สำมะโนธุรกิจและอุตสาหกรรม พ.ศ. 2565 อุตสาหกรรมการผลิต จังหวัดปทุมธานี
ส ามะโนธุรกิจและอุตสาหกรรม พ.ศ. 2565 : อุตสาหกรรมการผลิต 8 2.3.7 คนทำงาน หมายถึง คนที่ทำงานในสถานประกอบการทั้งที่ได้รับเงินเดือนและไม่ได้รับเงินเดือน ที่สถานประกอบการมีอยู่ตามปกติ รวมทั้งผู้ที่ปกติทำงานอยู่ในสถานประกอบการแห่งนี้ แต่ในวันดังกล่าว ไม่ได้มาทำงาน เนื่องจากเจ็บป่วย ลาหยุด พักผ่อน โดยได้รับค่าจ้าง/เงินเดือน คนทำงานประกอบด้วย 1) คนทำงานโดยไม่ได้รับค่าจ้างเงินเดือน หมายถึง เจ้าของกิจการหรือหุ้นส่วนที่ทำงานให้ สถานประกอบการ โดยไม่ได้รับค่าจ้าง เงินเดือน และผู้ที่อาศัยอยู่ในครัวเรือนของเจ้าของกิจการหรือหุ้นส่วน หรือบุคคลอื่นที่ทำงานให้กับสถานประกอบการอย่างน้อยสัปดาห์ละ 20 ชั่วโมง โดยไม่ได้รับค่าจ้าง เงินเดือน เป็นประจำ 2) ลูกจ้างในกรรมวิธีการผลิต หมายถึง ลูกจ้างทั้งหมดที่ทำงานเกี่ยวข้องโดยตรงกับการผลิต ในขั้นตอนต่าง ๆ หรือกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการผลิต โดยได้รับค่าจ้างเงินเดือน (1) ผู้ปฏิบัติงานมีฝีมือ หมายถึงผู้ที่ทำงานด้านการผลิตซึ่งเคยได้รับการฝึกฝนอบรม มาก่อนอย่างน้อย 3 เดือน หรือผู้มีประสบการณ์ในการทำงาน 5 ปีขึ้นไปในงานเฉพาะที่ทำอยู่ เช่น ชำนาญงาน ดูแลเครื่องจักร ผู้ผลิต หรือติดตั้งอุปกรณ์ ผู้เดินเครื่องจักร ผู้ประกอบชิ้นส่วนต่าง ๆ เป็นต้น (2) ผู้ปฏิบัติงานไม่มีฝีมือ หมายถึง ผู้ที่ทำงานด้านการผลิตที่ได้รับการฝึกงานก่อน ปฏิบัติงานน้อยกว่า 2 สัปดาห์ เช่น พนักงานทำความสะอาดเครื่องจักร 3) ลูกจ้างอื่น ๆ หมายถึง ลูกจ้างทั้งหมดนอกเหนือจากลูกจ้างในกรรมวิธีการผลิตรวมถึง ผู้ปฏิบัติงานนักบริหาร นักวิชาการ เสมียนพนักงาน เช่น ผู้จัดการ ผู้อำนวยการ และกรรมการบริหารที่ได้รับ ค่าจ้าง เงินเดือน ผู้ปฏิบัติงานในห้องทดลองและนักวิจัย พนักงานพิมพ์ดีด พนักงานบัญชี และพนักงานขาย เป็นต้น ไม่รวมคนทำงาน ดังต่อไปนี้ (1) ผู้บริหารหรือผู้ถือหุ้นที่ได้รับเบี้ยประชุมเป็นครั้งคราว (2) คนทำงานของสถานประกอบการอื่นที่มาปฏิบัติงานประจำที่สถานประกอบการแห่งนี้ (3) คนทำงานที่รับงานไปทำที่บ้านแล้วนำมาส่งโดยไม่ได้ลงทุนซื้อวัสดุ อุปกรณ์ (หรือถ้ามี การใช้เครื่องมือส่วนตัวเล็กน้อยได้ เช่น มีด เข็ม ด้าย เป็นต้น) (4) คนงานที่ลางานเป็นระยะเวลานาน เช่น ลาไปรับราชการทหาร (5) คนที่สถานประกอบการจ้างมาทำงานเฉพาะอย่างเป็นครั้งคราว เช่น กรรมกรที่จ้างมา ขนของ พนักงานเดินตลาดหรือตัวแทนขายที่ไม่มีเงินเดือนประจำ (6) ลูกจ้างเช่าหรือแรงงานเช่า หมายถึง ลูกจ้างเฉพาะหรืออยู่ในกระบวนการผลิตที่ส่งตัว จากสำนักจัดหางานหรือองค์กรที่ คล้ายคลึงกัน ให้แก่สถานประกอบการในอุตสาหกรรมการผลิต สำนักจัดหางาน ดังกล่าวไม่มีหน้าที่บังคับบัญชาลูกจ้างซึ่งอยู่ภายใต้การควบคุม (การสั่งการหรือการบังคับบัญชา) ของลูกค้า ของสำนักจัดหางาน ลูกจ้างเช่านี้จะมีชื่อในบัญชีเงินเดือนของสำนักจัดหางาน ไม่ใช่ของสถานประกอบการ ข้อมูลเกี่ยวกับแรงงานเช่า จะเป็นประโยชน์สำหรับการวิเคราะห์ผลิตภาพแรงงานของหน่วยอุตสาหกรรมที่ทำ การผลิต ซึ่งมีการป้อนแรงงานเช่าเป็นวัตถุดิบในการผลิตที่แท้จริง แรงงานต่อไปนี้ไม่จัดอยู่ในหมวดแรงงานเช่า
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy MTA3NzA0Nw==