สำมะโนการเกษตร พ.ศ. 2566 ภาคกลาง
15 3.2 เนื้อที่ตามการใช้ประโยชน์ในที่ถือครอง เนื้อที่ถือครองทำการเกษตรเกือบครึ่ง (ร้อยละ 45.8) เป็นที่นา (ปลูกข้าว) รองลงมาเป็น เนื้อที่ปลูกพืชไร่ (ร้อยละ 22.4) และที่ปลูกพืชยืนต้นและไม้ผล (ร้อยละ 13.1) (ตารางที่ 7) ตารางที่ 7 จำนวนและร้อยละของเนื้อที่ถือครองทำการเกษตร จำแนกตามการใช้ประโยชน์ในที่ถือครอง การใช้ประโยชน์ในที่ถือครอง เนื้อที่ถือครอง (ไร่) ร้อยละ เนื้อที่ถือครองทั้งสิ้น 22,494,453 100.0 ที่นา (ปลูกข้าว) 10,312,093 45.8 สวนยางพารา 2,375,847 10.6 ที่ปลูกพืชยืนต้นและไม้ผล 2,956,001 13.1 ที่ปลูกพืชไร่ 5,034,501 22.4 ที่ปลูกพืชผัก สมุนไพร และไม้ดอกไม้ประดับ 382,158 1.7 ที่สวนป่า 252,131 1.1 ทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์ 57,823 0.3 ที่เลี้ยงสัตว์ (คอกสัตว์) 161,598 0.7 ที่เลี้ยงสัตว์น้ำในพื้นที่น้ำจืด 480,487 2.1 ที่นาเกลือสมุทร 33,280 0.2 แหล่งน้ำเพื่อการเกษตร (บ่อน้ำ สระน้ำ) 48,963 0.2 ที่อื่น ๆ 399,572 1.8 4. การปลูกพืช จากผู้ถือครองทำการเกษตรที่ปลูกพืชทั้งสิ้น 1 , 028 ,259 ราย พบว่า พืชที่มีผู้ปลูกมากที่สุด 5 อันดับแรก ได้แก่ ข้าว ยางพารา มันสำปะหลัง ทุเรียน และอ้อยโรงงาน (ตารางที่ 8) ตารางที่ 8 จำนวนและร้อยละของผู้ถือครองทำการเกษตร จำแนกตามชนิดพืชที่มีผู้ปลูกมากที่สุด 5 อันดับ ชนิดพืช จำนวนผู้ถือครอง * ร้อยละ 1. ข้าว 431,794 42.0 2. ยางพารา 117,048 11.4 3. มันสำปะหลัง 98,833 9.6 4. ทุเรียน 64,459 6.3 5. อ้อยโรงงาน 59,179 5.8 * ผู้ถือครอง 1 ราย อาจปลูกพืช มากกว่า 1 ชนิด 5 . การเลี้ยงสัตว์ จากผู้ถือครองทำการเกษตรที่เลี้ยงสัตว์ทั้งสิ้น 3 06 ,649 ราย พบว่า สัตว์ที่มีผู้เลี้ยงมากที่สุด 5 อันดับแรก ได้แก่ ไก่ โค เป็ด แพะ และสุกร (ตารางที่ 9)
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy MTA3NzA0Nw==