สำมะโนธุรกิจและอุตสาหกรรม พ.ศ.2565 ธุรกิจทางการค้าและธุรกิจทางการบริการ จังหวัดสมุทรสาคร
43 บทที่ 3 ผลการส ามะโน 3.3. 3 การฟื้นตัวของสถานประกอบการโดยเปรียบเทียบสัดส่วนรายรับในปี 2565 กับรายรับในปี 2562 (ปีก่อนเกิดสถานการณ์โควิด 19) จากการเก็บรวบรวมข้อมูลการฟื้นตัวของสถานประกอบการโดยเปรียบเทียบสัดส่วนรายรับ ในปี 2565 กับรายรับในปี 2562 (ปีก่อนเกิดสถานการณ์โควิด 19) จำนวนสถานประกอบการธุรกิจทางการค้า และธุรกิจทางการบริการในจังหวัดสมุทรสาคร มีการฟื้นตัวอยู่ในระดับทรงตัวร้อยละ 37.5 เป็นสัดส่วน ที่สูงที่สุด รองลงมาคือ สถานประกอบการที่ยังคงหดตัวร้อยละ 27. 7 และสถานประกอบการที่ยังหดตัวมาก ร้อยละ 23.7 ในขณะที่การเริ่มฟื้นหรือขยายตัวบ้างแล้วมีสัดส่วนประมาณร้อยละ 9.8 และการขยายตัวได้ดี มีสัดส่วนต่ำที่สุดประมาณร้อยละ 1.3 เมื่อพิจารณาอุปสรรคที่ทำให้ไม่สามารถฟื้นตัวได้ของสถานประกอบการธุรกิจทางการค้าและ ธุรกิจทางการบริการในจังหวัดสมุทรสาคร ปัญหาอันดับแรก คือ กำลังซื้อยังอ่อนแอ เป็นสัดส่วนที่สูงที่สุด ประมาณร้อยละ 83.8 รองลงมาคือ พฤติกรรมของผู้บริโภคเปลี่ยนแปลง มีสัดส่วนประมาณร้อยละ 50.8 มาตรการภาครัฐ มีสัดส่วนประมาณร้อยละ 23.5 ขาดแคลนแรงงานและลูกค้ามีการสั่งซื้อจากประเทศอื่น ๆ มี สัดส่วนเท่ากันคือ ร้อยละ1.5 ขยายตัวได้ดี 1.3% เริ่มฟื้นหรือ ขยายตัวบ้างแล้ว 9.8% อยู่ในระดับทรงตัว 37.5% ยังคงหดตัว 27.7 % ยังหดตัวมาก 23.7% 83.8% 50.8% 23.5% 5.6% 1.5% 1.5% พฤติกรรมของผู้บริโภคเปลี่ยนแปลง มาตรการภาครัฐ การขนส่ง/การเดินทางยังไม่กลับสู่ระดับปกติ ขาดแคลนแรงงาน ลูกค้ามีการสั่งซื้อจากประเทศอื่น ๆ กำลังซื้อยังคงอ่อนแอ ภาพที่ 2 ร้อยละของสถานประกอบการจำแนกตามการฟื้นตัวของสถานประกอบการโดยเปรียบเทียบสัดส่วน รายรับในปี 2565 กับรายรับในปี 2562
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy MTA3NzA0Nw==