สำมะโนธุรกิจและอุตสาหกรรม พ.ศ. 2565 ธุรกิจทางการค้าและธุรกิจทางการบริการ: จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

14 หมวดย่อย 95 การซ่อมคอมพิวเตอร์และของใช้ส่วนบุคคลและของใช้ในครัวเรือน ในหมวดย่อยนี้ ได้แก่ การซ่อมและบำรุงรักษาคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วง เช่น คอมพิวเตอร์ชนิดตั้งโต๊ะ คอมพิวเตอร์แลปท๊อป คอมพิวเตอร์ลูกข่าย อุปกรณ์จัดเก็บข้อมูล และเครื่องพิมพ์ รวมถึงการซ่อมอุปกรณ์ คมนาคม (เช่น เครื่องโทรสาร วิทยุสื่อสารแบบสองทาง) เครื่องใช้อิเล็กทรอนิกส์ในครัวเรือน (เช่น วิทยุและ โทรทัศน์) เครื่องอุปกรณ์ที่ใช้ในบ้านและในสวน (เช่น เครื่องตัดหญ้าและเครื่องเป่าลม) รองเท้าและเครื่องหนัง เฟอร์ นิ เจอร์ และของตกแต่ งบ้ าน เสื้ อผ้ าและอุ ปกรณ์ตกแต่ งเสื้ อผ้ า อุปกรณ์กีฬา เครื่ องดนตรี สิ่งของที่ใช้ในงานอดิเรก และของใช้ส่วนบุคคลและของใช้ในครัวเรือนอื่น ๆ เป็นต้น หมวดย่อย 96 กิจกรรมการบริการส่วนบุคคลอื่นๆ ในหมวดย่อยนี้ ได้แก่ กิจกรรมบริการส่วนบุคคลอื่น ๆ เช่น การบริการซักรีด และซักแห้ง ผลิตภัณฑ์สิ่งทอและ ขนสัตว์ การแต่งผม และการเสริมสวยอื่น ๆ การทำศพ และกิจกรรมที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น 2.3.5 รูปแบบการจัดตั้งตามกฎหมาย จำแนกออกเป็น 10 ประเภท ได้แก่ 1) ส่วนบุคคล ห้างหุ้นส่วนสามัญที่ไม่เป็นนิติบุคคล (หสม.) หมายถึง สถานประกอบการ ที่มีเจ้าของเป็นบุคคลธรรมดาคนเดียวหรือหลายคนรวมกัน และให้หมายรวมถึง ห้างหุ้นส่วนสามัญที่ไม่จดทะเบียน เป็นนิติบุคคลด้วย 2) ห้างหุ้นส่วนจำกัด (หจก.) ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล (หสน.) หมายถึง สถานประกอบการ ที่จัดตั้งขึ้นโดยมีบุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป รวมทุนกันเพื่อประกอบกิจการ และรับผิดชอบร่วมกัน โดยจดทะเบียน ถูกต้องตามกฎหมาย 3) บริษัทจำกัด บริษัทจำกัด (มหาชน) - บริษัทจำกัด : (บจก.) หมายถึง สถานประกอบการที่จัดตั้งขึ้นโดยผู้ริเริ่มคณะหนึ่ง และได้จดทะเบียนถูกต้องตามกฎหมาย โดยมีผู้เริ่มดำเนินการอย่างน้อย 2 คนขึ้นไป - บริษัทจำกัด (มหาชน) : (บมจ.) หมายถึง สถานประกอบการที่จัดตั้งขึ้นโดยการ จดทะเบียนจัดตั้งบริษัท การควบบริษัท หรือการแปรสภาพบริษัท และวัตถุประสงค์ที่จะขายหุ้นต่อประชาชน โดยมีผู้ริเริ่มดำเนินการตั้งแต่ 15 คนขึ้นไป 4) ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หมายถึง สถานประกอบการที่รัฐบาลเป็นเจ้าของ หรือมีทุนอยู่ด้วย ไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ของทุนทั้งหมดในที่นี้ให้หมายรวมถึงสถานประกอบการที่ดำเนินการโดยรัฐบาลด้วย 5) สหกรณ์ หมายถึง สถานประกอบการที่จัดตั้งขึ้นในรูปของสหกรณ์โดยจดทะเบียนถูกต้อง ตามกฎหมายว่าด้วยสหกรณ์ โดยมีผู้ก่อตั้งไม่น้อยกว่า 10 คน 6) การรวมกลุ่ม หมายถึง กลุ่มที่เกิดจากความต้องการของสมาชิกที่มารวมกลุ่มกันขึ้นมา เพื่อตอบสนองความต้องการของสมาชิกได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีแนวคิดสร้างสรรค์กลุ่ม เพื่อยกระดับ ความเป็นอยู่ของสมาชิกให้ดียิ่งขึ้น ทั้งคุณภาพชีวิต สิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ และสังคม โดยใช้หลักการทำงาน แบบมีส่วนร่วม คือ ร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมตัดสินใจ และร่วมพัฒนาสมาชิก

RkJQdWJsaXNoZXIy MTA3NzA0Nw==