สำมะโนธุรกิจและอุตสาหกรรม พ.ศ.2565 ธุรกิจทางการค้าและธุรกิจทางการบริการ จังหวัดอุตรดิตถ์

39 บทที่ 3 ผลการสำมะโน ปรับตัว ไปทำธุรกิจแบบอื่น 0.4% ปรับเปลี่ยนรูปแบบ การทำงาน 3.6% ปรับรูปแบบ การจ้างแรงงาน/พนักงาน 10.0% หยุดกิจการชั่วคราว/ เปิดดำเนินกิจการบางส่วน 38.3% 3.3.2 แนวทางการแก้ไขปัญหาของสถานประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด 19 จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด 19 พบว่าสถานประกอบการได้รับ ผลกระทบในเรื่องดังกล่าว ร้อยละ 70.5 และมีแนวทางในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว โดยสถานประกอบการ ส่วนใหญ่ หยุดกิจการชั่วคราว/เปิดดำเนินกิจการบางส่วน ร้อยละ 38.3 ปรับเปลี่ยนกระบวนการขาย/ ให้บริการโดยการนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ ร้อยละ 11.5 ปรับปรุงรูปแบบการจ้างแรงงาน/พนักงาน ร้อยละ 10.0 ปรับเปลี่ยนรูปแบบการทำงาน ร้อยละ 3.6 ส่วนที่เหลืออีกร้อยละ 0.4 ปรับตัวไปทำธุรกิจแบบอื่น 3.3. 3 การฟื้นตัวของสถานประกอบการโดยเปรียบเทียบสัดส่วนรายรับในปี 2565 กับรายรับในปี 2562 (ปีก่อนเกิดสถานการณ์โควิด 19) พิจารณาการฟื้นตัวของสถานประกอบการโดยการเปรียบเทียบสัดส่วนรายรับในปี 2565 กับรายรับ ในปี 2562 (ปีก่อนเกิดสถานการณ์โควิด 19) พบว่า สถานประกอบการส่วนใหญ่ยังอยู่ในระดับทรงตัว ร้อยละ 37.3 รองลงมาร้อยละ 34.1 ยังหดตัวมาก และร้อยละ 20.1 ยังคงหดตัว โดยร้อยละ 8.4 สถานประกอบการเริ่มฟื้นหรือ ขยายตัวบ้างแล้ว มีเพียงร้อยละ 0.1 ของสถานประกอบการที่ขยายตัวได้ดี ซึ่งสถานประกอบการที่มีสถานะยังคงหดตัวและหดตัวมาก มีอุปสรรคที่ทำให้ไม่สามารถฟื้นตัวได้ ร้อยละ 88.1 เนื่องมาจากกำลังซื้อยังคงอ่อนแอ รองลงมาเป็นเรื่องเกี่ยวกับพฤติกรรมของผู้บริโภคเปลี่ยนแปลง ร้อยละ 59.9 มาตรการภาครัฐ ร้อยละ 25.9 และในเรื่องการขนส่ง/การเดินทางยังไม่กลับสู่ระดับปกติ ร้อยละ 5.4 ส่วนที่เหลือ ร้อยละ 1.1 เนื่องมาจากลูกค้ามีการสั่งซื้อสินค้าจากประเทศอื่น ๆ แนวทางการแก้ไข ไม่ได้รับ 29.5% ได้รับ 70.5% ภาพที่ 1 ร้อยละของสถานประกอบการจำแนกตามแนวทางการแก้ไขปัญหาของสถานประกอบการที่ได้รับ ผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด 19 หมายเหตุ : ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ ปรับเปลี่ยน กระบวนการขาย/ให้บริการ โดยการนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ 11.5%

RkJQdWJsaXNoZXIy MTA3NzA0Nw==