สำมะโนธุรกิจและอุตสาหกรรม พ.ศ. 2565 อุตสาหกรรมการผลิต จังหวัดนนทบุรี

บทที่ 2 ระเบียบวิธีสถิติ 9) วิสาหกิจชุมชน หมายถึง กิจการของชุมชนเกี่ยวกับการผลิตสินค้า การให้บริการ หรือการอื่น ๆ ที่ดำเนินการโดยคณะบุคคลที่มีความผูกพัน มีวิถีชีวิตร่วมกันและรวมตัวกันประกอบกิจการดังกล่าว ไม่ว่า จะเป็นนิติบุคคลในรูปแบบใดหรือไม่เป็นนิติบุคคล เพื่อสร้างรายได้และเพื่อการพึ่งพาตนเองของครอบครัว ชุมชน และระหว่างชุมชน 10) อื่น ๆ หมายถึง สถานประกอบการที่จัดตั้งในรูปแบบอื่น ๆ นอกจากที่กล่าวข้างต้น เช่น สโมสร ชมรมต่าง ๆ เป็นต้น 2.3.4 รูปแบบการจัดตั้งทางเศรษฐกิจ จำแนกออกเป็น 4 ประเภท ได้แก่ 1) สำนักงานแห่งเดียว หมายถึง สถานประกอบการที่ไม่มีหน่วยงานย่อยหรือสาขาอื่นใด และ ไม่เป็นหน่วยงานย่อยหรือสาขาของสถานประกอบการอื่น 2) สำนักงานใหญ่ หมายถึง สถานประกอบการที่ เป็นเจ้าของ และควบคุมกิจการของ สถานประกอบการอื่นที่เป็นสำนักงานสาขาหรือหน่วยงานย่อย 3) สำนักงานสาขา หมายถึ ง สถานประกอบการที่ เป็นสาขา หรื อหน่วยงานย่อยของ สถานประกอบการอื่นที่เป็นสำนักงานใหญ่ 4) อื่น ๆ หมายถึง สถานประกอบการที่จัดตั้งในรูปแบบอื่น ๆ นอกจากที่กล่าวข้างต้น เช่น แฟรนไชส์ 2.3.5 ทุนจดทะเบียน หรือทุนรับอนุญาต หมายถึง ทุนดำเนินการซึ่งผู้ริเริ่มก่อการได้ระบุไว้เมื่อ จดทะเบียนจัดตั้งเป็นนิติบุคคล หรือทุนที่ได้รับอนุญาตเมื่อขอจัดตั้งเป็นนิติบุคคล ทุนนี้ไม่ได้แสดงถึงเงินที่ได้รับ จากผู้ถือหุ้น แต่เป็นการแสดงถึงความประสงค์ของผู้เริ่มก่อการว่าจะมีทุนดำเนินการเป็นจำนวนเงินเท่าใด 2.3.6 อัตราการใช้กำลังการผลิต หมายถึง สัดส่วนระหว่างปริมาณผลผลิตจริงกับกำลังการผลิตสูงสุด ที่สามารถผลิตได้ในช่วงเวลาหนึ่ง คำนวณโดยปริมาณการผลิตจริงหารด้วยกำลังการผลิต 2.3.7 คนทำงาน หมายถึง คนที่ทำงานในสถานประกอบการทั้งที่ได้รับเงินเดือนและไม่ได้รับเงินเดือน ที่สถานประกอบการมีอยู่ตามปกติ รวมทั้งผู้ที่ปกติทำงานอยู่ในสถานประกอบการแห่งนี้ แต่ในวันดังกล่าว ไม่ได้มาทำงาน เนื่องจากเจ็บป่วย ลาหยุด พักผ่อน โดยได้รับค่าจ้าง/เงินเดือน คนทำงานประกอบด้วย 1) คนทำงานโดยไม่ได้รับค่าจ้างเงินเดือน หมายถึง เจ้าของกิจการหรือหุ้นส่วนที่ทำงานให้ สถานประกอบการ โดยไม่ได้รับค่าจ้าง เงินเดือน และผู้ที่อาศัยอยู่ในครัวเรือนของเจ้าของกิจการหรือหุ้นส่วน หรือบุคคลอื่นที่ทำงานให้กับสถานประกอบการอย่างน้อยสัปดาห์ละ 20 ชั่วโมง โดยไม่ได้รับค่าจ้าง เงินเดือน เป็นประจำ 2) ลูกจ้างในกรรมวิธีการผลิต หมายถึง ลูกจ้างทั้งหมดที่ทำงานเกี่ยวข้องโดยตรงกับการผลิต ในขั้นตอนต่าง ๆ หรือกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการผลิต โดยได้รับค่าจ้างเงินเดือน (1) ผู้ปฏิบัติงานมีฝีมือ หมายถึงผู้ที่ทำงานด้านการผลิตซึ่งเคยได้รับการฝึกฝนอบรม มาก่อนอย่างน้อย 3 เดือน หรือผู้มีประสบการณ์ในการทำงาน 5 ปีขึ้นไปในงานเฉพาะที่ทำอยู่ เช่น ชำนาญงาน ดูแลเครื่องจักร ผู้ผลิต หรือติดตั้งอุปกรณ์ ผู้เดินเครื่องจักร ผู้ประกอบชิ้นส่วนต่าง ๆ เป็นต้น (2) ผู้ปฏิบัติงานไม่มีฝีมือ หมายถึง ผู้ที่ทำงานด้านการผลิตที่ได้รับการฝึกงานก่อน ปฏิบัติงานน้อยกว่า 2 สัปดาห์ เช่น พนักงานทำความสะอาดเครื่องจักร 5

RkJQdWJsaXNoZXIy MTA3NzA0Nw==