สำมะโนธุรกิจและอุตสาหกรรม พ.ศ. 2565 ธุรกิจทางการค้าและธุรกิจทางการบริการ: จังหวัดกระบี่

เมื่อพิจารณาจากหมวดย่อยธุรกิจ พบว่า ธุรกิจที่มีค่าใช้จ่ายขั้นกลางมากที่สุด คือ การขายปลีก (ยกเว้นยานยนต์และจักรยานยนต์) ประมาณ 16,244,447.9 พันบาท (ร้อยละ 38.4) รองลงมา คือ การขายส่ง (ยกเว้นยานยนต์และจักรยานยนต์) ประมาณ 12,894,116.0 พันบาท (ร้อยละ 30.5) การ ขายส่งและการขายปลีก การซ่อมยานยนต์และจักรยานยนต์ประมาณ 8,496,845.5 พันบาท (ร้อยละ 20.1) ที่พักแรมประมาณ 2,114,073.8 พันบาท (ร้อยละ 5.0) และการบริการอาหารและเครื่องดื่มประมาณ 1,755,909.8 พันบาท (ร้อยละ 4.2) ตามลำดับ นอกเหนือจากนี้ ยังมีธุรกิจอื่นๆ ซึ่งมีสัดส่วนรวมกันไม่เกิน ร้อยละ 1.9 ได้แก่ กิจกรรมบริการส่วนบุคคลอื่นๆ , การบริการรักษาความปลอดภัยและการสืบสวน , การ บริการด้านการบริหารและสนับสนุนการดำเนินงานของสำนักงาน และกิจกรรมอื่นๆ ที่สนับสนุนทางธุรกิจ , กิจกรรมอสังหาริมทรัพย์ , การซ่อมคอมพิวเตอร์และของใช้ส่วนบุคคลและของใช้ในครัวเรือน , กิจกรรมการ ให้เช่า , กิจกรรมด้านการกีฬา ความบันเทิง และการนันทนาการ , กิจกรรมของตัวแทนธุรกิจท่องเที่ยว การ จัดนำเที่ยว การบริการสำรอง และกิจกรรมที่เกี่ยวข้อง , การโฆษณาและการวิจัยตลาด , กิจกรรมการบริการ สำหรับอาคารและภูมิทัศน์ , กิจกรรมทางกฎหมายและการบัญชี , กิจกรรมทางวิชาชีพ วิทยาศาสตร์ และ เทคนิคอื่นๆ , กิจกรรมด้านสถาปัตยกรรมและวิศวกรรม รวมถึงการทดสอบและการวิเคราะห์ทางเทคนิค , กิจกรรมการจ้างงาน , การผลิตภาพยนตร์ วีดิทัศน์ และรายการโทรทัศน์ การบันทึกเสียงลงบนสื่อ และ การจัดพิมพ์จำหน่ายหรือเผยแพร่ดนตรี , การจัดผังรายการและการแพร่ภาพกระจายเสียง , กิจกรรม การสร้างสรรค์ศิลปะและความบันเทิง , กิจกรรมการพนันและการเสี่ยงโชค และกิจกรรมของสำนักงานใหญ่ และการบริการให้คำปรึกษาด้านการบริหารจัดการ เป็นต้น • มูลค่าเพิ่ม เมื่อพิจารณามูลค่าเพิ่มจากการดำเนินงานในจังหวัดกระบี่ พบว่า มีมูลค่าเพิ่มรวมทั้งสิ้น 14 , 145 , 938.6 พันบาท โดยเมื่อพิจารณาจากขนาดของสถานประกอบการ (จำนวนคนทำงาน) พบว่า สถาน- ประกอบการที่มีจำนวนคนทำงาน 1 – 5 คน มีมูลค่าเพิ่มจากการดำเนินงานมากที่สุดประมาณ 6,422,512.4 พันบาท (ร้อยละ 45.4) และสถานประกอบการที่มีจำนวนคนทำงานมากกว่า 200 คน มีมูลค่าเพิ่มจาก การดำเนินงานน้อยที่สุด จำนวน 230,351.1 พันบาท (ร้อยละ 1.6) เมื่อพิจารณาจากหมวดย่อยธุรกิจ พบว่า ธุรกิจที่มีมูลค่าเพิ่มจากการดำเนินงานมากที่สุด คือ การขายปลีก (ยกเว้นยานยนต์และจักรยานยนต์) ซึ่งมีมูลค่าเพิ่มจากการดำเนินงานประมาณ 5,439,923.3 พันบาท (ร้อยละ 38.5) รองลงมา คือ ธุรกิจการขายส่ง (ยกเว้นยานยนต์และจักรยานยนต์) ซึ่งมีมูลค่าเพิ่ม จากการดำเนินงานประมาณ 3,277,851.0 พันบาท (ร้อยละ 23.2) การขายส่งและการขายปลีก การซ่อม ยานยนต์และจักรยานยนต์ ซึ่งมีมูลค่าเพิ่มจากการดำเนินงานประมาณ 1,847,114.4 พันบาท (ร้อยละ 13.1) ที่พักแรม ซึ่งมีมูลค่าเพิ่มจากการดำเนินงานประมาณ 1,648,730.8 พันบาท (ร้อยละ 11.7) และการบริการ อาหารและเครื่องดื่ม ซึ่งมีมูลค่าเพิ่มจากการดำเนินงานประมาณ 980,839.0 พันบาท (ร้อยละ 6.9) ตามลำดับ นอกเหนือจากนี้ ยังมีธุรกิจอื่นๆ ซึ่งมีสัดส่วนรวมกันไม่เกินร้อยละ 6.7 ได้แก่ กิจกรรมบริการส่วนบุคคลอื่นๆ , กิจกรรมด้านการกีฬา ความบันเทิง และการนันทนาการ , กิจกรรมอสังหาริมทรัพย์ , การบริการด้าน การบริหารและสนับสนุนการดำเนินงาน ของสำนักงาน และกิจกรรมอื่นๆ ที่สนับสนุนทางธุรกิจ , การซ่อม

RkJQdWJsaXNoZXIy MTA3NzA0Nw==