สำมะโนธุรกิจและอุตสาหกรรม พ.ศ.2565 ธุรกิจทางการค้าและธุรกิจทางการบริการ จังหวัดสุพรรณบุรี

36 3.2.3 รายได้จากการดำเนินงาน และมูลค่าเพิ่มเฉลี่ยต่อสถานประกอบการ จากตาราง จ แสดงให้เห็นว่าสถานประกอบการธุรกิจในจังหวัดสุพรรณบุรีมีรายได้จากการ ดำเนินงานเฉลี่ยต่อสถานประกอบการประมาณ 1.9 ล้านบาท และมูลค่าเพิ่มเฉลี่ยต่อสถานประกอบการ ประมาณ 0 . 7 ล้านบาท หากพิจารณาตามขนาดของสถานประกอบการ พบว่า รายได้จากการดำเนินงานและ มูลค่าเพิ่มเฉลี่ยต่อสถานประกอบการแปรผันตามขนาดของสถานประกอบการ กล่าวคือ สถานประกอบการ ขนาดใหญ่ ก็จะมีรายได้จากการดำเนินงานและมูลค่าเพิ่มเฉลี่ยสูง และสถานประกอบการขนาดเล็ก ก็จะมี รายได้จากการดำเนินงาน และมูลค่าเพิ่มเฉลี่ยต่ำ โดยสถานประกอบการที่มีคนทำงาน 51 – 200 คน มีรายได้ จากการดำเนินงานและมูลค่าเพิ่มเฉลี่ยสูงที่สุด 431.9 ล้านบาท และ 67.6 ล้านบาท และคนทำงาน 1 – 5 คน มีรายได้จากการดำเนินงานและมูลค่าเพิ่มเฉลี่ยต่ำที่สุด ประมาณ 0.7 ล้านบาท และ 0.4 ล้านบาท (ตาราง จ) 3.2.4 รายได้จากการดำเนินงาน และมูลค่าเพิ่มเฉลี่ยต่อคนทำงาน สำหรับรายได้จากการดำเนินงานและมูลค่าเพิ่มต่อคนทำงาน พบว่า สถานประกอบการธุรกิจฯ ในจังหวัดสุพรรณบุรี มีรายได้จากการดำเนินงานเฉลี่ยต่อคนทำงานประมาณ 0.7 ล้านบาท และ มูลค่าเพิ่มต่อ คนทำงานประมาณ 0.3 ล้านบาท โดยสถานประกอบการที่ มีคนทำงาน 26 – 30 คน มีรายได้จาก การดำเนินงานเฉลี่ยต่อคนทำงานสูงที่สุดประมาณ 7.4 ล้านบาท สถานประกอบการที่มีคนทำงาน 31 – 50 คน มีมูลค่าเพิ่มเฉลี่ยต่อคนทำงานสูงที่สุดประมาณ 1.5 ล้านบาท ส่วนสถานประกอบการที่มีคนทำงาน 1 – 5 คน มีรายได้จากการดำเนินงานและมูลค่าเพิ่มเฉลี่ยต่อคนทำงานต่ำที่สุด ประมาณ 0.3 ล้านบาท และ 0.2 ล้านบาท เมือพิจารณาตามหมวดย่อยธุรกิจ พบว่า ธุรกิจการขายส่ง (ยกเว้นยานยนต์และจักรยานยนต์) มีรายได้จากการดำเนินงาน เฉลี่ยต่อคนทำงานสูงที่สุด 1.8 ล้านบาท รองลงมาเป็นธุรกิจการขายส่งและ การขายปลีก การซ่อมแซมยานยนต์และจักรยานยนต์ 1.2 ล้านบาท และการขายปลีก (ยกเว้นยานยนต์และ จักรยานยนต์) 0.9 ล้านบาท ส่วนธุรกิจที่มีมูลค่าเพิ่มเฉลี่ยต่อคนทำงานสูงสุด 2 อันดับแรกได้แก่ 1. การขายส่ง(ยกเว้นยานยนต์และจักรยานยนต์) มีมูลค่าเพิ่มเฉลี่ยต่อคนทำงาน 0.5 ล้านบาท 2. การขายปลีก (ยกเว้นยานยนต์และจักรยานยนต์) มีมูลค่าเพิ่มเฉลี่ยต่อคนทำงาน 0.4 ล้านบาท

RkJQdWJsaXNoZXIy MTA3NzA0Nw==