สำมะโนธุรกิจและอุตสาหกรรม พ.ศ.2565 ธุรกิจทางการค้าและธุรกิจทางการบริการ จังหวัดนครสวรรค์

35 บทที่ 3 ผลการสำมะโน • มูลค่าเพิ่ม เมื่อพิจารณามูลค่าเพิ่มในการดำเนินงานของธุรกิจ พบว่า สถานประกอบการมีมูลค่าเพิ่มใน การดำเนินงานรวมทั้งสิ้นประมาณ 25,275.2 ล้านบาท โดยพิจารณามูลค่าเพิ่มตามขนาดของสถานประกอบการ จะเห็นว่า สถานประกอบการที่มีขนาดคนทำงาน 6 – 15 คน มีสัดส่วนของมูลค่าเพิ่มสูงสุด คิดเป็นร้อยละ 41.5 รองลงมาเป็นสถานประกอบการที่มีขนาดคนทำงาน 1 – 5 คน มีสัดส่วนของมูลค่าเพิ่ม ร้อยละ 32.8 สถานประกอบการที่มีขนาดคนทำงาน 51 – 200 คน มีสัดส่วนของมูลค่าเพิ่ม ร้อยละ 10.2 ในขณะที่ สถานประกอบการที่ มี ขนาดคนทำงาน 26 – 30 คน และขนาดคนทำงานมากกว่ า 200 คน มีสัดส่วนของมูลค่าเพิ่มต่ำสุดคือ ร้อยละ 2.5 เท่ากัน (ตาราง ง) เมื่อพิจารณามูลค่าเพิ่มตามหมวดย่อยธุรกิจ พบว่า สถานประกอบการหมวดการขายปลีก (ยกเว้นยานยนต์และจักรยานยนต์) มีสัดส่วนของมูลค่าเพิ่ มสูงสุด คิดเป็นร้อยละ 34. 3 รองลงมาคือ สถานประกอบกา รหมวดกา รขายส่ งและกา รขายปลี ก กา รซ่ อมยานยนต์ และจั กรยานยนต์ และสถานประกอบการหมวดการขายส่ง (ยกเว้นยานยนต์และจักรยานยนต์) มีสัดส่วนของมูลค่าเพิ่ม ร้อยละ 26.6 เท่ากัน ในขณะที่สถานประกอบการในหมวดย่อยธุรกิจอื่น ๆ มีสัดส่วนของมูลค่าเพิ่มไม่เกิน ร้อยละ 4.1 (ตาราง ง) • มูลค่าเพิ่มต่อรายได้จากการดำเนินงาน เมื่อพิจารณามูลค่าเพิ่มต่อรายได้จากการดำเนินงาน พบว่า สถานประกอบการในจังหวัด นครสวรรค์ มีมูลค่าเพิ่มต่อรายได้จากการดำเนินงาน ร้อยละ 15.7 โดย เปรียบเทียบมูลค่าเพิ่มต่อรายได้ จากการดำเนินงานตามขนาดของสถานประกอบการ จะเห็นว่า สถานประกอบการที่มีขนาดคนทำงาน 1 – 5 คน มีสัดส่วนของมูลค่าเพิ่มต่อรายได้จากการดำเนินงานสูงสุด คิดเป็นร้อยละ 32.5 รองลงมาขนาดคนทำงาน 31 – 50 คน มีสัดส่วนของมูลค่าเพิ่มต่อรายได้จากการดำเนินงาน คิดเป็นร้อยละ 19.9 ในขณะที่สถาน ประกอบการที่มีขนาดคนทำงาน 51 - 200 คน มีสัดส่วนของมูลค่าเพิ่มต่อรายได้จากการดำเนินงานต่ำสุด คิดเป็นร้อยละ 7.6 และเมื่อเปรียบเทียบมูลค่าเพิ่มต่อรายได้จากการดำเนินงานตามหมวดย่อยธุ รกิจ พบว่า สถานประกอบการหมวดการจัดทำโปรแกรมคอมพิวเตอร์ การให้คำปรึกษาเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ และกิจกรรมที่เกี่ยวข้อง มีสัดส่วนของมูลค่าเพิ่มต่อรายได้จากการดำเนินงานสูงสุด คิดเป็นร้อยละ 76.1 รองลงมากิจกรรมด้านสถาปัตยกรรมและวิศวกรรม รวมถึงการทดสอบและการวิเคราะห์ทางเทคนิค มีสัดส่วน ของมูลค่าเพิ่มต่อรายได้จากการดำเนินงาน คิดเป็นร้อยละ 71.9 ในขณะที่สถานประกอบการหมวดกิจกรรม กา รพนั นและกา ร เ สี่ ย ง โ ชค มี สั ดส่ วนขอ ง มู ลค่ า เ พิ่ มต่ อร า ย ไ ด้ จ า กกา ร ด ำ เ นิ น ง านต่ ำ สุด คิดเป็นร้อยละ 8.6 (ตาราง ง)

RkJQdWJsaXNoZXIy MTA3NzA0Nw==