สำมะโนการเกษตร พ.ศ. 2566 ภาคเหนือ
6 2.2) ได้ทำฟรี / ที่สาธารณะ / ที่ป่าสงวน / ที่ป่าเสื่อมโทรม หมายถึง ที่ดินที่ผู้ถือครองเข้าไป ทำการเกษตร โดยไม่มีกรรมสิทธิ์หรือไม่ได้จ่ายค่าเช่า เช่น ที่ดินในเขตป่าสงวน ที่สาธารณะ ที่ดิน ที่บุคคลอื่นอนุญาตให้ทำประโยชน์ได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าตอบแทน เป็นต้น 6 . รายการข้อมูล รายการข้อมูลที่เก็บรวบรวมในสำมะโนการเกษตรครั้งนี้ ได้แก่ 6.1 ข้อมูลทั่วไปของผู้ถือครองทำการเกษตร 6.2 เนื้อที่ถือครองทำการเกษตร 6.3 การปลูกพืช 6.4 การเลี้ยงสัตว์ 6.5 การเลี้ยงสัตว์น้ำในพื้นที่น้ำจืด 6.6 การทำนาเกลือสมุทร 6.7 รูปแบบและวิธีทำการเกษตร 6.8 ข้อมูลทางเศรษฐกิจสังคมของครัวเรือนผู้ถือครองทำการเกษตร 7. การพัฒนาการเก็บรวบรวมข้อมูลสำมะโนการเกษตร การจัดเก็บข้อมูลสำมะโนการเกษตรครั้งนี้ มีการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลอย่างเต็มประสิทธิภาพ ดังนี้ 7 .1 การจัดเตรียมกรอบสำมะโน มีการบูรณาการข้อมูลโดยการเชื่อมโยงข้อมูลในระดับบุคคล และพื้นที่ย่อยจากฐานข้อมูลทะเบียนเกษตรกรกลาง ( Farmer One ) และฐานข้อมูลสำมะโนการเกษตร พ.ศ. 2556 7 .2 การเก็บรวบรวมข้อมูล มีการพัฒนาระบบงานสำหรับจัดเก็บข้อมูลและบริหารงานสนาม ที่มีการรับส่งข้อมูลระหว่างการปฏิบัติงานในพื้นที่กับฐานข้อมูลแบบออนไลน์ เพื่อให้มีการตรวจสอบ ความครบถ้วนตามคุ้มรวมและความถูกต้องของข้อมูลในระหว่างการจัดเก็บ ทำให้ข้อมูลสำมะโนการเกษตร มีคุณภาพ ทั้งความครบถ้วนและถูกต้อง นอกจากนี้ยังสามารถกำกับดูแล และติดตามการปฏิบัติงาน รวมทั้งตรวจสอบและยืนยันความครบถ้วนและถูกต้องของข้อมูลในขณะปฏิบัติงานในพื้นที่ ทั้งในระดับ ผู้ถือครองทำการเกษตรและในระดับพื้นที่ย่อย การใช้ระบบงานดังกล่าว ช่วยให้การปฏิบัติงานมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ดังนี้ 1) สามารถตรวจสอบความครบถ้วนและถูกต้องของข้อมูลได้ทันที 2) ลดขั้นตอนการบันทึกข้อมูลในสำนักงาน ทำให้ประมวลผลและนําเสนอผลได้เร็วขึ้น 3) สามารถแสดงพิกัดการเดินในพื้นที่ของพนักงานแจงนับแต่ละคน ซึ่งเป็นการควบคุม คุณภาพการปฏิบัติงานของพนักงานแจงนับว่าได้ไปในเขตปฏิบัติงานที่ได้มอบหมายถูกต้อง 4) สามารถส่งข้อมูลขึ้น Server ในระบบคลาวด์กลางภาครัฐ ( Government Data Center and Cloud Service : GDCC ) ได้ทันที นอกจากนี้การใช้ระบบงาน ยังสามารถบริหารจัดการงานที่มีผู้ปฏิบัติงานจำนวนมาก ทั้งใช้ ติดตามความก้าวหน้าของการปฏิบัติงานสนาม ณ เวลาปัจจุบัน โดยแสดงข้อมูลในแต่ละเขตปฏิบัติงาน บนแผนที่แบบดิจิทัล ซึ่งติดตามความก้าวหน้าของงานภายใต้การกำกับได้ ตั้งแต่ระดับพนักงานแจงนับ ผู้ประสานงานในพื้นที่ เจ้าหน้าที่วิชาการ ผู้กำกับงานในระดับจังหวัด และในภาพรวมของประเทศ รวมทั้งผู้บริหารโครงการ ซึ่งทำให้สามารถช่วยแก้ไขปัญหาได้ทันที
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy MTA3NzA0Nw==