สำมะโนการเกษตร พ.ศ. 2566 ภาคเหนือ
9 หลังจากนั้น เป็นการประมวลผลในรูปตารางสถิติตามที่กำหนด โดยมีการเดินตาราง ( Tabulation ) และตรวจสอบความสมเหตุสมผลของข้อมูล โดยเริ่มจากตารางระดับจังหวัด ภาค และทั่วราชอาณาจักร 10 . การนำเสนอผลและการเผยแพร่ข้อมูล 10 .1 การนำเสนอผล สำนักงานสถิติแห่งชาติ เสนอรายงานผล ดังนี้ 1) ผลสำมะโนเบื้องต้น เป็นการประมวลผลทันทีภายหลังการเก็บข้อมูลแล้วเสร็จ โดยนำเสนอ เฉพาะข้อมูลรายการสำคัญในระดับประเทศ เช่น จำนวนและเนื้อที่ถือครองทำการเกษตร จำนวนผู้ถือครอง จำแนกตามลักษณะการทำการเกษตร โดยนำเสนอบนระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ ( Geographic Information System : GIS) และจัดการแถลงข่าวผลสำมะโนการเกษตร พ.ศ. 2566 เบื้องต้น 2) ผลสำมะโนสมบูรณ์ เป็นการประมวลผลข้อมูลภายหลังจากทำความสะอาดข้อมูล/ การแก้ไขข้อมูลด้วยการทำบรรณาธิกรด้วยเครื่องจักรแล้ว เพื่อนำเสนอผลข้อมูลสถิติ ดังนี้ 2.1) รายงานฉบับสมบูรณ์ในระดับจังหวัด ภาค และทั่วราชอาณาจักร โดยระดับ จังหวัดกำหนดให้จัดทำเป็นรูปแบบดิจิทัลเท่านั้น ส่วนระดับภาคและทั่ วราชอาณาจัก ร จัดทำ ทั้งในรูปแบบดิจิทัลและรูปเล่มรายงาน 2.2) นำเสนอผลในรูปตารางสถิติถึงระดับพื้นที่ย่อยในรูปแบบการจัดตารางเชิงปฏิสัมพันธ์ ( Interactive tabulation) 2.3) นำเสนอผลข้อมูลสถิติบนแผนที่ 2.4) นำเสนอผลข้อมูลสำคัญในรูปแบบ Infographic 10 .2 การเผยแพร่ข้อมูล ผลสำมะโนการเกษตร กำหนดให้เผยแพร่ในรูปแบบต่าง ๆ ดังนี้ 1) รายงานผลสำมะโนการเกษตร เผยแพร่ทางสื่อออนไลน์ของสำนักงานสถิติจังหวัด สำนักงานสถิติแห่งชาติ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 2 ) คลังข้อมูลตารางสถิติในรูปแบบ Interactive tabulation เผยแพร่บนระบบคลังข้อมูลสถิติ ( Statistical Data Warehouse System) 3) ข้อมูลสถิติบนแผนที่ เผยแพร่บนระบบ GIS และติดตามการเผยแพร่ผลิตภัณฑ์จากสำมะโนการเกษตรอื่น ๆ ได้ทางเว็บไซต์สำนักงาน สถิติแห่งชาติ www.nso.go.th และสื่อช่องทางอื่นที่สำนักงานสถิติแห่งชาติเผยแพร่ต่อไป 1 1. ข้อจำกัดของข้อมูล 11.1 ผลรวมของแต่ละจำนวนอาจไม่เท่ากับยอดรวม เนื่องจากการปัดเศษทศนิยมให้เป็น จำนวนเต็ม 11.2 ค่า C ในตารางสถิติ หมายถึง ข้อมูลปกปิด (Confidential data) 1 2. มาตราที่ใช้ในรายงาน 1 ไร่ = 1,600 ตารางเมตร 1 ไร่ = 0.16 เฮกตาร์ 1 ไร่ = 0.333 เอเคอร์
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy MTA3NzA0Nw==