สำมะโนการเกษตร พ.ศ. 2566 ทั่วราชอาณาจักร

8 2) การตรวจสอบคุณภาพข้อมูล ( Quality Control : QC) ในขั้นการเก็บรวบรวมข้อมูล กำหนดให้มีการตรวจสอบคุณภาพข้อมูล โดยให้เจ้าหน้าที่ วิชาการสังเกตการณ์การปฏิบัติงานสนามของพนักงานแจงนับพร้อมบันทึกข้อมูลผลในแบบตรวจสอบ คุณภาพ โดยเจ้ าหน้ าที่ วิ ชาการ 1 คน สั งเกตการณ์พนั กงานแจงนับ 6 คน พนั กงานแจงนับ แต่ละคนทำการสัมภาษณ์ผู้ถือครองทำการเกษตร 5 ราย โดยให้สังเกตการณ์ในการถามข้อถามทุกตอน และทุกข้อคำถาม มีผลการตรวจสอบคุณภาพข้อมูลขั้นการเก็บรวบรวมข้อมูลในภาพรวมทั้งประเทศ เฉลี่ย 9. 7 คะแนน โดยค่าเฉลี่ยรายจังหวัดของในแต่ละภาคเป็น ดังนี้ จังหวัดในภาคกลาง เฉลี่ย 9.7 คะแนน จังหวัดในภาคเหนือ เฉลี่ย 9.7 คะแนน จังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เฉลี่ย 9.6 คะแนน จังหวัดในภาคใต้ เฉลี่ย 9. 9 คะแนน 3) การสำรวจภายหลังการแจงนับ ( Post Enumeration Survey : PES) กำหนดให้มีการปฏิบัติงานภายหลังจากการเก็บรวบรวมข้อมูลสำมะโนการเกษตร เสร็จสิ้นแล้ว โดยใช้พนักงานแจงนับไม่ซ้ำกับพนักงานเก็บรวบรวมข้อมูล และนำข้อมูลที่ได้จาก การทำสำมะโนการเกษตรมาสอบเทียบ ( Matching) กับข้อมูลที่ได้จากการทำ PES เพื่อวิเคราะห์ หาความคลาดเคลื่อน และสรุปผลการปฏิบัติงานเก็บรวบรวมข้อมูลว่ามีความสมบูรณ์มากน้อยเพียงใด ซึ่งพิจารณาได้จากความคลาดเคลื่อนของข้อมูล 9 . การประมวลผล ภายหลังการปฏิบัติงานสนามเสร็จสิ้น สำนักงานสถิติแห่งชาติส่วนกลาง ดำเนินการประมวลผล ข้อมูล โดยเริ่มจากการทำความสะอาดข้อมูล/การแก้ไขข้อมูล ด้วยการทำบรรณาธิกรด้วยเครื่องจักร ( Machine edit) ดังนี้ 1) การตรวจสอบความถูกต้องตามโครงสร้างข้อมูล ( Structure check ) 2) การตรวจสอบความถูกต้องของการบันทึกรหัสข้อมูล ( Possible code check ) 3) การตรวจสอบความแนบนัยของข้อมูล ( Consistency check ) รวมทั้งการแทนค่า ข้อมูลที่สูญหาย หลังจากนั้น เป็นการประมวลผลในรูปตารางสถิติตามที่กำหนด โดยมีการเดินตาราง ( Tabulation ) และตรวจสอบความสมเหตุสมผลของข้อมูล โดยเริ่มจากตารางระดับจังหวัด ภาค และทั่วราชอาณาจักร 10 . การนำเสนอผลและการเผยแพร่ข้อมูล 10 .1 การนำเสนอผล สำนักงานสถิติแห่งชาติ เสนอรายงานผล ดังนี้ 1) ผลสำมะโนเบื้องต้น เป็นการประมวลผลทันทีภายหลังการเก็บข้อมูลแล้วเสร็จ โดยนำเสนอ เฉพาะข้อมูลรายการสำคัญในระดับประเทศ เช่น จำนวนและเนื้อที่ถือครองทำการเกษตร จำนวนผู้ถือครอง จำแนกตามลักษณะการทำการเกษตร โดยนำเสนอบนระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ ( Geographic Information System : GIS) และจัดการแถลงข่าวผลสำมะโนการเกษตร พ.ศ. 2566 เบื้องต้น 2) ผลสำมะโนสมบูรณ์ เป็นการประมวลผลข้อมูลภายหลังจากทำความสะอาดข้อมูล/ การแก้ไขข้อมูลด้วยการทำบรรณาธิกรด้วยเครื่องจักรแล้ว เพื่อนำเสนอผลข้อมูลสถิติ ดังนี้

RkJQdWJsaXNoZXIy MTA3NzA0Nw==