สำมะโนการเกษตร พ.ศ. 2566 ภาคใต้
7 8 . การเก็บรวบรวมข้อมูล 8 .1 วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล การเก็บรวบรวมข้อมูลสำมะโนการเกษตรครั้งนี้ใช้หลายวิธี ทั้งสัมภาษณ์แบบเผชิญหน้า สัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ และผู้ถือครองทำการเกษตรตอบข้อมูลเอง โดยวิธีหลักที่ใช้ คือ ให้พนักงาน แจงนับสัมภาษณ์แบบเผชิญหน้าโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการสัมภาษณ์ ( Computer-Assisted Personal Interviews: CAPI) การเก็บรวบรวมข้อมูลของสำมะโนการเกษตรใช้วิธี “ Closed Segment Concept” ในระดับ จังหวัด กล่าวคือ ผู้ถือครองทำการเกษตรจะถูกนับจดและแจงนับในจังหวัดที่มีการทำการเกษตรเท่านั้น 8 .2 คาบเวลาการเก็บรวบรวมข้อมูล ระหว่างวันที่ 20 พฤษภาคม ถึง 18 สิงหาคม 2566 8 .3 ผู้ปฏิบัติงานเก็บรวบรวมข้อมูล ผู้ปฏิบัติงานสำมะโนการเกษตรของภาคใต้ที่เกี่ยวข้องกับการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย เจ้าหน้าที่วิชาการ จำนวน 14 3 คน ผู้ประสานงานในพื้นที่ จำนวน 751 คน และพนักงานแจงนับ จำนวน 8 ,973 คน 8 .4 การฝึกอบรมผู้ปฏิบัติงานเก็บรวบรวมข้อมูล 1) ระดับเจ้าหน้าที่วิชาการ อบรมออนไลน์ ระหว่างวันที่ 27 - 28 เมษายน 2566 ผ่านระบบ Video Conference 2) ระดับผู้ประสานงานในพื้นที่ อบรมออนไลน์ วันที่ 1 พฤษภาคม 2566 ผ่านระบบ Zoom Meeting 3) ระดับพนักงานแจงนับ อบรมเชิงปฏิบัติการ ระหว่างวันที่ 15 - 26 พฤษภาคม 2566 ณ ศูนย์ประชุมกลุ่มตำบล 8 .5 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ใช้โทรศัพท์มือถือแบบสมาร์ตโฟนหรือ แท็บเล็ต หรือโน้ตบุ๊ก ของพนักงานแจงนับ ที่เชื่อมต่อสัญญาณอินเทอร์เน็ต 8 .6 การควบคุมคุณภาพ 1) การตรวจสอบข้อมูลโดยผู้ปฏิบัติงานสนาม ในระหว่างการเก็บข้อมูลแต่ละรายการของผู้ถือครองแต่ละราย โปรแกรมของระบบ นับจดและแจงนับจะตรวจสอบการบันทึกข้อมูลไปพร้อมกัน หากไม่ถูกต้องระบบจะแจ้งเตือน ซึ่งพนักงานแจงนับจะดำเนินการแก้ไขให้ถูกต้อง และเมื่อแจงนับข้อมูลผู้ถือครองแล้วเสร็จแต่ละราย ระบบจะประมวลข้อมูลสำคัญพร้อมทั้ งแสดงข้อมูลเพื่ อให้พนักงานแจงนับอ่านข้อมูลดังกล่าว ให้กับผู้ตอบข้อมูลรับทราบและยืนยันหรือแก้ไขหากไม่ถูกต้อง และเพื่อเก็บข้อมูลแล้วเสร็จในแต่ละเขต ปฏิบัติงานระบบจะประมวลข้อมูลสำคัญในภาพรวมของเขตปฏิบัติงานเพื่อให้พนักงานแจงนับ เจ้าหน้าที่วิชาการ และผู้ประสานงานในพื้นที่ร่วมกันตรวจสอบและยืนยันข้อมูล
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy MTA3NzA0Nw==