สำมะโนธุรกิจและอุตสาหกรรม พ.ศ. 2565 อุตสาหกรรมการผลิต จังหวัดนครปฐม

เมื่อพิจารณาตามในแต่ละหมวดย่อยอุตสาหกรรม พบว่า อุตสาหกรรมการผลิตเครื่องดื่มมีมูลค่าผลผลิต และมูลค่าเพิ่มเฉลี่ยต่อสถานประกอบการมากที่สุด ประมาณ 325,206.9 พันบาท และ 95,780.2 พันบาท ตามลำดับ สำหรับอุตสาหกรรมการจัดการน้ำเสียมีมูลค่าผลผลิต และมูลค่าเพิ่มเฉลี่ยต่อสถานประกอบการน้อย ที่สุด คือ ประมาณ 4,875.6 พันบาท และ 2,539.8 พันบาท ตามลำดับ (ตาราง 3.5) 3.2.4 มูลค่ำผลผลิตและมูลค่ำเพิ่มเฉลี่ยต่อคนทำงำน ในด้านมูลค่าผลผลิตและมูลค่าเพิ่มเฉลี่ยต่อคนทำงาน พบว่า สถานประกอบการอุตสาหกรรมการผลิต มี มูลค่าผลผลิตเฉลี่ยต่อคนทำงานประมาณ 2,608.4 พันบาท และมูลค่าเพิ่มเฉลี่ยต่อคนทำงานคนทำงาน ประมาณ 790.5 พันบาท ตามลำดับ เมื่อพิจารณาตามขนาดของสถานประกอบการ พบว่า สถานประกอบการที่มีคนทำงานมากกว่า 200 คน มีมูลค่าผลผลิตเฉลี่ยต่อคนทำงานมากที่สุด ประมาณ 2,906.0 พันบาท รองลงมาคือ สถานประกอบการที่มี คนทำงาน 51 – 200 คน มูลค่าผลผลิตเฉลี่ยต่อคนทำงานประมาณ 2,903.2 พันบาท และสถานประกอบการที่ มีคนทำงาน 16 – 25 คน มูลค่าผลผลิตเฉลี่ยต่อคนทำงานประมาณ 2,197.3 พันบาท ตามลำดับ ส่วนสถาน ประกอบการที่มีคนทำงาน 51 – 200 คน มูลค่าเพิ่มเฉลี่ยต่อคนทำงานมากที่สุด ประมาณ 911.5 พันบาท รองลงมาคือ สถานประกอบการที่มีคนทำงานมากกว่า 200 คน มูลค่าเพิ่มเฉลี่ยต่อคนทำงานประมาณ 857.3 พันบาท และสถานประกอบการที่มีคนทำงาน 26 – 30 คน มูลค่าเพิ่มเฉลี่ยต่อคนทำงานประมาณ 675.9 พันบาท ในขณะสถานประกอบการที่มีคนทำงาน 1 – 5 คน มูลค่าผลผลิตเฉลี่ยต่อคนทำงาน และมูลค่าเพิ่มเฉลี่ยต่อ คนทำงานน้อยที่สุด ประมาณ 524.2 พันบาท และ 177.3 พันบาท ตามลำดับ เมื่อพิจารณาตามหมวดย่อยอุตสาหกรรม พบว่า อุตสาหกรรมการผลิตเครื่องดื่มมีมูลค่าผลผลิต และ มูลค่าเพิ่มเฉลี่ยต่อคนทำงานมากที่สุด ประมาณ 5,960.8 พันบาท และ 1,755.6 พันบาท ตามลำดับ สำหรับ อุตสาหกรรมการจัดการน้ำเสีย มีมูลค่าผลผลิต และมูลค่าเพิ่มเฉลี่ยต่อคนทำงานน้อยที่สุด คือ ประมาณ 363.8 พันบาท และ 189.5 พันบาท ตามลำดับ (ตาราง 3.5) 26 สามะโนธุรกิจและอุตสาหกรรม พ.ศ. 2565 : อุตสาหกรรมการผลิต

RkJQdWJsaXNoZXIy MTA3NzA0Nw==