สำมะโนธุรกิจและอุตสาหกรรม พ.ศ.2565 ธุรกิจทางการค้าและธุรกิจทางการบริการ จังหวัดเชียงราย

38 • มูลค่าเพิ่ม เมื่อพิจารณามูลค่าเพิ่มในการดำเนินงาน พบว่า สถานประกอบการมีมูลค่าเพิ่มในการ ดำเนินงานรวมทั้งสิ้น 37 , 607.9 ล้านบาท โดยหากพิจารณามูลค่าเพิ่มตามขนาดของสถานประกอบการ จะเห็นว่า สถานประกอบการที่ มีขนาดคนทำงาน 1 – 5 คน มีสัดส่วนของมูลค่าเพิ่ มสูงสุด คิดเป็น ร้อยละ 46.3 รองลงมาเป็นสถานประกอบการที่มีขนาดคนทำงาน 6 – 15 คน มีสัดส่วนของมูลค่าเพิ่ม ร้อยละ 30.6 ในขณะที่สถานประกอบการที่มีขนาดคนทำงาน 26 – 30 คน มีสัดส่วนของมูลค่าเพิ่มต่ำสุดคือ ร้อยละ 1.5 (ตาราง ง) เมื่อพิจารณามูลค่าเพิ่มตามหมวดย่อยธุรกิจ พบว่า สถานประกอบการหมวดการขายปลีก (ยกเว้นยานยนต์และจักรยานยนต์) มีสัดส่วนของมูลค่าเพิ่ มสูงสุด คิดเป็นร้อยละ 32. 0 รองลงมาคือ สถานประกอบการหมวดการขายส่ง (ยกเว้นยานยนต์และจักรยานยนต์) มีสัดส่วนของมูลค่าเพิ่ม ร้อยละ 27.1 สำหรับสถานประกอบการหมวดการขายส่งและการขายปลีก การซ่อมยานยนต์และจักรยานยนต์ มีสัดส่วนของ มูลค่าเพิ่ม ร้อยละ 20.2 ในขณะที่สถานประกอบการในหมวดย่อยธุรกิจอื่น ๆ มีสัดส่วนของมูลค่าเพิ่มไม่เกิน ร้อยละ 9.8 (ตาราง ง) • มูลค่าเพิ่มต่อรายได้จากการดำเนินงาน เมื่อพิจารณามูลค่าเพิ่มต่อรายได้จากการดำเนินงาน พบว่า สถานประกอบการในจังหวัด เชียงรายมีมูลค่าเพิ่มต่อรายได้จากการดำเนินงาน ร้อยละ 20.1 โดยเปรียบเทียบมูลค่าเพิ่มต่อรายได้ จากการดำเนินงานตามขนาดของสถานประกอบการ จะเห็นว่า สถานประกอบการที่มีขนาดคนทำงาน 1 – 5 คน มีสัดส่วนของมูลค่าเพิ่มต่อรายได้จากการดำเนินงานสูงสุด คิดเป็นร้อยละ 25.5 ในขณะที่สถานประกอบการที่ มีขนาดคนทำงานมากกว่า 200 คน มีสัดส่วนของมูลค่าเพิ่มต่อรายได้จากการดำเนินงานต่ำสุด คิดเป็น ร้อยละ 7.4 และเมื่ อเปรียบเทียบมูลค่าเพิ่ มต่อรายได้จากการดำเนินงานตามหมวดย่อยธุรกิจ พบว่า สถานประกอบการหมวดกิจกรรมการจ้างงาน มีสัดส่วนของมูลค่าเพิ่มต่อรายได้จากการดำเนินงานสูงสุด คิดเป็นร้อยละ 79.6 ในขณะที่สถานประกอบการหมวดการผลิตภาพยนตร์ วีดิทัศน์ และรายการโทรทัศน์ การบันทึกเสียงลงบนสื่อ และการจัดพิมพ์จำหน่ายหรือเผยแพร่ดนตรี มีสัดส่วนของมูลค่าเพิ่มต่อรายได้จาก การดำเนินงานต่ำสุด คิดเป็นร้อยละ 9.8 (ตาราง ง)

RkJQdWJsaXNoZXIy MTA3NzA0Nw==