สำมะโนธุรกิจและอุตสาหกรรม พ.ศ. 2565 อุตสาหกรรมการผลิต จังหวัดสมุทรปราการ

บทที่ 3 ผลการสำมะโน 19 3 . 2 .2 มูลค่าผลผลิต ค่าใช้จ่ายขั้นกลาง และมูลค่าเพิ่ม 1) มูลค่าผลผลิต สถานประกอบการอุตสาหกรรมการผลิตในจังหวัดสมุทรปราการ มีมูลค่าผลผลิตรวมทั้งสิ้น ประมาณ 1 , 764 , 18 2.5 ล้านบาท โดยมีสัดส่วนของมูลค่าเพิ่ มต่อมูลค่าผลผลิตประมาณร้อยละ 28.3 ( ตาราง 3.4 ) หากพิจารณาตามขนาดของสถานประกอบการ พบว่า สถานประกอบการที่มีคนทำงานมากกว่า 200 คน มีมูลค่าผลผลิตมากที่สุดประมาณ 984 , 976 .6 ล้านบาท (ร้อยละ 55.8) รองลงมาคือ สถานประกอบการ ที่มีคนทำงาน 5 1 – 200 คน ประมาณ 537 ,565.0 ล้านบาท (ร้อยละ 3 0.5 ) สำหรับสถานประกอบการที่มีคนทำงาน 1 – 5 คน มีมูลค่าผลผลิตน้อยที่สุดประมาณ 12,239.8 ล้านบาท (ร้อยละ 0. 7) เมื่อพิจารณาตามหมวดย่อยอุตสาหกรรมประเภทต่าง ๆ พบว่า มูลค่าผลผลิตของสถานประกอบการ ส่วนใหญ่มาจากอุตสาหกรรมการผลิตผลิตภัณฑ์อาหารประมาณร้อยละ 15 . 9 รองลงมา อุตสาหกรรม การผลิตยานยนต์ รถพ่วง และรถกึ่งพ่วง มีมูลค่าผลผลิต ประมาณร้อยละ 12 .2 นอกจากที่กล่าวข้างต้น แต่ละหมวดย่อยมีสัดส่วนของมูลค่าผลผลิต ไม่เกินร้อยละ 1 1 . 6 (ตาราง 3.4) 2) ค่าใช้จ่ายขั้นกลาง ในด้านค่าใช้จ่ายขั้นกลางของสถานประกอบการอุตสาหกรรมการผลิตในจังหวัดสมุทรปราการ มีค่าใช้จ่ายขั้นกลางรวมทั้งสิ้นประมาณ 1 , 265 ,430.3 ล้านบาท หากพิจารณาตามขนาดของสถานประกอบการ พบว่า สถานประกอบการที่มีคนทำงานมากกว่า 200 คน มีค่ าใช้จ่ ายขั้ นกลางมากที่ สุดประมาณ 745 ,265.5 ล้ านบาท (ร้ อยละ 5 8.9 ) รองลงมาคือ สถานประกอบการที่ มีคนทำงาน 51 – 200 คน ประมาณ 35 9,573.4 ล้านบาท (ร้ อยละ 28.4 ) สำหรับสถานประกอบการที่มีคนทำงาน 1 – 5 คน มีค่าใช้จ่ายขั้นกลางน้อยที่สุดประมาณ 7,667.8 ล้านบาท (ร้อยละ 0.6) เมื่อพิจารณาตามหมวดย่อยอุตสาหกรรมประเภทต่าง ๆ พบว่า ค่าใช้จ่ายขั้นกลางของสถาน ประกอบการ ส่วนใหญ่มาจากอุตสาหกรรมการผลิตผลิตภัณฑ์อาหาร ร้อยละ 17.3 รองลงมา มาจาก อุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์ รถพ่วง และรถกึ่งพ่วง ร้อยละ 12.8 การผลิตเคมีภัณฑ์และผลิตภัณฑ์เคมี ร้อยละ 1 1.4 สำหรับสถานการประกอบอุตสาหกรรม การผลิตในหมวดย่อยอื่น ๆ นอกจากที่กล่าวข้างต้น แต่ละหมวดย่อยมีสัดส่วนของค่าใช้จ่ายกลางไม่เกินร้อยละ 10 .0 (ตาราง 3.4) 3) มูลค่าเพิ่ม จากตาราง 3.4 แสดงให้เห็นว่าสถานประกอบการอุตสาหกรรมการผลิตในจังหวัดสมุทรปราการ มีมูลค่าเพิ่มประมาณ 498 ,752.2 ล้านบาท หากพิจารณาตามขนาดของสถานประกอบการ พบว่า สถานประกอบการที่มีคนทำงานมากกว่า 200 คน มีมูลค่าเพิ่มมากที่สุดประมาณ 239 ,711.2 ล้านบาท (ร้อยละ 48.1 ) รองลงมาคือ สถานประกอบการ ที่มีคนทำงาน 5 1 – 200 คน ประมาณ 17 7,991.6 ล้านบาท (ร้อยละ 35.7 ) สำหรับสถานประกอบการ ที่มีคนทำงาน 1 – 5 คน มีมูลค่าเพิ่มน้อยที่สุดประมาณ 4,572.0 ล้านบาท (ร้อยละ 0. 9) เมื่อพิจารณาตามหมวดย่อยอุตสาหกรรม พบว่า อุตสาหกรรมมูลค่าเพิ่มของสถานประกอบการ ส่วนใหญ่มาจากอุตสาหกรรมการผลิตผลิตภัณฑ์อาหาร ร้อยละ 1 2 . 4 รองลงมา มาจากอุตสาหกรรม การผลิตเคมีภัณฑ์และผลิตภัณฑ์เคมี ร้อยละ 12. 1 การผลิตผลิตภัณฑ์โลหะประดิษฐ์ (ยกเว้นเครื่องจักรและ อุปกรณ์) ร้อยละ 11.1 สำหรับสถานการประกอบอุตสาหกรรมการผลิตในหมวดย่อยอื่นๆ นอกจากที่กล่าวข้างต้น แต่ละหมวดย่อยมีสัดส่วนของมูลค่าเพิ่มไม่เกินร้อยละ 10 .7 (ตาราง 3.4)

RkJQdWJsaXNoZXIy MTA3NzA0Nw==