สำมะโนธุรกิจและอุตสาหกรรม พ.ศ. 2565 ธุรกิจทางการค้าและธุรกิจทางการบริการ: จังหวัดตาก
14 หมวดย่อย 95 การซ่อมคอมพิวเตอร์และของใช้ส่วนบุคคลและของใช้ในครัวเรือน ในหมวดย่อยนี้ ได้แก่ การซ่อมและบ ารุงรักษาคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วง เช่น คอมพิวเตอร์ชนิดตั้งโต๊ะ คอมพิวเตอร์แลปท๊ อป คอมพิวเตอร์ลูกข่าย อุปกรณ์จัดเก็บข้อมูล และเครื่องพิมพ์ รวมถึงการซ่อมอุปกรณ์คมนาคม (เช่น เครื่องโทรสาร วิทยุ สื่อสารแบบสองทาง) เครื่องใช้อิเล็กทรอนิกส์ในครัวเรือน (เช่น วิทยุและโทรทัศน์) เครื่องอุปกรณ์ที่ใช้ในบ้านและในสวน (เช่น เครื่องตัดหญ้าและเครื่องเป่าลม) รองเท้าและเครื่องหนัง เฟอร์นิเจอร์และของตกแต่งบ้าน เสื้อผ้าและอุปกรณ์ตกแต่งเสื้อผ้า อุปกรณ์กีฬา เครื่องดนตรี สิ่งของที่ใช้ในงานอดิเรก และของใช้ส่วนบุคคลและของใช้ในครัวเรือนอื่น ๆ เป็นต้น หมวดย่อย 96 กิจกรรมการบริการส่วนบุคคลอื่นๆ ในหมวดย่อยนี้ ได้แก่ กิจกรรมบริการส่วนบุคคลอื่น ๆ เช่น การบริการซักรีด และซักแห้ง ผลิตภัณฑ์สิ่งทอและ ขนสัตว์ การแต่งผม และการเสริมสวยอื่น ๆ การท าศพและกิจกรรมที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น 2.3.5 รูปแบบการจัดตั้งตามกฎหมาย จ าแนกอ กเป็น 10 ประเภท ได้แก่ 1) ส่วนบุคคล ห้างหุ้นส่วนสามัญที่ไม่เป็นนิติบุคคล (หสม.) หมายถึง สถานประกอบการ ที่มีเจ้าของเป็นบุคคลธรรมดาคนเดียวหรือหลายคนรวมกัน และให้หมายรวมถึง ห้างหุ้นส่วนสามัญที่ไม่จดทะเบียน เป็นนิติบุคคลด้วย 2) ห้างหุ้นส่วนจ ากัด (หจก.) ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล (หสน.) หมายถึง สถานประกอบการที่จัดตั้งขึ้น โดยมีบุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป รวมทุนกันเพื่อประกอบกิจการ และรับผิดชอบร่วมกัน โดยจดทะเบียนถูกต้องตามกฎหมาย 3) บริษัทจากัด บริษัทจากัด (มหาชน) - บริษัทจากัด : (บจก.) หมายถึง สถานประกอบการที่จัดตั้งขึ้นโดยผู้ริเริ่มคณะหนึ่ง และได้จด ทะเบียนถูกต้องตามกฎหมาย โดยมีผู้เริ่มด าเนินการอย่างน้อย 2 คนขึ้นไป - บริษัทจากัด (มหาชน) : (บมจ.) หมายถึง สถานประกอบการที่จัดตั้งขึ้นโดยการจดทะเบียน จัดตั้งบริษัท การควบบริษัท หรือการแปรสภาพบริษัท และวัตถุประสงค์ที่จะขายหุ้นต่อประชาชน โดยมีผู้ริเริ่มดาเนินการตั้งแต่ 15 คนขึ้นไป 4) ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หมายถึง สถานประกอบการที่รัฐบาลเป็นเจ้าของ หรือมีทุนอยู่ด้วย ไม่น้อยกว่า ร้อยละ 50 ของทุนทั้งหมดในที่นี้ให้หมายรวมถึงสถานประกอบการที่ด าเนินการโดยรัฐบาลด้วย 5) สหกรณ์ หมายถึง สถานประกอบการที่จัดตั้งขึ้นในรูปของสหกรณ์โดยจดทะเบียนถูกต้องตามกฎหมายว่า ด้วยสหกรณ์ โดยมีผู้ก่อตั้งไม่น้อยกว่า 10 คน 6) การรวมกลุ่ม หมายถึง กลุ่มที่เกิดจากความต้องการของสมาชิกที่มารวมกลุ่มกันขึ้นมา เพื่อตอบสนอง ความต้องการของสมาชิกได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีแนวคิดสร้างสรรค์กลุ่ม เพื่อยกระดับความเป็นอยู่ของสมาชิกให้ดียิ่งขึ้น ทั้ง คุณภาพชีวิต สิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ และสังคม โดยใช้หลักการทางานแบบมีส่วนร่วม คือ ร่วมคิด ร่วมทา ร่วมตัดสินใจ และ ร่วมพัฒนาสมาชิก
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy MTA3NzA0Nw==