สำมะโนการเกษตร พ.ศ. 2566 ภาคเหนือ

8 2) การตรวจสอบคุณภาพข้อมูล ( Quality Control : QC) ในขั้นการเก็บรวบรวมข้อมูล กำหนดให้มีการตรวจสอบคุณภาพข้อมูล โดยให้เจ้าหน้าที่ วิชาการสังเกตการณ์การปฏิบัติงานสนามของพนักงานแจงนับพร้อมบันทึกข้อมูลผลในแบบตรวจสอบ คุณภาพ โดยเจ้ าหน้ าที่ วิ ชาการ 1 คน สั งเกตการณ์พนั กงานแจงนับ 6 คน พนั กงานแจงนับ แต่ละคนทำการสัมภาษณ์ผู้ถือครองทำการเกษตร 5 ราย โดยให้สังเกตการณ์ในการถามข้อถามทุกตอน และทุกข้อคำถาม ซึ่งภาคเหนือ มีผลการตรวจสอบคุณภาพข้อมูลขั้นการเก็บรวบรวมข้อมูล 9. 7 คะแนน ดังนี้ จังหวัดเชียงใหม่ 9 . 7 คะแนน จังหวัดลำพูน 9. 1 คะแนน จังหวัดลำปาง 9. 8 คะแนน จังหวัดอุตรดิตถ์ 9. 9 คะแนน จังหวัดแพร่ 9. 2 คะแนน จังหวัดน่าน 9. 8 คะแนน จังหวัดพะเยา 10.0 คะแนน จังหวัดเชียงราย 9.7 คะแนน จังหวัดแม่ฮ่องสอน 10.0 คะแนน จังหวัดนครสวรรค์ 9.4 คะแนน จังหวัดอุทัยธานี 10.0 คะแนน จังหวัดกำแพงเพชร 9. 5 คะแนน จังหวัดตาก 9.7 คะแนน จังหวัดสุโขทัย 9. 5 คะแนน จังหวัดพิษณุโลก 9. 7 คะแนน จังหวัดพิจิตร 9. 9 คะแนน จังหวัดเพชรบูรณ์ 9. 4 คะแนน 3) การสำรวจภายหลังการแจงนับ ( Post Enumeration Survey : PES) กำหนดให้มีการปฏิบัติงานภายหลังจากการเก็บรวบรวมข้อมูลสำมะโนการเกษตร เสร็จสิ้นแล้ว โดยใช้พนักงานแจงนับไม่ซ้ำกับพนักงานเก็บรวบรวมข้อมูล และนำข้อมูลที่ได้จากการ ทำสำมะโนการเกษตรมาสอบเทียบ ( Matching) กับข้อมูลที่ได้จากการทำ PES เพื่อวิเคราะห์หาความ คลาดเคลื่ อน และสรุปผลการปฏิบัติงานเก็บรวบรวมข้อมูลว่ามีความสมบูรณ์มากน้อยเพียงใด ซึ่งพิจารณาได้จากความคลาดเคลื่อนของข้อมูล 9 . การประมวลผล ภายหลังการปฏิบัติงานสนามเสร็จสิ้น สำนักงานสถิติแห่งชาติส่วนกลาง ดำเนินการประมวลผล ข้อมูล โดยเริ่มจากการทำความสะอาดข้อมูล/การแก้ไขข้อมูล ด้วยการทำบรรณาธิกรด้วยเครื่องจักร ( Machine edit) ดังนี้ 1) การตรวจสอบความถูกต้องตามโครงสร้างข้อมูล ( Structure check ) 2) การตรวจสอบความถูกต้องของการบันทึกรหัสข้อมูล ( Possible code check ) 3) การตรวจสอบความแนบนัยของข้อมูล ( Consistency check ) รวมทั้งการแทนค่า ข้อมูลที่สูญหาย

RkJQdWJsaXNoZXIy MTA3NzA0Nw==