สำมะโนธุรกิจและอุตสาหกรรม พ.ศ. 2565 ธุรกิจทางการค้าและธุรกิจทางการบริการ: จังหวัดตราด

3.2.2 รายได้จากการดำเนินงาน ค่าใช้จ่ายขั้นกลาง และมูลค่าเพิ่ม • รายได้จากการดำเนินงาน เมื่อพิจารณารายได้จากการดำเนินงานในจังหวัดตราด พบว่า มีรายได้จากการดำเนินงาน รวมทั้งสิ้น 36 , 240 , 158.6 พันบาท โดยสถานประกอบการที่มีขนาดคนทำงาน 1 – 5 คน มีรายได้จากการ ดำเนินงานสูงสุด มูลค่า 10 , 000 , 331.7 พันบาท คิดเป็นร้อยละ 27.6 รองลงมาเป็นสถานประกอบการที่มี ขนาดคนทำงาน 51 – 200 คน มีมูลค่า 7 , 881 , 985.0 พันบาท คิดเป็นร้อยละ 21.7 และสถานประกอบการ ที่มีขนาดคนทำงาน 6 – 15 คน มีมูลค่า 6 , 990 , 574.2 พันบาท คิดเป็นร้อยละ 19.3 สำหรับธุรกิจที่มีรายได้จากการดำเนินงานสูงที่สุด คือ ธุรกิจการขายปลีก (ยกเว้นยานยนต์ และจักรยานยนต์) มูลค่า 19 , 897 , 558.9 พันบาท คิดเป็นร้อยละ 54.9 รองลงมาคือ การขายส่ง (ยกเว้นยาน ยนต์และจักรยานยนต์) มูลค่า 9 , 617 , 383.1 พันบาท คิดเป็นร้อยละ 26.5 และการขายส่งและการขายปลีก การซ่อมยานยนต์และจักรยานยนต์ มูลค่า 3 , 510 , 452.5 พันบาท คิดเป็นร้อยละ 9.7 • ค่าใช้จ่ายขั้นกลาง สถานประกอบการในจังหวัดตราดมีมูลค่าของค่าใช้จ่ายขั้นกลางประมาณ 30 , 060 , 151 . 7 พันบาท โดยสถานประกอบการที่มีขนาดคนทำงาน 51 – 200 คน มีมูลค่าของค่าใช้จ่ายขั้นกลาง 7 , 405 , 078.4 พันบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 24.6 รองลงมาเป็นสถานประกอบการที่มีขนาดคนทำงาน 1- 5 คน มีมูลค่าของค่าใช้จ่าย ขั้นกลาง 7 , 215 , 682.7 พันบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 24.0 และสถานประกอบการที่มีขนาดของคนทำงาน 6 -15 คน มีมูลค่าของค่าใช้จ่ายขั้นกลาง 5,460,274.4 บาท หรือคิดเป็นร้อยละ 18.2 เมื่อพิจารณาตามหมวดย่อยธุรกิจ พบว่า สถานประกอบการธุรกิจการขายปลีก (ยกเว้น ยานยนต์และจักรยานยนต์) มีมูลค่าใช้จ่ายขั้นกลาง สูงสุด คือ 16 , 860 , 874.7 พันบาท คิดเป็นร้อยละ 56.1 รองลงมาคือ การขายส่ง (ยกเว้นยานยนต์และจักรยานยนต์) มีมูลค่า 8 , 609 , 092.0 พันบาท คิดเป็นร้อยละ 28.6 และการขายส่งและการขายปลีก การซ่อมยานยนต์และจักรยานยนต์ มีมูลค่า 2 , 892 , 882.6 พันบาท คิดเป็น ร้อยละ 9.6 • มูลค่าเพิ่ม สถานประกอบการภาคธุรกิจในจังหวัดตราด มีมูลค่าเพิ่มทั้งสิ้น ประมาณ 6 , 180 , 006 . 9 พันบาท โดยสถานประกอบการที่มีขนาดคนทำงาน 1- 5 คน มีมูลค่าเพิ่มมากที่สุด คือ 2 , 784 , 649.1 พันบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 45.1 รองลงมาเป็นสถานประกอบการที่มีขนาดคนทำงาน 6 – 15 คน มีมูลค่าเพิ่ม 1 , 530 , 299.8 พันบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 24 . 8 และสถานประกอบการที่ มีคนทำงาน 51 – 200 คน มีมูลค่าเพิ่ม 476 , 906.5 พันบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 7.7 เมื่อพิจารณาตามหมวดหมู่ย่อยธุรกิจ พบว่า ธุรกิจการขายปลีก (ยกเว้นยานยนต์และ จักรยานยนต์) มีมูลค่าเพิ่ม 3,036,684.2 หรือคิดเป็นร้อยละ 49.1 รองลงมาคือ ธุรกิจการขายส่ง (ยกเว้นยาน ยนต์และจักรยานยนต์) มีมูลค่าเพิ่ม 1,008,291.1 หรือคิดเป็นร้อยละ 16.3 และธุรกิจที่พักแรม มีมูลค่าเพิ่ม 708,232.4 พันบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 11.5

RkJQdWJsaXNoZXIy MTA3NzA0Nw==