สำมะโนธุรกิจและอุตสาหกรรม พ.ศ. 2565 ธุรกิจทางการค้าและธุรกิจทางการบริการ: จังหวัดชลบุรี

35 บทที � 3 ผลการสามะโน หากพิจารณาตามหมวดย่อยธุรกิจ พบว่า สถานประกอบที่ดำเนินธุรกิจการขายปลีก (ยกเว้น ยานยนต์และจักรยานยนต์) มีค่าใช้จ่ายขั้นกลางสูงที่สุดประมาณ 92 , 779.9 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 3 5 . 0 รองลงมาสถานประกอบการที่ดำเนินธุรกิจการขายส่ง (ยกเว้นยานยนต์และจักรยานยนต์) มีค่าใช้จ่ายขั้นกลาง ประมาณ 82,336.2 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 31 .0 ส่วนสถานประกอบการที่ดำเนินธุรกิจการขายส่งและ การขายปลีก การซ่อมยานยนต์และจักรยานยนต์ มีค่าใช้จ่ายขั้ นกลางประมาณ 40,422.5 ล้านบาท และสถานประกอบการที่ดำเนินธุรกิจกิจกรรมอสังหาริมทรัพย์ มีค่าใช้จ่ายขั้นกลางประมาณ 24,468 . 6 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 15. 2 และ 9 .2 ตามลำดับ สำหรับสถานประกอบการที่ดำเนินธุรกิจหมวดย่อยธุรกิจอื่น ๆ นอกเหนือจากที่กล่าวข้างต้น แต่ละหมวดย่อยธุรกิจมีสัดส่วนค่าใช้จ่ายขั้นกลางต่ำกว่าร้อยละ 10.2 (ตาราง ง) • มูลค่าเพิ่ม เมื่อพิจารณามูลค่าเพิ่มในจังหวัดชลบุรี พบว่า มีมูลค่าเพิ่ม รวมทั้งสิ้นประมาณ 63,808.5 ล้านบาท หากพิจารณาตามขนาดของสถานประกอบการ พบว่า โดยส่วนใหญ่สถานประกอบการที่มีคนทำงาน 1 – 5 คน มีมูลค่าเพิ่มสูงที่สุดประมาณ 26 , 231.2 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 41.6 รองลงมาเป็นสถานประกอบการ ที่มีคนทำงาน 6 – 10 คน มีมูลค่าเพิ่มประมาณ 10,083 . 9 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 16.0 ส่วนสถานประกอบการ ที่มีคนทำงาน 51 – 2 00 คน มีมูลค่าเพิ่มประมาณ 6,285 . 4 ล้านบาท และสถานประกอบการที่มีคนทำงาน 16 - 25 คน มีมูลค่าเพิ่มประมาณ 5,156.6 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 9 . 9 และ 8. 2 ตามลำดับ สำหรับมูลค่าเพิ่ม ในขนาดของสถานประกอบการอื่น ๆ นอกเหนือจากที่กล่าวข้างต้น แต่ละขนาดของสถานประกอบการ มีสัดส่วนมูลค่าเพิ่มต่ำกว่าร้อยละ 8. 2 หากพิจารณาตามหมวดย่อยธุรกิจ พบว่า สถานประกอบที่ ดำเนินธุรกิจการขายปลีก (ยกเว้นยานยนต์และจักรยานยนต์) มีมูลค่าเพิ่มสูงที่สุดประมาณ 16 , 115.2 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 25.5 รองลงมาสถานประกอบการที่ดำเนินธุรกิจการขายส่ง (ยกเว้นยานยนต์และจักรยานยนต์) มีมูลค่าเพิ่มประมาณ 12 ,239.5 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 19.4 ส่วนสถานประกอบการที่ดำเนินธุรกิจกิจกรรมอสังหาริมทรัพย์ มีมูลค่าเพิ่มประมาณ 9,296.8 ล้านบาท และสถานประกอบการที่ดำเนินธุรกิจการขายส่งและการขายปลีก การซ่อมยานยนต์และจักรยานยนต์ มีมูลค่าเพิ่มประมาณ 9 , 099.3 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 15.0 และ 14.4 ตามลำดับ สำหรับสถานประกอบการที่ดำเนินธุรกิจหมวดย่อยธุรกิจอื่น ๆ นอกเหนือจากที่กล่าวข้างต้น แต่ละหมวดย่อยธุรกิจมีสัดส่วนมูลค่าเพิ่มต่ำกว่าร้อยละ 14.4 (ตาราง ง)

RkJQdWJsaXNoZXIy MTA3NzA0Nw==