สำมะโนการเกษตร พ.ศ. 2566 ทั่วราชอาณาจักร
12 ในแต่ละกิจกรรมให้ครอบคลุมการทำการเกษตรของเกษตรกรในประเทศ โดยได้นำหลักเกณฑ์ การขึ้นทะเบียนเกษตรกรของแต่ละหน่วยงานมาพิจารณาประกอบการปรับขอบข่ายสำหรับสำมะโน การเกษตรในครั้งนี้ ทั้งการกำหนดชนิดพืชที่ปลูก ชนิดสัตว์และชนิดสัตว์น้ำในพื้นที่น้ำจืดที่เลี้ ยง รวมทั้งการจำแนกหน่วยนับให้สอดคล้องกับการดำเนินการของเกษตรกรในปัจจุบัน 2 . ลักษณะสำคัญของผู้ถือครองทำการเกษตร 2.1 ลักษณะการทำการเกษตร ผลสำมะโนการเกษตร พ.ศ. 25 6 6 พบว่า ผู้ถือครองทำการเกษตรส่วนใหญ่ (ร้อยละ 92.0) ปลูกพืช ส่วนผู้ถือครองที่เลี้ยงสัตว์ มีร้อยละ 31.5 ในขณะที่ผู้ถือครองที่เลี้ยงสัตว์น้ำในพื้นที่น้ำจืด มีเพียงร้อยละ 2.2 และผู้ถือครองที่ทำนาเกลือสมุทรมีจำนวนน้อยมาก คือ 924 ราย โดยในช่วง 20 ปี ที่ผ่านมา พบว่า ผู้ถือครองทำการเกษตรส่วนใหญ่ปลูกพืช (มากกว่าร้อยละ 90.0) ในขณะที่ผู้ถือครอง ที่เลี้ยงสัตว์น้ำในพื้นที่น้ำจืดลดลงอย่างต่อเนื่อง จากร้อยละ 6.6 ในปี 2546 เป็นร้อยละ 3.9 ในปี 2556 และเป็นร้อยละ 2.2 ในปี 2566 (ตาราง 2) ตาราง 2 จำนวนและร้อยละของผู้ถือครองทำการเกษตร จำแนกตามลักษณะการทำการเกษตร ลักษณะการทำการเกษตร ( กิจกรรมการเกษตร ) จำนวนผู้ถือครองทำการเกษตร ร้อยละ 2546 2556 2566 2546 2556 2566 รวม * 5,814,679 5 , 911 , 567 8,659,470 ปลูกพืช 5,594,236 5,701,260 7,967,386 96.2 96.4 92.0 เลี้ยงสัตว์ 2,344,832 1,231,157 2,731,636 40.3 20.8 31.5 เลี้ยงสัตว์น้ำในพื้นที่น้ำจืด 384,475 233,368 186,320 6.6 3.9 2.2 ทำนาเกลือสมุทร n.a. 767 924 n.a. 0.0 * * 0.0 * * * ผู้ถือครอง 1 ราย อาจทำการเกษตรได้มากกว่า 1 ลักษณะการทำการเกษตร ** น้อยกว่าร้อยละ 0.1 n.a. ไม่มีข้อมูล หมายเหตุ : ปี 2546 ไม่มีข้อถามเกี่ยวกับการทำนาเกลือสมุทร 2.2 ขนาดเนื้อที่ถือครองทำการเกษตร ผลสำมะโนการเกษตร พ.ศ. 25 6 6 พบว่า ผู้ถือครองทำการเกษตรมีขนาดเนื้อที่ถือครอง 10 – 3 9 ไร่ มากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 52 .2 รองลงมา คือ ต่ำกว่า 6 ไร่ ร้อยละ 23.0 ในขณะที่ผู้ถือครอง ที่มีเนื้อที่ขนาดใหญ่ (140 ไร่ขึ้นไป) มีเพียงร้อยละ 0.3 เท่านั้น หากพิจารณาขนาดเนื้อที่ที่ผู้ถือครองใช้ประโยชน์เพื่อการเกษตร ในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา พบว่า ผู้ถือครองทำการเกษตรของประเทศไทยส่วนใหญ่ถือครองเนื้อที่ขนาดเล็ก โดยมีการถือครองเนื้อที่ 10 – 39 ไร่ มากที่สุด คือ ร้อยละ 51.1 ในปี 2546 ร้อยละ 50.7 ในปี 2556 และร้อยละ 52.2 ในปี 2566 รองลงมา คือ มีเนื้อที่ตํ่ากว่า 6 ไร่และ 6 - 9 ไร่ นอกจากนี้ยังพบว่าในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ผู้ถือครองทำการเกษตรมีขนาดเนื้อที่ถือครองเฉลี่ยลดลง (ตาราง 3)
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy MTA3NzA0Nw==