สำมะโนธุรกิจและอุตสาหกรรม พ.ศ. 2565 ธุรกิจทางการค้าและธุรกิจทางการบริการ: จังหวัดปัตตานี
39 บทที่ 3 ผลการสำมะโน ปรับเปลี่ยน กระบวนการขาย/ให้บริการ โดยการนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ 5.8 % ปรับตัว ไปทำธุรกิจแบบอื่น 2 . 1 % ปรับเปลี่ยนรูปแบบ การทำงาน ปรับรูปแบบ การจ้างแรงงาน/พนักงาน 14 . 9 % หยุดกิจการชั่วคราว/ เปิดดำเนินกิจการ บางส่วน 63 . 0 % 3.3.2 แนวทางการแก้ไขปัญหาของสถานประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด 19 จากสถานการณ์การแพร่ระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโควิด 19 ส่งผลให้สถานประกอบการธุรกิจฯ ได้รับผลกระทบสูงถึง ร้อยละ 77.8 โดยในจำนวนนี้มีแนวทางในการแก้ไขปัญหาโดยการหยุดกิจการชั่วคราว/ เปิดดำเนินกิจการบางส่วน สูงถึงร้อยละ 63.0 รองลงมาเป็นการปรับรูปแบบการจ้างแรงงาน/พนักงาน ร้อยละ 14.9 ปรับเปลี่ยนกระบวนการขาย/ให้บริการโดยการนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ ร้อยละ 5.8 ส่วนแนวทาง การแก้ปัญหาอื่นๆ มีสัดส่วนน้อยกว่าร้อยละ 4.0 (ปรับเปลี่ยนรูปแบบการทำงาน ร้อยละ 3.2 และปรับตัวไป ทำธุรกิจแบบอื่น ร้อยละ 2.1) 3.3. 3 การฟื้นตัวของสถานประกอบการโดยเปรียบเทียบสัดส่วนรายรับในปี 2565 กับรายรับในปี 2562 (ปีก่อนเกิดสถานการณ์โควิด 19) ในปี 2565 ยังคงมีสถานประกอบการ ร้อยละ 38.6 ที่ ให้ข้อมูลว่า ยังคงมีสัดส่วนรายรับที่ทรงตัว เมื่อเทียบกับรายรับในช่วงก่อนการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด 19 ในปี 2562 (ปีก่อนเกิดสถานการณ์โควิด 19) รองลงมา คือ ยังคงหดตัว ร้อยละ 35.3 และยังคงหดตัวมาก ร้อยละ 21.2 ในขณะที่สถานประกอบการ เริ่มฟื้นตัวหรือขยายตัวบ้างแล้ว และขยายตัวได้ดี มีจำนวนเล็กน้อย คือ ร้อยละ 3.9 และ ร้อยละ 1.0 ตามลำดับ โดยผู้ประกอบการธุรกิจให้ข้อมูลถึงอุปสรรคที่ทำให้ไม่สามารถฟื้นตัวได้ว่า ร้อยละ 95.4 เกิด จากกำลังซื้อยังคงอ่อนแอ ร้อยละ 45.1 เกิดจากพฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนแปลง ร้อยละ 15.1 เนื่องจากขาด แคลนแรงงาน ร้อยละ 14.0 เกิดจากการขนส่ง/การเดินทางยังไม่กลับสู่ระดับปกติ และเกิดจากมาตรการ ภาครัฐ ร้อยละ 12.7 แนวทางการแก้ไข ไม่ได้รับ 22.2 % ได้รับ 77.8 % ภาพที่ 1 ร้อยละของสถานประกอบการจำแนกตามแนวทางการแก้ไขปัญหาของสถานประกอบการที่ได้รับ ผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด 19 3.2%
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy MTA3NzA0Nw==