สำมะโนการเกษตร พ.ศ. 2566 ภาคใต้

8 2) การตรวจสอบคุณภาพข้อมูล ( Quality Control: QC) ในขั้นการเก็บรวบรวมข้อมูล กำหนดให้มีการตรวจสอบคุณภาพข้อมูล โดยให้เจ้าหน้าที่ วิชาการสังเกตการณ์การปฏิบัติงานสนามของพนักงานแจงนับพร้อมบันทึกข้อมูลผลในแบบตรวจสอบ คุณภาพ โดยเจ้ าหน้ าที่ วิ ชาการ 1 คน สั งเกตการณ์พนั กงานแจงนับ 6 คน พนั กงานแจงนับ แต่ละคนทำการสัมภาษณ์ผู้ถือครองทำการเกษตร 5 ราย โดยให้สังเกตการณ์ในการถามข้อถามทุกตอน และทุกข้อคำถาม ซึ่งภาคใต้ มีผลการตรวจสอบคุณภาพข้อมูลขั้นการเก็บรวบรวมข้อมูล 9. 9 คะแนน ดังนี้ จังหวัดนครศรีธรรมราช 10.0 คะแนน จังหวัดกระบี่ 9.9 คะแนน จังหวัดพังงา 9.9 คะแนน จังหวัดภูเก็ต 9.2 คะแนน จังหวัดสุราษฎร์ธานี 9.9 คะแนน จังหวัดระนอง 9.8 คะแนน จังหวัดชุมพร 10.0 คะแนน จังหวัดสงขลา 9.9 คะแนน จังหวัดสตูล 9.8 คะแนน จังหวัดตรัง 9.8 คะแนน จังหวัดพัทลุง 10.0 คะแนน จังหวัดปัตตานี 9.9 คะแนน จังหวัดยะลา 10.0 คะแนน จังหวัดนราธิวาส 9.6 คะแนน 3) การสำรวจภายหลังการแจงนับ ( Post Enumeration Survey: PES) กำหนดให้มีการปฏิบัติงานภายหลังจากการเก็บรวบรวมข้อมูลสำมะโนการเกษตร เสร็จสิ้นแล้ว โดยใช้พนักงานแจงนับไม่ซ้ำกับพนักงานเก็บรวบรวมข้อมูล และนำข้อมูลที่ได้จากการทำ สำมะโนการเกษตร และการทำ PES มาสอบเทียบ ( Matching) กัน เพื่อวิเคราะห์หาความคลาดเคลื่อน และสรุปผลการปฏิบัติงานเก็บรวบรวมข้อมูลว่ามีความสมบูรณ์มากน้อยเพียงใด ซึ่งพิจารณาได้จาก ความคลาดเคลื่อนของข้อมูล 9 . การประมวลผล ภายหลังการปฏิบัติงานสนามเสร็จสิ้น สำนักงานสถิติแห่งชาติส่วนกลาง ดำเนินการประมวลผล ข้อมูล โดยเริ่มจากการทำความสะอาดข้อมูล/การแก้ไขข้อมูล ด้วยการทำบรรณาธิกรด้วยเครื่องจักร ( Machine edit) ดังนี้ 1) การตรวจสอบความถูกต้องตามโครงสร้างข้อมูล ( Structure check ) 2) การตรวจสอบความถูกต้องของการบันทึกรหัสข้อมูล ( Possible code check ) 3) การตรวจสอบความแนบนัยของข้อมูล ( Consistency check ) รวมทั้งการแทนค่า ข้อมูลที่สูญหาย หลังจากนั้น เป็นการประมวลผลในรูปตารางสถิติตามที่กำหนด โดยมีการเดินตาราง ( Tabulation ) และตรวจสอบความสมเหตุสมผลของข้อมูล โดยเริ่มจากตารางระดับจังหวัด ภาค และทั่วราชอาณาจักร

RkJQdWJsaXNoZXIy MTA3NzA0Nw==