สำมะโนธุรกิจและอุตสาหกรรม พ.ศ. 2565 อุตสาหกรรมการผลิต จังหวัดนครปฐม
สามะโนธุรกิจและอุตสาหกรรม พ.ศ. 2565 : อุตสาหกรรมการผลิต 2.3.2 การจาแนกประเภทอุตสาหกรรมการผลิต ในการจัดทำสำมะโนธุรกิจและอุตสาหกรรม พ.ศ. 2565 ได้จำแนกประเภทอุตสาหกรรมการผลิตที่จัดอยู่ในประเภท D E และ J เฉพาะหมวดย่อย 58 การจัดจำแนกโครงสร้างประเภทอุตสาหกรรมการผลิต เป็นดังนี้ หมวดย่อยอุตสาหกรรม ได้แก่ กลุ่มอุตสาหกรรม ซึ่งแบ่งเป็นกลุ่มย่อยจากหมวดใหญ่ และใช้ แทนด้วยเลขรหัส 2 ตัวแรก ตั้งแต่รหัส 10-33 37-39 และ 58 รวม 28 หมวดย่อย หมู่ใหญ่อุตสาหกรรม ได้แก่ กลุ่มอุตสาหกรรม ซึ่งแบ่งเป็นกลุ่มย่อยจากหมวดย่อยอุตสาหกรรม และใช้แทนด้วยเลขรหัส 3 ตัวแรก ตั้งแต่รหัส 101-332 370-390 และ 581-582 รวม 78 หมู่ใหญ่ หมู่ย่อยอุตสาหกรรม ได้แก่ กลุ่มอุตสาหกรรม ซึ่งแบ่งเป็นกลุ่มย่อยจากหมู่ใหญ่อุตสาหกรรม และใช้แทนด้วยเลขรหัส 4 ตัวแรก ตั้งแต่รหัส 1011-3320 3700-3900 และ 5811-5820 รวม 164 หมู่ย่อย กิจกรรมอุตสาหกรรม ได้แก่ กลุ่มอุตสาหกรรมที่ย่อยที่สุด และใช้แทนด้วยเลขรหัส 5 ตัวแรก ตั้งแต่รหัส 10111-33200 37000-39000 และ 58111-58203 รวม 409 กิจกรรม 2.3.3 รูปแบบการจัดตั้งตามกฎหมาย จำแนกออกเป็น 10 ประเภท ได้แก่ 1) ส่วนบุคคล ห้างหุ้นส่วนสามัญที่ไม่เป็นนิติบุคคล (หสม.) หมายถึง สถานประกอบการที่มี เจ้าของเป็นบุคคลธรรมดาคนเดียวหรือหลายคนรวมกัน และให้หมายรวมถึงห้างหุ้นส่วนสามัญที่ไม่จดทะเบียน เป็นนิติบุคคลด้วย 2) ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล (หสน.) ห้างหุ้นส่วนจากัด (หจก.) หมายถึง สถานประกอบการ ที่จัดตั้งขึ้นโดยมีบุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป รวมทุนกันเพื่อประกอบการผลิตและมีความรับผิดชอบร่วมกัน โดยจดทะเบียนถูกต้องตามกฎหมาย 3) บริษัทจ ากัด บริษัทจ ากัด (มหาชน) - บริษัทจ ากัด (บจก.) หมายถึง สถานประกอบการที่จัดตั้งขึ้นโดยผู้ริเริ่มคณะหนึ่ง และได้ จดทะเบียนถูกต้องตามกฎหมาย โดยมีผู้เริ่มดำเนินการอย่างน้อย 3 คนขึ้นไป - บริษัทจ ากัด (มหาชน) (บมจ.) หมายถึง สถานประกอบการที่จัดตั้งขึ้นโดยการจดทะเบียน จัดตั้งบริษัท การควบบริษัท หรือการแปรสภาพบริษัท และวัตถุประสงค์ที่จะขายหุ้นต่อประชาชน โดยมีผู้ริเริ่ม ดำเนินการตั้งแต่ 15 คนขึ้นไป 4) ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หมายถึง สถานประกอบการที่รัฐบาลเป็นเจ้าของ หรือมีทุนอยู่ด้วย ไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ของทุนทั้งหมด ในที่นี้ให้หมายรวมถึงสถานประกอบการที่ดำเนินการโดยรัฐบาลด้วย 5) สหกรณ์ หมายถึง สถานประกอบการที่จัดตั้งขึ้นในรูปของสหกรณ์ โดยจดทะเบียนถูกต้อง ตามกฎหมายว่าด้วยสหกรณ์ โดยมีผู้ก่อตั้งไม่น้อยกว่า 10 คน 6) การรวมกลุ่ม หมายถึง กลุ่มที่เกิดจากความต้องการของสมาชิกที่ มารวมกลุ่มกันขึ้นมา เพื่อตอบสนองความต้องการของสมาชิกได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีแนวคิดสร้างสรรค์กลุ่มเพื่อยกระดับความเป็นอยู่ ของสมาชิกให้ดียิ่งขึ้น ทั้งคุณภาพชีวิต สิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจและสังคม โดยใช้หลักการทำงานแบบมีส่วนร่วม คือ ร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมตัดสินใจ และร่วมพัฒนาสมาชิก
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy MTA3NzA0Nw==