สำมะโนธุรกิจและอุตสาหกรรม พ.ศ. 2565 ธุรกิจทางการค้าและธุรกิจทางการบริการ: จังหวัดสุราษฎ์ธานี
สำนักงานสถิติแห่งชาติ ได้จัดทำสำมะโนธุ รกิจทางการค้ าและธุ รกิจทางการบริ การ และสำมะโนอุตสาหกรรมทุก 5 - 10 ปี ตามข้อเสนอแนะขององค์การสหประชาชาติ เพื่ อให้ประเทศ มีข้อมูลพื้นฐานที่สำคัญทางด้านธุรกิจทางการค้า ธุรกิจทางการบริการ และอุตสาหกรรมการผลิตมาอย่างต่อเนื่อง โดยสำมะโนธุ รกิจทางการค้าและธุ รกิจทางการบริการ ได้จัดทำมาแล้ว 4 ครั้ ง ในปี 2509 ปี 2531 ปี 2545 และ ปี 2555 ส่วนสำมะโนอุตสาหกรรมได้จัดทำมาแล้ว 5 ครั้ง ในปี 2507 ปี 2540 ปี 2550 ปี 2555 และปี 2560 โดยตั้งแต่ปี 2555 สำนักงานสถิติแห่งชาติได้มีการปรับระยะเวลาการจัดทำสำมะโนอุตสาหกรรม เป็นประจำทุก 5 ปี เนื่องจากหน่วยงานหลักด้านเศรษฐกิจของประเทศ ได้แก่ สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและ สั งคมแห่งชาติ กระทรวงพาณิชย์ สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม และธนาคารแห่งประเทศไทย ได้ขอให้สำนักงานสถิติแห่งชาติ ปรับเปลี่ ยนระยะเวลาการจัดทำสำมะโนอุตสาหกรรมจากทุก 10 ปี เป็นจัดทำทุก 5 ปี เนื่องจากความผันผวนของเศรษฐกิจโลกทำให้โครงสร้างการดำเนินธุรกิจและอุตสาหกรรม มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว จึงมีความจำเป็นต้องใช้ข้อมูลที่ทันสมัยเพื่อใช้ในการวิเคราะห์และติดตาม สถานการณ์ด้านเศรษฐกิจของประเทศและภูมิภาค ประกอบกับประเทศต่าง ๆ ส่วนใหญ่ได้มีการจัดทำสำมะโน ด้านเศรษฐกิจทุก 5 ปี ดังนั้น ในปี 2555 ซึ่งครบรอบ 10 ปี ในการจัดทำสำมะโนธุรกิจทางการค้าและ ธุ รกิ จทางการบริ การ และครบรอบ 5 ปี การจั ดทำสำมะโน อุตสาหกรรม สำนั กงานสถิ ติ แห่งชาติ จึงได้บูรณาการโครงการสำมะโนดังกล่าวไว้ด้วยกัน ภายใต้ชื่อ “สำมะโนธุรกิจและอุตสาหกรรม” สำหรับในปี 2565 นี้ จะครบรอบในการจัดทำสำมะโนธุรกิจทางการค้าและธุรกิจทางการบริการครั้งที่ 5 และสำมะโนอุตสาหกรรม ครั้งที่ 6 ของประเทศไทย สำนักงานสถิติแห่งชาติจึงกำหนดแผนการบูรณาการ โครงการฯ ไว้ด้วยกันอีกครั้ง โครงการสำมะโนธุรกิจและอุตสาหกรรม พ.ศ. 2565 มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1.2.1 เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลพื้นฐานที่แสดงให้เห็นโครงสร้าง และการกระจายตัวของ สถานประกอบการประเภทต่าง ๆ เช่น สถานประกอบการในอุตสาหกรรมการผลิต ธุรกิจทางการค้า ธุรกิจทางการบริการ การก่อสร้าง การขนส่งทางบก สถานที่เก็บสินค้า และกิจกรรมด้านข้อมูลข่าวสารและ การสื่อสาร เป็นต้น 1.2.2 เพื่อเก็บรวบรวมรายละเอียดการดำเนินงานของสถานประกอบการเกี่ยวกับจำนวนและ ขนาดของสถานประกอบการ ประเภทธุรกิจและอุตสาหกรรม จำนวนคนทำงาน ลูกจ้าง ค่าตอบแทนแรงงาน ค่าใช้จ่ายในการผลิตและดำเนินงาน มูลค่าขายผลผลิตและรายรับ ส่วนเปลี่ยนแปลงของวัตถุดิบ และ สินค้าคงเหลือ มูลค่าของสินทรัพย์ถาวรของสถานประกอบการ เป็นต้น 1 .1 ความเป็นมา 1 .2 วัตถุประสงค์
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy MTA3NzA0Nw==