สำมะโนธุรกิจและอุตสาหกรรม พ.ศ.2565 ธุรกิจทางการค้าและธุรกิจทางการบริการ จังหวัดนครสวรรค์

34 3.2.2 รายได้จากการดำเนินงาน ค่าใช้จ่ายขั้นกลาง และมูลค่าเพิ่ม • รายได้จากการดำเนินงาน เมื่อพิจารณารายได้จากการดำเนินงานธุรกิจทางการค้าและธุรกิจทางการบริการในจังหวัด นครสวรรค์ พบว่า มีรายได้จากการดำเนินงานรวมทั้งสิ้นประมาณ 161,244.2 ล้านบาท โดยหากพิจารณา รายได้จากการดำเนินงานตามขนาดของสถานประกอบการ จะเห็นว่าสถานประกอบการที่มีขนาดคนทำงาน 6 – 15 คน มีสัดส่วนของรายได้จากการดำเนินงานสูงสุด คิดเป็นร้อยละ 47.1 รองลงมาเป็นสถานประกอบการที่ มีขนาดคนทำงาน 51 – 200 คน มีสัดส่วนของรายได้จากการดำเนินงาน ร้อยละ 21.0 ในขณะที่สถาน ประกอบการที่มีขนาดคนทำงาน มากกว่า 200 คน มีสัดส่วนของรายได้จากการดำเนินงานต่ำสุดคือ ร้อยละ 3.3 (ตาราง ง) เมื่อพิจารณารายได้จากการดำเนินงานตามหมวดย่อยธุรกิจ พบว่า สถานประกอบการหมวด การขายส่งและการขายปลีก การซ่อมยานยนต์และจักรยานยนต์ มีสัดส่วนของรายได้จากการดำเนินงานสูงสุด คิดเป็นร้อยละ 3 7.1 รองลงมาคือสถานประกอบการหมวดการขายส่ง (ยกเว้นยานยนต์และจักรยานยนต์) มี สั ดส่ วนของรายได้ จากการดำ เนิ นงาน ร้ อยละ 3 3 . 1 สถานประกอบการหมวดการขายปลี ก (ยกเว้นยานยนต์และจักรยานยนต์ ) มีสัดส่วนของรายได้จากการดำเนินงาน ร้อยละ 2 4 . 9 สำหรับสถาน ประกอบการหมวดการบริการอาหารและเครื่องดื่ม มีสัดส่วนของรายได้จากการดำเนินงาน ร้อยละ 2.1 ในขณะที่ สถานประกอบการในหมวดย่อยธุรกิจอื่น ๆ มีสัดส่วนของรายได้จากการดำเนินงานไม่เกินร้อยละ 1 . 0 (ตาราง ง) • ค่าใช้จ่ายขั้นกลาง เมื่อพิจารณาค่าใช้จ่ายขั้นกลางในการดำเนินงาน พบว่า สถานประกอบการมีค่าใช้จ่าย ขั้นกลางในการดำเนินงานรวมทั้งสิ้นประมาณ 135,96 9.0 ล้านบาท โดยพิจารณาค่าใช้จ่ายขั้นกลางตามขนาด ของสถานประกอบการ จะเห็นว่า สถานประกอบการที่มีขนาดคนทำงาน 6 – 15 คน มีสัดส่วนของค่าใช้จ่าย ขั้นกลางสูงสุด คิดเป็นร้อยละ 48.2 รองลงมาเป็นสถานประกอบการที่มีขนาดคนทำงาน 51 – 200 คน มีสัดส่วนของค่าใช้จ่ายขั้นกลาง ร้อยละ 23.0 สถานประกอบการที่มีขนาดคนทำงาน 1 – 5 คน มีสัดส่วนของ ค่าใช้จ่ายขั้นกลาง ร้อยละ 12.7 ในขณะที่สถานประกอบการที่มีขนาดคนทำงานมากกว่า 200 คน มีสัดส่วน ของค่าใช้จ่ายขั้นกลางต่ำสุดคือ ร้อยละ 3.4 ( ตาราง ง) เมื่อพิจารณาค่าใช้จ่ายขั้นกลางตามหมวดย่อยธุรกิจ พบว่า สถานประกอบการหมวด การขายส่งและการขายปลีก การซ่อมยานยนต์และจักรยานยนต์ มีสัดส่วนของค่าใช้จ่ายขั้นกลางสูงสุด คิดเป็นร้อยละ 3 9.0 รองลงมาคือสถานประกอบการหมวดการขายส่ง (ยกเว้นยานยนต์และจักรยานยนต์) มีสัดส่วนของค่าใช้จ่ายขั้นกลาง ร้อยละ 34. 3 สำหรับสถานประกอบการหมวดการขายปลีก (ยกเว้นยานยนต์ และจักรยานยนต์) มีสัดส่วนของค่าใช้จ่ายขั้นกลาง ร้อยละ 2 3.1 ในขณะที่สถานประกอบการในหมวดย่อย ธุรกิจอื่นๆ มีสัดส่วนของค่าใช้จ่ายขั้นกลางไม่เกินร้อยละ 1.8 ( ตาราง ง)

RkJQdWJsaXNoZXIy MTA3NzA0Nw==