สำมะโนธุรกิจและอุตสาหกรรม พ.ศ.2565 ธุรกิจทางการค้าและธุรกิจทางการบริการ จังหวัดเพชรบูรณ์
34 3.2.2 รายได้จากการดำเนินงาน ค่าใช้จ่ายขั้นกลาง และมูลค่าเพิ่ม • รายได้จากการดำเนินงาน ในปี 2564 การประกอบธุรกิจทางการค้าและธุรกิจทางการบริการในจังหวัดเพชรบูรณ์ พบว่า มีรายได้จากการดำเนินงานรวมทั้งสิ้น 50 , 962.4 ล้านบาท โดยสถานประกอบการที่มีคนทำงาน 1 - 5 คน มีรายได้จากการดำเนินงานสูงที่สุดประมาณ 24 , 483.7 ล้านบาท หรือร้อยละ 48.0 รองลงมาเป็น สถานประกอบการที่มีคนทำงาน 6 - 15 คน และ 51 - 200 คน มีรายได้จากการดำเนินงานร้อยละ 18.4 และ 18.3 ตามลำดับ ส่วนสถานประกอบการขนาดอื่นๆ นอกจากที่กล่าวข้างต้นมีสัดส่วนของรายได้จากการ ดำเนินงานต่ำกว่าร้อยละ 7.0 หากพิจารณาตามหมวดย่อยธุรกิจ พบว่า ธุรกิจการขายปลีก (ยกเว้นยานยนต์และ จักรยานยนต์) มีรายได้จากการดำเนินงานสูงที่สุดประมาณ 20 , 823.9 ล้านบาท หรือร้อยละ 40.9 รองลงมา มาจากธุรกิจการขายส่ง (ยกเว้นยานยนต์และจักรยานยนต์) และการขายส่งและการขายปลีก (ยกเว้นยานยนต์ และจักรยานยนต์) มีรายได้จากการดำเนินงานร้อยละ 25.1 และ 20.9 ตามลำดับ ส่วนสถานประกอบการ ธุรกิจในหมวดย่อยอื่นๆ นอกจากที่กล่าวข้างต้นมีสัดส่วนของรายได้จากการดำเนินงานต่ำกว่าร้อยละ 10.0 (ตาราง ง) • ค่าใช้จ่ายขั้นกลาง ในด้านค่าใช้จ่ายขั้นกลางของสถานประกอบการธุรกิจฯ ในจังหวัดเพชรบูรณ์ มีมูลค่า รวมทั้งสิ้น 39,775.4 ล้านบาท โดยสถานประกอบการที่มีคนทำงาน 1 - 5 คน มีค่าใช้จ่ายขั้นกลางสูงที่สุด ประมาณ 16,874.6 ล้านบาท หรือร้อยละ 42.4 รองลงมาเป็นสถานประกอบการที่มีคนทำงาน 51 - 200 คน และ 6 - 15 คน มีค่าใช้จ่ายขั้นกลาง ร้อยละ 21.6 และ 18.7 ตามลำดับ ส่วนสถานประกอบการอื่นๆ นอกเหนือจาก ที่กล่าวข้างต้นมีสัดส่วนของค่าใช้จ่ายขั้นกลางต่ำกว่าร้อยละ 8.0 หากพิจารณาตามหมวดย่อยธุรกิจ พบว่า ธุรกิจทางการขายปลีก (ยกเว้นยานยนต์และ จักรยานยนต์) มีค่าใช้จ่ายขั้นกลางสูงที่สุดประมาณ 16,788.1 ล้านบาท หรือร้อยละ 42.2 รองลงมาเป็นธุรกิจ การขายส่ง (ยกเว้นยานยนต์และจักรยานยนต์) และการขายส่งและการขายปลีก (ยกเว้นยานยนต์และ จักรยานยนต์) มีค่าใช้จ่ายขั้นกลาง ร้อยละ 27.3 และ 22.8 ตามลำดับ ส่วนสถานประกอบการธุรกิจใน หมวดย่อยอื่นๆ นอกจากที่กล่าวข้างต้นแต่ละหมวดย่อยมีสัดส่วนของค่าใช้จ่ายขั้นกลางต่ำกว่าร้อยละ 6.0 (ตาราง ง) • มูลค่าเพิ่ม สถานประกอบการธุรกิจฯ ในจังหวัดเพชรบูรณ์ มีมูลค่าเพิ่ม 11,186.9 ล้านบาท โดยมีสัดส่วนมูลค่าเพิ่มต่อรายได้จากการดำเนินงาน ร้อยละ 22.0 หากพิจารณามูลค่าเพิ่มตามขนาด ของสถานประกอบการ พบว่า สถานประกอบการที่มีคนทำงาน 1 - 5 คน มีมูลค่าเพิ่มสูงที่สุดประมาณ 7,609.1 ล้านบาท หรือร้อยละ 68.0 รองลงมาเป็นสถานประกอบการที่มีคนทำงาน 6 - 15 คน และ 51 - 200 คน มีมูลค่าเพิ่ มร้ อยละ 17.6 และ 6.4 ตามลำดับ ส่วนสถานประกอบการขนาดอื่ นๆ นอกจากที่กล่าวข้างต้นมีสัดส่วนของมูลค่าเพิ่มต่ำกว่าร้อยละ 4.0 หากพิจารณาตามหมวดย่อยธุรกิจ พบว่า ธุรกิจทางการขายปลีก (ยกเว้นยานยนต์ และจักรยานยนต์) มีมูลค่าเพิ่มสูงที่สุดประมาณ 4,035.8 ล้านบาท หรือร้อยละ 36.1 รองลงมาเป็น ธุรกิจการบริการอาหารและเครื่องดื่ม และการขายส่ง (ยกเว้นยานยนต์และจักรยานยนต์) มีมูลค่าเพิ่ม ร้อยละ 20.8 และ 17.3 ตามลำดับ ส่วนสถานประกอบการธุรกิจในหมวดย่อยอื่นๆ นอกจากที่กล่าว ข้างต้นแต่ละหมวดย่อยมีสัดส่วนของมูลค่าเพิ่มต่ำกว่าร้อยละ 15.0 (ตาราง ง)
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy MTA3NzA0Nw==