สำมะโนธุรกิจและอุตสาหกรรม พ.ศ. 2565 ธุรกิจทางการค้าและธุรกิจทางการบริการ: จังหวัดนครศรีธรรมราช

34 3.2.2 รายได้จากการดำเนินงาน ค่าใช้จ่ายขั้นกลาง และมูลค่าเพิ่ม • รายได้จากการดำเนินงาน เมื่อพิจารณารายได้จากการดำเนินงานในจังหวัดนครศรีธรรมราช พบว่า มีรายได้จากการ ดำเนินงานรวมทั้งสิ้น 175.9 พันล้านบาท โดยสถานประกอบการที่มีคนทำงาน 1-5 คน มีรายรับจากการ ดําเนินงานสูงสุดประมาณ 58.5 พันล้านบาท ( ร้อยละ 33.3) รองลงมาคือ สถานประกอบการที่มีคนทำงาน 6-30 คน มีรายรับจากการดําเนินงานประมาณ 50.4 พันล้านบาท ( ร้อยละ 28.6) สถานประกอบการมี คนทำงาน 31-200 คน มีรายรับจากการดําเนินงานประมาณ 4 8 . 4 พันล้านบาท ( ร้อยละ 27.6) และสถาน ประกอบการที่มีคนทำงานมากกว่า 200 คน มีรายรับจากการดําเนินงานประมาณ 18 . 5 พันล้านบาท ( ร้อยละ 10.5) ตามลำดับ เมื่ อพิจารณาตามหมวดย่อยธุรกิจพบว่ า ธุรกิจการขายปลีก (ยกเว้นยานยนต์ และ จักรยานยนต์) มีรายได้จากการดำเนินงานมากที่สุด มูลค่า 94.1 พันล้านบาท หรือร้อยละ 53.5 รองลงมาคือ ธุรกิจการขายส่งและการขายปลีก การซ่อมยานยนต์และจักรยานยนต์ มูลค่า 40.2 พันล้านบาท หรือร้อยละ 22.9 การขายส่ง (ยกเว้นยานยนต์และจักรยานยนต์) มูลค่า 30.5 พันล้านบาท ที่เหลือปฏิบัติงานในธุรกิจ นอกเหนือจากที่กล่าวข้างต้น • ค่าใช้จ่ายขั้นกลาง เมื่อพิจารณาค่าใช้จ่ายขั้นกลางในจังหวัดนครศรีธรรมราช พบว่า มีค่าใช้จ่ายขั้นกลาง รวมทั้งสิ้น 15 1 . 8 พันล้านบาท โดยสถานประกอบการที่มีคนทำงาน 1-5 คน มีค่าใช้จ่ายขั้นกลางสูงสุดประมาณ 45 . 7 พันล้านบาท ( ร้อยละ 30.1) รองลงมาคือ สถานประกอบการที่มีคนทำงาน 6-30 คน มีค่าใช้จ่ายขั้นกลาง ประมาณ 45 . 1 พันล้านบาท ( ร้อยละ 29.6) สถานประกอบการมีคนทำงาน 31-200 คน มีค่าใช้จ่ายขั้นกลาง ประมาณ 4 4 . 1 พันล้านบาท ( ร้อยละ 29.1) และสถานประกอบการที่มีคนทำงานมากกว่า 200 คน มีค่าใช้จ่าย ขั้นกลางประมาณ 16 . 9 พันล้านบาท ( ร้อยละ 11.2) ตามลำดับ เมื่อพิจารณาตามหมวดย่อยธุรกิจพบว่า ธุรกิจ การขายปลีก (ยกเว้นยานยนต์และจักรยานยนต์) มีค่าใช้จ่ายขั้นกลางมากที่สุด มูลค่า 81.8 พันล้านบาท หรือ ร้อยละ 54.0 รองลงมาคือ ธุรกิจการขายส่งและการขายปลีก การซ่อมยานยนต์และจักรยานยนต์ มูลค่า 36.1 พันล้านบาท หรือร้อยละ 23.8 ธุรกิจการขายส่ง (ยกเว้นยานยนต์และจักรยานยนต์) มูลค่า 27.3 พันล้านบาท หรือร้อยละ 18.0 ที่เหลือปฏิบัติงานในธุรกิจนอกเหนือจากที่กล่าวข้างต้น • มูลค่าเพิ่ม เมื่อพิจารณามูลค่าเพิ่ม พบว่า สถานประกอบการที่มีคนทำงาน 1-5 คน มีมูลค่าเพิ่มสูงสุด ประมาณ 12.8 พันล้านบาท ( ร้อยละ 53.3) รองลงมาคือ สถานประกอบการที่ มีคนทำงาน 6-30 คน มีมูลค่าเพิ่มประมาณ 5 . 3 พันล้านบาท ( ร้อยละ 22.2) สถานประกอบการมีคนทำงาน 31-200 คน มีมูลค่าเพิ่ม ประมาณ 4 .3 พันล้านบาท ( ร้อยละ 18.1) และสถานประกอบการที่มีคนทำงานมากกว่า 200 คน มีมูลค่าเพิ่ม ประมาณ 1 . 5 พันล้านบาท ( ร้อยละ 6.4) ตามลำดับ เมื่อพิจารณาตามหมวดย่อยธุรกิจพบว่า ธุรกิจการ ขายปลีก (ยกเว้นยานยนต์และจักรยานยนต์) มีมูลค่าเพิ่มมากที่สุด ร้อยละ 50.9 รองลงมาคือ ธุรกิจการขายส่ง และการขายปลีก การซ่อมยานยนต์และจักรยานยนต์ ร้อยละ 17.3 ธุรกิจการขายส่ง (ยกเว้นยานยนต์และ จักรยานยนต์) ร้อยละ 13.4 ที่เหลือปฏิบัติงานในธุรกิจนอกเหนือจากที่กล่าวข้างต้น

RkJQdWJsaXNoZXIy MTA3NzA0Nw==