สำมะโนการเกษตร พ.ศ. 2566 ทั่วราชอาณาจักร
ระเบียบวิธีสถิติ 1. ขอบข่าย การทำการเกษตร หมายถึง การปลูกพืช การเลี้ยงสัตว์ การเลี้ยงสัตว์น้ำในพื้นที่น้ำจืด และ การทำนาเกลือสมุทร โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อขาย หรือเพื่อขายและเพื่อบริโภค ดังต่อไปนี้ 1.1 การปลูกพืช ได้แก่ ข้าว ยางพารา พืชยืนต้นและไม้ผล สวนป่า พืชไร่ พืชผัก สมุนไพร และไม้ดอกไม้ประดับ ทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์ การเพาะชำพันธุ์ ไม้ การเพาะเห็ดและการเพาะเชื้อเห็ด (ให้รวมการปลูกข้าวเพื่อบริโภคด้วย) 1.2 การเลี้ยงสัตว์ (รวมการเพาะพันธุ์สัตว์) ได้แก่ โค กระบือ สุกร แพะ แกะ ไก่ เป็ด ห่าน ไหม และการเลี้ยงสัตว์อื่น ๆ ที่ไม่ขัดต่อพระราชบัญญัติป้องกันการทารุณกรรมและการจัดสวัสดิภาพสัตว์ พ.ศ. 2557 (ให้รวมการเลี้ยงโค หรือกระบือเพื่อใช้งานเกษตรด้วย) 1.3 การเลี้ยงสัตว์น้ำในพื้นที่น้ำจืด (รวมการเพาะฟักและ/หรืออนุบาลสัตว์น้ำในพื้นที่น้ำจืด) ได้แก่ สัตว์น้ำจำพวกปลา (รวมปลาและสัตว์น้ำสวยงามอื่น ๆ) กุ้ง สัตว์น้ำอื่น ๆ เช่น กบ ตะพาบน้ำ จระเข้น้ำจืด และสัตว์น้ำกร่อยที่นำมาเลี้ยงในพื้นที่น้ำจืด เช่น กุ้งกุลาดำ กุ้งขาว ปลากะพง 1.4 การทำนาเกลือสมุทร ได้แก่ การทำนาเกลือสมุทรในพื้นที่ 7 จังหวัด คือ ฉะเชิงเทรา ชลบุรี จันทบุรี สมุทรสาคร สมุทรสงคราม เพชรบุรี และปัตตานี หมายเหตุ : 1) การนับจด สำมะโนการเกษตรครั้งนี้ นอกจากจะนับจดเพื่อหาผู้ถือครองทำการเกษตร ใน 4 กิจกรรม (ปลูกพืช เลี้ยงสัตว์ เลี้ยงสัตว์น้ำในพื้นที่น้ำจืด และทำนาเกลือสมุทร ) ให้นับจดรวม ผู้ทำกิจกรรมการเกษตรอีก 3 กิจกรรมนี้ด้วย ได้แก่ ประมงน้ำจืด ประมงทะเล และเพาะเลี้ยงชายฝั่ง (รวมเพาะพันธุ์) 2) สำมะโนการเกษตรครั้งนี้ ไม่รวมการทำเกษตรเพื่อการศึกษา การทดลอง การแข่งขัน การกีฬา การพักผ่อนหย่อนใจ และไม่รวมการบริการทางการเกษตร เช่น การรับจ้างไถด้วยรถแทรกเตอร์ รับจ้างขุดบ่อ รับจ้างฟักไข่ รับจ้างผสมพันธุ์ 3) วัตถุประสงค์เพื่อขายในที่นี้ ให้รวมการทำการเกษตรที่ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อขาย ในตอนแรก แต่มีการขายผลผลิตทางการเกษตร อาจเนื่องจากได้ผลผลิตจำนวนมาก หรือมีผู้ต้องการซื้อ แล้วมีการขายผลผลิตเกิดขึ้นแล้ว เช่นนี้ ให้ถือว่าเป็นการทำการเกษตรโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อขายด้วย 4) สำมะโนการเกษตรครั้งนี้ มีการขยายขอบข่ายการทำการเกษตรในแต่ละกิจกรรม ให้ครอบคลุมการทำการเกษตรของเกษตรกรในประเทศ โดยได้นำหลักเกณฑ์การขึ้นทะเบียนเกษตรกร ของแต่ละหน่วยงานมาพิจารณาประกอบการปรับขอบข่ายสำหรับสำมะโนการเกษตรในครั้งนี้ ทั้งการ กำหนดชนิดพืชที่ปลูก ชนิดสัตว์ และชนิดสัตว์น้ำในพื้นที่น้ำจืดที่เลี้ยง รวมทั้งการจำแนกหน่วยนับ ให้สอดคล้องกับการดำเนินการของเกษตรกรในปัจจุบัน 2. คุ้มรวม สำมะโนการเกษตรครั้งนี้ คุ้มรวม คือ เกษตรกรที่เป็นผู้ถือครองทำการเกษตรทุกรายในทุกพื้นที่ ทั่วประเทศ 3. กรอบสำมะโน แหล่งข้อมูลสำหรับจัดทำกรอบสำมะโนการเกษตร ( Census frame) ในครั้ งนี้ ใช้ข้อมูล ทะเบียนจากฐานข้อมูลทะเบียนเกษตรกรกลาง ( Farmer One ) และข้อมูลสำมะโนการเกษตร พ.ศ. 2556 บทที่ 2
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy MTA3NzA0Nw==