สำมะโนธุรกิจและอุตสาหกรรม พ.ศ. 2565 อุตสาหกรรมการผลิต จังหวัดสมุทรปราการ

สำมะโนธุรกิจและอุตสาหกรรม พ.ศ. 2565 : อุตสาหกรรมการผลิต 6 3) ลูกจ้างอื่นๆ หมายถึง ลูกจ้างทั้งหมดนอกเหนือจากลูกจ้างในกรรมวิธีการผลิตรวมถึง ผู้ปฏิบัติงานนักบริหาร นักวิชาการ เสมียนพนักงาน เช่น ผู้จัดการ ผู้อำนวยการ และกรรมการบริหารที่ได้รับ ค่าจ้าง เงินเดือน ผู้ปฏิบัติงานในห้องทดลองและนักวิจัย พนักงานพิมพ์ดีด พนักงานบัญชี และพนักงานขาย เป็นต้น ไม่รวมคนทำงาน ดังต่อไปนี้ (1) ผู้บริหารหรือผู้ถือหุ้นที่ได้รับเบี้ยประชุมเป็นครั้งคราว (2) คนทำงานของสถานประกอบการอื่นที่มาปฏิบัติงานประจำที่สถานประกอบการแห่งนี้ (3) คนทำงานที่รับงานไปทำที่บ้านแล้วนำมาส่งโดยไม่ได้ลงทุนซื้อวัสดุ อุปกรณ์ (หรือถ้ามี การใช้เครื่องมือส่วนตัวเล็กน้อยได้ เช่น มีด เข็ม ด้าย เป็นต้น) (4) คนงานที่ลางานเป็นระยะเวลานาน เช่น ลาไปรับราชการทหาร (5) คนที่สถานประกอบการจ้างมาทำงานเฉพาะอย่างเป็นครั้งคราว เช่น กรรมกรที่จ้างมา ขนของ พนักงานเดินตลาดหรือตัวแทนขายที่ไม่มีเงินเดือนประจำ (6) ลูกจ้างเช่าหรือแรงงานเช่า หมายถึง ลูกจ้างเฉพาะหรืออยู่ในกระบวนการผลิตที่ส่งตัว จากสำนักจัดหางานหรือองค์กรที่ คล้ายคลึงกัน ให้แก่สถานประกอบการในอุตสาหกรรมการผลิต สำนักจัดหางาน ดังกล่าวไม่มีหน้าที่บังคับบัญชาลูกจ้างซึ่งอยู่ภายใต้การควบคุม (การสั่งการหรือการบังคับบัญชา) ของลูกค้า ของสำนักจัดหางาน ลูกจ้างเช่านี้จะมีชื่อในบัญชีเงินเดือนของสำนักจัดหางาน ไม่ใช่ของสถานประกอบการ ข้อมูลเกี่ยวกับแรงงานเช่า จะเป็นประโยชน์สำหรับการวิเคราะห์ผลิตภาพแรงงานของหน่วยอุตสาหกรรมที่ทำ การผลิต ซึ่งมีการป้อนแรงงานเช่าเป็นวัตถุดิบในการผลิตที่แท้จริง แรงงานต่อไปนี้ไม่จัดอยู่ในหมวดแรงงานเช่า - เจ้าหน้าที่ชั่วคราวที่ได้รับจากบริการจัดหาเจ้าหน้าที่ - ผู้รับเหมา ผู้รับเหมาช่วงหรือผู้รับเหมาอิสระ - บริการที่อยู่ใต้การบริหารจัดการ เช่น แม่บ้าน พนักงานรักษาความปลอดภัย บริการ ปรับปรุงภูมิทัศน์ - บริการวิชาชีพหรือบริการด้านเทคนิคที่ซื้อหามาจากกิจการอื่น เช่น บริการที่ปรึกษา ด้านซอฟแวร์ การจัดทำโปรแกรมคอมพิวเตอร์ บริการด้านวิศวกรรมหรือบริการด้านบัญชี 2.3.8 ค่าตอบแทนแรงงาน 1) ค่าจ้าง เงินเดือน หมายถึง เงินที่นายจ้างหรือสถานประกอบการจ่ายให้ลูกจ้างระหว่าง เดือนมกราคม - เดือนธันวาคม 2564 (ก่อนหักภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เงินสมทบกองทุนประกันสังคมในส่วน ที่ลูกจ้างต้องจ่าย ค่าประกันชีวิต และรายจ่ายอื่นๆ ของลูกจ้าง) ตามข้อตกลงการจ้างแรงงาน โดยอาจจ่ายตาม เงื่อนไขของระยะเวลา หรือจ่ายตามปริมาณงาน 2) ค่าล่วงเวลา โบนัส เงินรางวัลพิเศษ เงินเพิ่ มค่าครองชีพ ค่านายหน้า หมายถึง เงินนอกเหนือจากค่าจ้าง เงินเดือนที่สถานประกอบการจ่ายให้แก่ลูกจ้างเป็นค่าตอบแทนในการทำงาน 3) สวัสดิการและผลประโยชน์ตอบแทนอื่ นๆ หมายถึง ผลประโยชน์ตอบแทนแรงงาน ที่นายจ้างหรือสถานประกอบการจ่าย หรือบริการให้แก่ลูกจ้าง ได้แก่ ค่าตอบแทนแรงงานที่จ่ายเป็นสิ่งของหรือ ผลผลิต และสวัสดิการที่นายจ้างจัดหาหรือบริการลูกจ้าง เช่น อาหาร เครื่องดื่ม บ้านพักคนงาน ค่าเช่าบ้าน ค่าซ่อมแซมที่อยู่อาศัย ค่ารักษาพยาบาล บริการดูแลบุตร พาหนะรับส่งมาทำงาน บันเทิงหรือนันทนาการต่างๆ ที่จัดให้ลูกจ้าง เป็นต้น ทั้งนี้ไม่รวมเสื้อผ้า เครื่องแบบที่ใช้เฉพาะในการปฏิบัติงาน (ค่าเสื้อผ้า เครื่องแบบ ที่ใช้เฉพาะในการปฏิบัติงาน ถือเป็นค่าใช้จ่ายอื่นๆ ของสถานประกอบการ)

RkJQdWJsaXNoZXIy MTA3NzA0Nw==