สำมะโนการเกษตร พ.ศ. 2566 ภาคใต้
บทนำ 1. ความเป็นมาและความสำคัญ ตามที่องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ ( FAO) ได้มีข้อแนะนำให้ประเทศสมาชิก จัดทำสำมะโนการเกษตร เพื่อให้มีชุดข้อมูลพื้นฐานด้านการเกษตรเพื่อใช้ประโยชน์อย่างเพียงพอ สำหรับการวางแผน เฝ้าระวัง ติดตาม และประเมินผลการพัฒนาประเทศด้านการเกษตร และคุณภาพชีวิต ของประชากรในภาคการเกษตรของประเทศ พร้อมทั้งให้สามารถและเปรียบเทียบกับข้อมูลระหว่าง ประเทศได้ โดยแต่ละประเทศควรจัดทำสำมะโนการเกษตรทุก 10 ปี เป็นอย่างน้อย ประกอบกับมาตรา 6(4) แห่งพระราชบัญญัติสถิติ พ.ศ. 2550 กำหนดให้สำนักงานสถิติแห่งชาติ มีอำนาจหน้าที่ในการจัดทำ สำมะโนหรือสำรวจตัวอย่าง หรืออำนวยการให้มีการสำรวจด้านต่าง ๆ ของประเทศ สำหรับสำมะโนการเกษตรของประเทศไทย จัดทำครั้งแรกในปี พ.ศ. 2493 โดยในปี พ.ศ. 2566 ได้จัดทำสำมะโนการเกษตรเป็นครั้งที่ 7 2 . แนวคิดของการทำสำมะโนการเกษตร พ.ศ. 2566 สำมะโนการเกษตร เป็นการดำเนินการทางสถิติที่เกี่ยวกับการเก็บรวบรวมข้อมูล การประมวลผล และนำเสนอผลข้อมูลโครงสร้างพื้นฐานทางการเกษตรของประเทศ โดยเก็บข้อมูลจากเกษตรกรที่เป็น ผู้ถือครองทำการเกษตรทุกรายในทุกพื้นที่ทั่วประเทศ การจัดทำสำมะโนการเกษตร พ.ศ. 2566 สำนักงานสถิติแห่งชาติ ได้มีการปรับปรุงวิธีการทำ สำมะโนการเกษตร ด้วยการนำข้อมูลทะเบียนเกษตรกรมาใช้ประโยชน์ในการจัดทำร่วมกับข้อมูลจาก สำมะโนการเกษตรในครั้งก่อน โดยสร้างเป็นฐานข้อมูลตั้งต้นสำหรับการนับจดพร้อม ทั้งให้มีการนับจด ผู้ทำการเกษตรที่ไม่มีข้อมูลในฐานข้อมูลตั้งต้น เพื่อหาผู้ถือครองทำการเกษตรตามคุ้มรวมให้ครบถ้วน ซึ่งกำหนดขอบเขตพื้นที่สำหรับการนับจด-แจงนับผู้ถือครองทำการเกษตร โดยใช้ข้อมูลในระดับพื้นที่ย่อย (หมู่บ้าน/ชุมชน/เทศบาล) กำหนดเป็น “เขตปฏิบัติงาน” สำหรับสำมะโนการเกษตร 3. วัตถุประสงค์ 3.1 เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลโครงสร้างพื้นฐานทางการเกษตรที่เก็บรวบรวมจากผู้ถือครอง ทำการเกษตรทุกราย 3.2 เพื่อให้มีข้อมูลสถิติการเกษตรทั้งในระดับประเทศและระดับพื้นที่ย่อย สำหรับใช้ประกอบ การวางแผนพัฒนาในระดับประเทศและระดับท้องถิ่นต่อไป 3.3 เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างพื้นฐานทางการเกษตร ในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา 3.4 เพื่อให้มีข้อมูลสถิติการเกษตร ที่เพียงพอต่อความต้องการใช้และทันสมัย 3.5 เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการจัดทำเป็นกรอบตัวอย่าง ( Sampling frame) สำหรับการสำรวจ ด้านการเกษตร 3.6 เพื่อให้เกษตรกรมีช่องทางในการสะท้อนปัญหา และมีข้อมูลเพื่อการตัดสินใจในการ พัฒนาอาชีพ บทที่ 1
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy MTA3NzA0Nw==