สำมะโนธุรกิจและอุตสาหกรรม พ.ศ. 2565 อุตสาหกรรมการผลิต จังหวัดนนทบุรี

บทที่ 3 ผลการสำมะโน 3 .2 ข้อมูลสถิติที่สำคัญจำแนกตามขนาดของสถานประกอบการและหมวดย่อยอุตสาหกรรม 3 . 2 .1 คนทำงานและค่าตอบแทนแรงงาน 1) จำนวนคนทำงาน จำนวนคนทำงานในจังหวัดนนทบุรี แสดงให้เห็นว่าในปี 2564 มีคนทำงานในสถานประกอบการ อุตสาหกรรมการผลิตประมาณ 56,270 คน โดยส่วนใหญ่เป็นคนทำงานที่ปฏิบัติงานอยู่ในสถานประกอบการ ที่มีคนทำงานมากกว่า 200 คน ประมาณ 15,911 คน หรือ ร้อยละ 28.2 หากพิจารณาตามหมวดย่อยอุตสาหกรรมพบว่า เป็นคนทำงานที่ปฏิบัติงานอยู่ในอุตสาหกรรม การผลิตผลิตภัณฑ์อาหารประมาณ 7 , 017 คน หรือร้อยละ 12.4 รองลงมาปฏิบัติงานในอุตสาหกรรมการผลิต เฟอร์นิเจอร์ประมาณ 4 , 854 คน หรือร้อยละ 8.6 และปฏิบัติงานในอุตสาหกรรมการผลิตผลิตภัณฑ์โลหะ ประดิษฐ์ (ยกเว้นเครื่องจักรและอุปกรณ์) ประมาณ 4 , 246 คน หรือร้อยละ 7.5 สำหรับการประกอบ อุตสาหกรรมการผลิตในหมวดย่อยอื่นๆ นอกจากที่กล่าวข้างต้น แต่ละหมวดย่อยมีสัดส่วนของคนทำงานไม่เกิน ร้อยละ 7.2 ของคนทำงานทั้งสิ้น (ตาราง 3.3) 2) จำนวนลูกจ้าง ด้านการจ้างงานพบว่า มีจำนวนลูกจ้างปฏิบัติงานอยู่ ในสถานประกอบการทั้งสิ้นประมาณ 53,509 คน ส่วนใหญ่ปฏิบัติงานอยู่ในสถานประกอบการขนาดใหญ่ มีคนทำงานมากกว่า 200 คนขึ้นไป ประมาณ 15,911 คน หรือร้อยละ 29.7 เมื่ อจำแนกลูกจ้ างตามหมวดย่อยอุตสาหกรรม พบว่ าส่ วนใหญ่ร้ อยละ 12.4 ทำงานใน อุตสาหกรรมการผลิตผลิตภัณฑ์อาหาร รองลงมาอยู่ในการผลิตเฟอร์นิเจอร์ประมาณร้อยละ 8.6 และการผลิต ผลิตภัณฑ์ ยางและพลาสติก การผลิตเคมีภัณฑ์และผลิตภัณฑ์เคมี ร้อยละ 7.5 และร้อยละ 7.1 ตามลำดับ ในอุตสาหกรรมการผลิตหมวดย่อยอื่นๆ นอกเหนือจากที่กล่าวข้างต้น แต่ละหมวดย่อยมีสัดส่วนของลูกจ้าง ไม่เกินร้อยละ 7.0 (ตาราง 3.3) 3) ค่าตอบแทนแรงงาน ลูกจ้างปฏิบัติงานอยู่ในสถานประกอบการอุตสาหกรรมการผลิต ได้รับค่าตอบแทนแรงงานรวม ทั้งสิ้นประมาณ 10,422,614.2 บาท โดยลูกจ้างในสถานประกอบการที่มีคนทำงานมากกว่า 200 คน ได้รับ ค่ าตอบแทนแรงงานสู งที่ สุ ดประมาณ 3,601,128.5 บาท รองลงมาคื อลู กจ้ างที่ ปฏิบั ติ งานอยู่ ใน สถานประกอบการที่มีคนทำงาน 51 – 200 คน ได้รับค่าตอบแทนแรงงานประมาณ 2,719,879.1 บาท และ ลูกจ้างที่ ปฏิบัติ งานอยู่ ในสถานประกอบการที่ มีคนทำงาน 31 – 50 คน ได้รับค่าตอบแทนแรงงาน ประมาณ 1,117,812.2 บาท เมื่อพิจารณาตามหมวดย่อยอุตสาหกรรม พบว่าลูกจ้างในอุตสาหกรรมการผลิตผลิตภัณฑ์อาหาร ได้รับค่าตอบแทนแรงงานสูงที่สุด ประมาณ 1,315,898.9 บาท รองลงมาได้แก่ ลูกจ้างในอุตสาหกรรมการผลิต เฟอร์นิเจอร์ ประมาณ 956,477.1 บาท ในขณะที่ลูกจ้างในอุตสาหกรรมการผลิตถ่านโค้กและผลิตภัณฑ์ ที่ได้จากการกลั่นปิโตรเลียม ได้รับค่าตอบแทนแรงงานต่ำที่สุดประมาณ 24,158.1 บาท (ตาราง 3.3) 17

RkJQdWJsaXNoZXIy MTA3NzA0Nw==