สำมะโนการเกษตร พ.ศ. 2566 ภาคเหนือ

14 3 . เนื้อที่ถือครองทำการเกษตร 3.1 การถือครองที่ดินและเอกสารสิทธิ์ เนื้อที่ถือครองทำการเกษตรในภาคเหนือร้อยละ 65.6 เป็นที่ดินของผู้ถือครองทำการเกษตร ในจำนวนนี้เป็นที่ดินมีเอกสารสิทธิ์เป็นโฉนดมากที่สุด (ร้อยละ 5 5 . 8 ) รองลงมาคือ หนังสืออนุญาตการ ใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ส.ป.ก.) มีร้อยละ 25. 9 (ตารางที่ 6) ตารางที่ 6 เนื้อที่และร้อยละของเนื้อที่ถือครองทำการเกษตร จำแนกตามการถือครองที่ดินและประเภท เอกสารสิทธิ์ รายการ เนื้อที่ถือครอง (ไร่) ร้อยละ 1. การถือครองที่ดิน 32,480,370 100.0 เนื้อที่ของตนเอง 21,305,099 65.6 เนื้อที่ไม่ใช่ของตนเอง 11,175,271 34.4 2. ประเภทเอกสารสิทธิ์ (เฉพาะเนื้อที่ของตนเอง) โฉนด 11,887,588 55.8 หนังสืออนุญาตการใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ส.ป.ก.) 5,509,877 25.9 หนังสืออนุญาตการใช้ประโยชน์ที่ดินของรัฐอื่น ๆ ที่ไม่ได้ออกโดย ส.ป.ก. 938,278 4.4 เอกสารเกี่ยวกับที่ดินอื่น ๆ 2,969,356 13.9 3.2 เนื้อที่ตามการใช้ประโยชน์ในที่ถือครอง เนื้อที่ถือครองทำการเกษตร ร้อยละ 48.4 เป็นที่นา (ปลูกข้าว) รองลงมาเป็นที่ปลูกพืชไร่ (ร้อยละ 33.0) และที่ปลูกพืชยืนต้นและไม้ผล (ร้อยละ 10.3) (ตารางที่ 7) ตารางที่ 7 เนื้อที่และร้อยละของเนื้อที่ถือครองทำการเกษตร จำแนกตามการใช้ประโยชน์ในที่ถือครอง การใช้ประโยชน์ในที่ถือครอง เนื้อที่ถือครอง (ไร่) ร้อยละ เนื้อที่ถือครองทั้งสิ้น 32,480,370 100.0 ที่นา (ปลูกข้าว) 15,707,887 48.4 สวนยางพารา 1,715,001 5.3 ที่ปลูกพืชยืนต้นและไม้ผล 3,344,297 10.3 ที่ปลูกพืชไร่ 10,721,920 33.0 ที่ปลูกพืชผัก สมุนไพร และไม้ดอกไม้ประดับ 155,827 0.5 ที่สวนป่า 180,261 0.5 ทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์ 111,976 0.3 ที่เลี้ยงสัตว์ (คอกสัตว์) 92,368 0.3 ที่เลี้ยงสัตว์น้ำในพื้นที่น้ำจืด 52,201 0.2 แหล่งน้ำเพื่อการเกษตร (บ่อน้ำ สระน้ำ) 44,049 0.1 ที่อื่น ๆ 354,583 1.1

RkJQdWJsaXNoZXIy MTA3NzA0Nw==