อิสระ GDP ของข้อมูลที่ใช้สำหรับการทดสอบ (Test-set) ควรใส่มูลค่า GDP ที่เป็นค่าพยากรณ์ อาจจะเหมาะสมกว่าการใช้มูลค่า GDP ที่ เกิดขึ้นจริงแล้ว และยังมีข้อเสนอแนะถึงแบบจำลอง

RkJQdWJsaXNoZXIy MTA3NzA0Nw==