สำมะโนการเกษตร พ.ศ. 2566 ทั่วราชอาณาจักร

15 3 . เนื้อที่ถือครองทำการเกษตร 3.1 เนื้อที่ตามการถือครองและประเภทเอกสารสิทธิ์ ผลสำมะโนการเกษตร พ.ศ. 25 6 6 พบว่า เนื้อที่ถือครองทำการเกษตรส่วนใหญ่เป็นที่ดิน ของผู้ถือครองทำการเกษตร คิดเป็นร้อยละ 80.6 ในจำนวนนี้เป็นที่ดินที่มีเอกสารสิทธิ์ เป็นโฉนด มากที่สุด ร้อยละ 62 . 0 รองลงมา คือ หนังสืออนุญาตการใช้ประโยชน์ที่ดินที่ออกโดยสำนักงานปฏิรูป ที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ส.ป.ก.) ร้อยละ 2 3.7 ในรอบ 20 ปีที่ผ่านมา เนื้อที่เพื่อการเกษตรของประเทศไทย ยังคงเป็นเนื้อที่ของผู้ถือครอง ทำการเกษตรมากที่สุด คือ ร้อยละ 76.9 ในปี 2546 ร้อยละ 79.2 ในปี 2556 และร้อยละ 80.6 ในปี 2566 ( ตาราง 6 ) ตาราง 6 เนื้อที่และร้อยละของเนื้อที่ถือครองทำการเกษตร จำแนกตามการถือครองที่ดินและประเภท เอกสารสิทธิ์ รายการ เนื้อที่ถือครองทำการเกษตร ร้อยละ 2546 2556 2566 2546 2556 2566 1. เนื้อที่ตามการถือครองที่ดิน 112,685,474 116,623,664 141,662,222 100.0 100.0 100.0 เนื้อที่ของตนเอง 86,638,259 92,376,232 114,197,794 76.9 79.2 80.6 เนื้อที่ไม่ใช่ของตนเอง 26,047,215 24,247,432 27,464,428 23.1 20.8 19.4 2. เนื้อที่ตามประเภทเอกสารสิทธิ์ (เฉพาะเนื้อที่ของตนเอง) 86,638,259 92,376,232 114,197,794 100.0 100.0 100.0 โฉนด 53,396,662 60,439,016 70,792,534 61.6 65.4 62.0 หนังสืออนุญาตการใช้ประโยชน์ ที่ดินที่ออกโดยสำนักงานปฏิรูปที่ดิน เพื่อเกษตรกรรม (ส.ป.ก.) 17,638,507 22,765,700 27,023,933 20.4 24.7 23.7 หนังสืออนุญาตการใช้ประโยชน์ ที่ดินของรัฐอื่น ๆ ที่ไม่ได้ออกโดย ส.ป.ก. 3,784,169 3.3 เอกสารเกี่ยวกับที่ดินอื่น ๆ 15,603,090 9,171,516 12,597,158 18.0 9.9 11.0 หมายเหตุ : ปี 2566 แบ่งประเภทเอกสารสิทธิ์หนังสืออนุญาตการใช้ประโยชน์ที่ดินที่ออกโดยหน่วยงานของรัฐออกเป็น 2 ประเภท คือ 1) ที่ออกโดยสำนักงานปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ส.ป.ก.) 2) ที่ออกโดยหน่วยงานของรัฐอื่น ๆ ที่ไม่ใช่ ส.ป.ก. 3.2 เนื้อที่ตามการใช้ประโยชน์ในที่ถือครอง ผลสำมะโนการเกษตร พ.ศ. 25 6 6 พบว่า ประเทศไทยมีเนื้ อที่ ถือครองทำการเกษตร เป็นเนื้อที่นา (ปลูกข้าว) มากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 48.4 รองลงมา คือ เนื้อที่ปลูกพืชไร่ เนื้อที่ สวนยางพารา และที่ปลูกพืชยืนต้นและไม้ผล มีร้อยละ 20.2 17.4 และ 10.3 ตามลำดับ ในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา พบว่า ที่ดินเพื่อการเกษตรของประเทศไทย ยังคงถูกใช้เป็นเนื้อที่นา (ปลูกข้าว) ในสัดส่วนมากที่สุด รองลงมาเป็นเนื้อที่ปลูกพืชไร่ (ตาราง 7)

RkJQdWJsaXNoZXIy MTA3NzA0Nw==