สำมะโนธุรกิจและอุตสาหกรรม พ.ศ. 2565 ธุรกิจทางการค้าและธุรกิจทางการบริการ: จังหวัดกระบี่

3.3. 3 การฟื้นตัวของสถานประกอบการโดยเปรียบเทียบสัดส่วนรายรับในปี 2565 กับรายรับในปี 2562 (ปีก่อนเกิดสถานการณ์โควิด 19) เมื่อพิจารณาการฟื้นตัวของสถานประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด 19 โดย เปรียบเทียบสัดส่วนรายรับในปี 2565 กับรายรับในปี 2562 (ปีก่อนเกิดสถานการณ์โ ควิด 19) พบว่า สถานประกอบการในจังหวัดกระบี่ส่วนใหญ่ยังไม่ฟื้นตัวโดยมีลักษณะยังหดตัวมากร้อยละ 40.0 รองลงมา มีลักษณะทรงตัวร้อยละ 29.2 ยังคงหดตัวร้อยละ 17.6 เริ่มฟื้นหรือขยายตัวบ้างแล้วร้อยละ 12.9 และ ขยายตัวได้ดีร้อยละ 0.3 ตามลำดับ ทั้งนี้ พบว่า อุปสรรคที่ทำให้สถานประกอบการไม่สามารถฟื้นตัวที่สำคัญที่สุด คือ กำลังซื้อยังคง อ่อนแอร้อยละ 83.4 รองลงมาเนื่องจากพฤติกรรมของผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงร้อยละ 47.5 มาตรการภาครัฐ ร้อยละ 39.1 การขนส่ง/การเดินทางยังไม่กลับสู่ระดับปกติร้อยละ 7.8 ขาดแคลนแรงงานร้อยละ 0.7 และ ลูกค้ามีการสั่งซื้อจากประเทศอื่น ๆ ร้อยละ 0.2 ตามลำดับ ยังคงหดตัว 17.6 % ยังหดตัวมาก 40.0% 83.4% 47.5% 39.1% 7.8% 0.7% 0.2% พฤติกรรมของผู้บริโภคเปลี่ยนแปลง มาตรการภาครัฐ การขนส่ง/การเดินทางยังไม่กลับสู่ระดับปกติ ขาดแคลนแรงงาน ลูกค้ามีการสั่งซื้อจากประเทศอื่น ๆ กำลังซื้อยังคงอ่อนแอ ภาพที่ 2 ร้อยละของสถานประกอบการจำแนกตามการฟื้นตัวของสถานประกอบการโดยเปรียบเทียบสัดส่วน รายรับในปี 2565 กับรายรับในปี 2562 เริ่มฟื้นหรือขยายตัว บ้างแล้ว 12.9% ขยายตัวได้ดี 0.3% อยู่ในระดับทรงตัว 29.2%

RkJQdWJsaXNoZXIy MTA3NzA0Nw==