สำมะโนการเกษตร พ.ศ. 2566 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
4 5. คำนิยามสำคัญ คำนิยามสำคัญ สำหรับการทำสำมะโนการเกษตรในครั้งนี้ ได้แก่ 5 .1 ผู้ถือครองทำการเกษตร หมายถึง บุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลซึ่งควบคุมจัดการและ มีอำนาจตัดสินใจ เกี่ยวกับการทำการเกษตรในที่ถือครอง และเป็นผู้รับผิดชอบทั้งทางด้านเทคนิคและ การเงิน อาจดำเนินงานเอง หรือมอบให้ผู้จัดการ หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายดำเนินงานหรือดูแลแทนได้ 1) เป็นผู้ทำการเกษตรในวันสำมะโน 2) เป็นเจ้าของที่ดินที่ใช้ทำการเกษตร เป็นผู้เช่า หรือทำการเกษตรในที่ดินของผู้อื่น หรือ ในที่สาธารณะ / ป่าสงวน โดยไม่คำนึงถึงว่าจะได้รับความยินยอมหรือไม่ 3) มีที่ดินที่ใช้ทำการเกษตรผืนเดียวหรือหลายผืน ที่ดินดังกล่าวอาจอยู่แห่งเดียวกัน หรือ อยู่แยกกันในเขตท้องที่ใดก็ได้ แต่ที่ดินทุกผืนจะต้องอยู่ภายในเขตจังหวัดเดียวกัน ซึ่ง 3.1) ที่ดินแต่ละผืนอาจจะใช้ทั้งหมดหรือเพียงบางส่วน เพื่อการผลิตทางการเกษตรก็ได้ 3.2) ที่ดินแต่ละผืนอาจมีเนื้อที่เพียงเล็กน้อย เช่น คอกสัตว์ ที่เพาะเห็ด ที่เลี้ยงกล้วยไม้ หรือบ่อเลี้ยงปลาน้ำจืด เป็นต้น 4) การดำเนินงานต้องอยู่ภายใต้การบริหารหรือการจัดการอันเดียวกัน ซึ่งอาจดำเนินการ โดยครัวเรือนเดียว หรือครัวเรือนตั้งแต่ 2 ครัวเรือนขึ้นไป หรือบุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปที่อยู่ต่าง ครัวเรือน หรือบริษัท / ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล หรือหน่วยงานของรัฐ หรือดำเนินงานในลักษณะอื่น ๆ เช่น กลุ่มเกษตรกร เป็นต้น 5.2 เนื้อที่ถือครองทำการเกษตร หมายถึง เนื้อที่รวมของที่ดินทุกผืนภายในจังหวัดที่ถือครองอยู่ และใช้ทำการเกษตร ซึ่งที่ดินดังกล่าวผู้ถือครองอาจเป็นเจ้าของ เช่า หรือทำฟรีในที่สาธารณะ / ป่าสงวน / ที่ของผู้อื่นก็ได้ ที่ดินที่ใช้ทำการเกษตรผืนใด มีบริเวณลานในไร่นา ยุ้งฉาง โรงเก็บเครื่องมือเครื่องใช้ บ้าน และบริเวณบ้าน ป่า คันบ่อ ฯลฯ อยู่ด้วย ให้รวมเนื้อที่ดังกล่าวเข้าไปด้วย รวม ที่ดินทั้งผืนที่เคยใช้ทำการเกษตร แต่พักทิ้งไว้ ไม่มีการปลูกพืช เลี้ยงสัตว์ เพาะเลี้ยง สัตว์น้ำในพื้นที่น้ำจืด และทำนาเกลือสมุทร ตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไป แต่ไม่ถึง 5 ปี ไม่รวม ที่ดินทั้งผืน ซึ่งมีลักษณะดังต่อไปนี้ 1 ) ให้ผู้อื่นเช่าหรือยอมให้ผู้อื่นทำประโยชน์โดยไม่คิดค่าเช่า 2) เคยใช้ทำการเกษตร แต่พักทิ้งตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไป 3) เป็นที่ปลูกบ้าน สิ่งปลูกสร้าง และป่าขึ้นเองตามธรรมชาติ 5.3 การถือครองที่ ดิน หมายถึง สิทธิ ในการครอบครองหรือใช้ที่ ดินเพื่ อทำการเกษตร ในลักษณะต่าง ๆ ของผู้ถือครอง อาจเป็นเนื้อที่ของตนเอง หรือเป็นเนื้อที่ไม่ใช่ของตนเอง เช่น เป็นเจ้าของ เช่า หรือถือครองที่ดินในลักษณะอื่น ซึ่งผู้ถือครองอาจจะถือครองที่ดินในลักษณะเดียว เช่น เป็นเจ้าของ อย่างเดียว หรือเช่าอย่างเดียว หรืออาจจะถือครองที่ดินมากกว่าหนึ่งลักษณะ เช่น เป็นเจ้าของและเช่า หรือเช่าและถือครองในลักษณะอื่นรวมกัน เป็นต้น การถือครองที่ดิน จำแนกตามลักษณะต่าง ๆ ดังนี้ 1) เนื้อที่ของตนเอง หมายถึง การใช้ที่ดินในการทำการเกษตรมีหนังสือสำคัญแสด ง กรรมสิทธิ์ในที่ดิน ดังต่อไปนี้ 1.1) โฉนด (เอกสารสิทธิ์ตามกฎหมายที่ดิน 22 แบบ) คือ โฉนดหรือเอกสารสิทธิ์ ที่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายที่ดิน เช่น
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy MTA3NzA0Nw==