สำมะโนธุรกิจและอุตสาหกรรม พ.ศ. 2565 อุตสาหกรรมการผลิต จังหวัดสมุทรปราการ

บทที่ 3 ผลการสำมะโน 17 3 .2 ข้อมูลสถิติที่สำคัญจำแนกตามขนาดของสถานประกอบการและหมวดย่อยอุตสาหกรรม 3 . 2 .1 คนทำงานและค่าตอบแทนแรงงาน 1) จำนวนคนทำงาน สำหรับคนทำงานในสถานประกอบการอุตสาหกรรมการผลิตที่ตั้งอยู่ในจังหวัดสมุทรปราการ ประมาณ 532 , 967 คน โดยส่วนใหญ่เป็นคนทำงานที่ปฏิบัติงานอยู่ในสถานประกอบการที่มีคนทำงานมากกว่า 200 คน ประมาณ 271 , 194 คนหรือร้อยละ 50.9 (ตาราง 3.3 ) หากพิจารณาตามหมวดย่อยอุตสาหกรรม พบว่า เป็นคนทำงาน ที่ปฏิบัติงานอยู่ในอุตสาหกรรม การผลิตผลิตภัณฑ์โลหะประดิษฐ์ (ยกเว้นเครื่องจักรและอุปกรณ์) ประมาณ 69 , 909 คน หรือร้อยละ 13.1 รองลงมาปฏิบัติงานในอุตสาหกรรมการผลิตผลิตภัณฑ์อาหาร และการผลิตยานยนต์ รถพ่วง และรถกึ่งพ่วง ประมาณร้อยละ 1 2 .3 และ 11.0 ตามลำดับ สำหรับการประกอบอุตสาหกรรมการผลิตในหมวดย่อยอื่นๆ นอกจากที่กล่าวข้างต้น แต่ละหมวดย่อยมีสัดส่วนของคนทำงานไม่เกินร้อยละ 10 . 1 ของคนทำงานทั้งสิ้น (ตาราง 3.3) 2) จำนวนลูกจ้าง ด้านการจ้างงาน พบว่า มีจำนวนลูกจ้างปฏิบัติงานอยู่ในสถานประกอบการประมาณ 528 , 806 คน ส่วนใหญ่ปฏิบัติงานอยู่ในสถานประกอบการ ที่มีคนทำงานมากกว่า 200 คน ประมาณ 271 , 194 คนหรือ ร้อยละ 51.3 เช่นเดียวกับคนทำงาน เมื่อจำแนกลูกจ้างตามหมวดย่อยอุตสาหกรรม พบว่า ร้อยละ 12. 9 ทำงานในอุตสาหกรรม การผลิตผลิตภัณฑ์โลหะประดิษฐ์ (ยกเว้นเครื่องจักรและอุปกรณ์) รองลงมาปฏิบัติงาน ในอุตสาหกรรม การผลิตผลิตภัณฑ์อาหาร และการผลิตยานยนต์ รถพ่วง และรถกึ่งพ่วง ประมาณร้อยละ 12.3 และ 11 .0 ตามลำดับ และที่ทำงานอยู่ในอุตสาหกรรมการผลิตหมวดย่อยอื่นๆ นอกเหนือจากที่กล่าวข้างต้นแต่ละ หมวดย่อย มีสัดส่วนของลูกจ้างไม่เกินร้อยละ 10.2 (ตาราง 3.3) 3) ค่าตอบแทนแรงงาน ลูกจ้างที่ปฏิบัติงานอยู่ในสถานประกอบการอุตสาหกรรมการผลิตที่ตั้งอยู่ในจังหวัดสมุทรปราการ ได้รับค่าตอบแทนแรงงานรวมทั้งสิ้นประมาณ 10 . 6 5 พันล้านบาท หรือเฉลี่ยต่อคนต่อปี ประมาณ 201 , 337 .0 บาท โดยลูกจ้างในสถานประกอบการที่มีคนทำงานมากกว่า 200 คน ได้รับค่าตอบแทนแรงงานเฉลี่ยต่อคนต่อปีสูงที่สุด ประมาณ 207 , 417 .4 บาท ในขณะที่ลูกจ้างที่ปฏิบัติงานในสถานประกอบการที่มีคนทำงาน 1 – 5 คน ได้รับ ค่าตอบแทนเฉลี่ยต่อคนต่อปีต่ำที่สุด 152 , 42 5.5 บาท 4) ค่าตอบแทนแรงงานเฉลี่ย เมื่อพิจารณาตามหมวดย่อยอุตสาหกรรม พบว่า ลูกจ้างในอุตสาหกรรมการผลิตเภสัชภัณฑ์ เคมีภัณฑ์ที่ใช้รักษาโรค และผลิตภัณฑ์จากพืชและสัตว์ที่ใช้รักษาโรคได้รับค่าตอบแทนแรงงานเฉลี่ยต่อคนต่อปี สูงที่สุด คือประมาณ 238 , 944 .1 บาท รองลงมาได้แก่ ลูกจ้างในอุตสาหกรรมการผลิตเครื่องดื่ม และการผลิต เครื่องจักรและเครื่องมือ ซึ่งมิได้จัดประเภทไว้ในที่อื่น ประมาณ 214 , 50 7.7 บาทและ 211 , 347 .1 บาท ในขณะ ที่ลูกจ้าง ในอุตสาหกรรมการจัดพิมพ์จำหน่ายหรือเผยแพร่ ได้รับค่าตอบแทนแรงงานเฉลี่ยต่อคนต่อปีต่ำที่สุด ประมาณ 122 , 034 .4 บาท (ตาราง 3.3)

RkJQdWJsaXNoZXIy MTA3NzA0Nw==