สำมะโนธุรกิจและอุตสาหกรรม พ.ศ.2565 ธุรกิจทางการค้าและธุรกิจทางการบริการ จังหวัดน่าน

39 บทที่ 3 ผลการสำมะโน ปรับเปลี่ยน กระบวนการขาย/ให้บริการ โดยการนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ 8.3% ปรับตัว ไปทำธุรกิจแบบอื่น 4.0% ปรับเปลี่ยนรูปแบบ การทำงาน 7.4% ปรับรูปแบบ การจ้างแรงงาน/พนักงาน 10.6% หยุดกิจการชั่วคราว/ เปิดดำเนินกิจการบางส่วน 61.7% 3.3.2 แนวทางการแก้ไขปัญหาของสถานประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด 19 จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด 19 พบว่าสถานประกอบการได้รับ ผลกระทบในเรื่องดังกล่าว ร้อยละ 84.1 และมีแนวทางในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว โดยสถานประกอบการส่วน ใหญ่ หยุดกิจการชั่วคราว/เปิดดำเนินกิจการบางส่วน ร้อยละ 61.7 ปรับปรุงรูปแบบการจ้างแรงงาน/พนักงาน ร้อยละ 10.6 ปรับเปลี่ยนกระบวนการขาย/ให้บริการโดยการนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ ร้อยละ 8.3 ปรับเปลี่ยน รูปแบบการทำงาน ร้อยละ 7.4 ส่วนที่เหลืออีกร้อยละ 4.0 ปรับตัวไปทำธุรกิจแบบอื่น หมายเหตุ : ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ 3.3. 3 การฟื้นตัวของสถานประกอบการโดยเปรียบเทียบสัดส่วนรายรับในปี 2565 กับรายรับในปี 2562 (ปีก่อนเกิดสถานการณ์โควิด 19) พิจารณาการฟื้นตัวของสถานประกอบการโดยการเปรียบเทียบสัดส่วนรายรับในปี 2565 กับ รายรับในปี 2562 (ปีก่อนเกิดสถานการณ์โควิด 19) พบว่า สถานประกอบการส่วนใหญ่ยังอยู่ในระดับหดตัว ร้อยละ 39.5 รองลงมาร้อยละ 32.9 ยังหดตัวมาก อยู่ในระดับทรงตัวร้อยละ 23.2 สถานประกอบการเริ่มฟื้น หรือขยายตัวบ้างแล้วร้อยละ 4.4 มีเพียงร้อยละ 0.1 ของสถานประกอบการที่ขยายตัวได้ดี ซึ่งสถานประกอบการที่มีสถานะยังคงหดตัวและหดตัวมาก มีอุปสรรคที่ทำให้ไม่สามารถฟื้น ตัว ส่วนใหญ่เนื่องมาจากกำลังซื้อยังคงอ่อนแอร้อยละ 90.8 รองลงมาเป็นเรื่องเกี่ยวกับพฤติกรรมของผู้บริโภค เปลี่ยนแปลงร้อยละ 58.1 มาตรการภาครัฐร้อยละ 34.1 และในเรื่องการขนส่ง/การเดินทางยังไม่กลับสู่ระดับ ปกติ ร้อยละ 6.0 การขาดแคลนแรงงานร้อยละ 2.8 ส่วนที่เหลือร้อยละ 1.4 เนื่องมาจากลูกค้ามีการสั่งซื้อ สินค้าจากประเทศอื่น ๆ แนวทางการแก้ไข ไม่ได้รับ 15.9% ได้รับ 84.1% ภาพที่ 1 ร้อยละของสถานประกอบการจำแนกตามแนวทางการแก้ไขปัญหาของสถานประกอบการที่ได้รับ ผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด 19

RkJQdWJsaXNoZXIy MTA3NzA0Nw==